backup og meta

กินยาคุมฉุกเฉิน ควรกินอย่างไรให้ถูกวิธี

กินยาคุมฉุกเฉิน ควรกินอย่างไรให้ถูกวิธี

ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยไม่มีการป้องกัน ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดตามปกติมากกว่า 3 เม็ดขึ้นไป ฉีดยาคุมกำเนิดล่าช้ากว่า 2-4 สัปดาห์ คำนวณวันตกไข่ผิด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมมีบุตร อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาวิธี กินยาคุมฉุกเฉิน ให้ถูกวิธี เพราะหากรับประทานผิดวิธีอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้

[embed-health-tool-ovulation]

กินยาคุมฉุกเฉิน ให้ถูกวิธี

การกินยาคุมฉุกเฉินให้ถูกวิธี อาจแตกต่างกันออกไปตามประเภทของยาคุม ดังนี้

  • ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel)

เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ประกอบด้วยกลุ่มฮอร์โมนโปรเจอเตอโรน (Progesterone) โดย 1 กล่อง จะมี 1 แผง แต่ละแผงจะมีเม็ดยาอยู่ 2 เม็ด เม็ดละ 750 ไมโครกรัม ควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง และอีกเม็ดภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันหรืออาจรับประทาน 2 เม็ดพร้อมกันเพื่อป้องกันการลืม

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่อง ภายในระยะเวลา 1 เดือน เนื่องจากอาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกายและอาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

  • ยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Acetate)

เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงกว่าลีโวนอร์เจสเตรล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสติน โดยออกฤทธิ์ต้านการเจริญเติบของของถุงไข่ ยับยั้งการตกไข่ และทำให้ผนังมดลูกบาง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ โดย 1 กล่องมี 1 แผง และมียาอยู่ 1 เม็ด ควรรับประทานไม่เกิน 120 ชั่วโมงนับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

ผลข้างเคียงของการกินยาคุมฉุกเฉิน

ผลข้างเคียงของการกินยาคุมฉุกเฉิน มีดังนี้

  • ปวดศีรษะหรือวิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ผื่นขึ้นตามลำตัวและใบหน้า
  • ลิ้นบวม
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • อาการปวดท้องน้อยกะทันหัน

ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วหากรู้สึกไม่สบายหลังจากรับประทานยาคุมฉุกเฉินลีโวนอร์เจสเตรลประมาณ 2 ชั่วโมง ปวดท้องน้อยกะทันหัน ประจำเดือนช้า หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ

ทางเลือกอื่นในการคุมกำเนิด

การกินยาคุมฉุกเฉินใช้สำหรับการคุมกำเนิดในกรณีฉุกเฉิน เช่น ถุงยางแตก การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นการคุมกำเนิดตามปกติ หากต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว ควรใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • การทำหมัน เป็นการคุมกำเนิดแบบถาวรที่สามารถทำได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิเดินทางเข้าไปผสมกับไข่จนเกิดการปฏิสนธิ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิออกจากร่างกาย ลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์
  • ถุงยางอนามัยผู้ชายและผู้หญิง ที่ผลิตจากน้ำยางพาราหรือโพลียูรีเทน (Polyurethane) มีลักษณะบาง และยืดหยุ่นได้ดี สำหรับถุงยางอนามัยผู้ชายจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกและมีปลายด้านหนึ่งเป็นปลายปิด โดยควรสวมใส่ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับถุงยางอนามัยผู้หญิงจะมีปลายแต่ละข้างที่มีขอบยางช่วยยึดให้ถุงยางอยู่กับที่ โดยสวมใส่ด้านที่เป็นปลายปิดเข้าไปในช่องคลอดและใช้นิ้วสอดด้านปลายเปิดเพื่อดันถุงยางเข้าไปบริเวณปากมดลูกและให้ปลายอีกด้านหนึ่งของถุงยางอยู่นอกช่องคลอด เพื่อให้ดึงออกได้ง่าย การสวมใส่ถุงยางอนามัยอาจช่วยป้องกันอสุจิเข้าไปในช่องคลอดเมื่อสำเร็จความใคร่และลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์
  • ยาคุมกำเนิดแบบฉีด เป็นการฉีดฮอร์โมนโปรเจสตินเข้ากล้ามเนื้อบริเวณแขนหรือก้น เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกให้หนาขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก โดยจำเป็นต้องฉีดซ้ำทุก ๆ 3 เดือน หรือตามที่คุณหมอกำหนดก่อนยาจะหมดฤทธิ์
  • ฝังยาคุมกำเนิด คือ การฝังยาคุมที่มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกสีขาวขนาดเล็ก โดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณแขนหรือก้น เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเมือกปากมดลูกให้หนาขึ้น ไม่ให้อสุจิเข้ามาผสมกับไข่จนเกิดเป็นการตั้งครรภ์ โดยจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อครบกำหนดการใช้งาน
  • แผ่นแปะคุมกำเนิด คือ แผ่นที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ใช้สำหรับแปะบริเวณหน้าท้อง หลังแขน และก้น โดยปล่อยฮอร์โมนให้ซึมทางผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ โดยควรเปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกสัปดาห์ และยกเว้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 เพื่อให้ประจำเดือนมาตามปกติ
  • ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Hormonal IUD) เป็นอุปกรณ์รูปทรงคล้ายตัว T ทำจากพลาสติก หรือทองแดงที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน โดยจะใส่เข้าไปบริเวณปากมดลูก เพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดได้นานประมาณ 3-10 ปี และจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงกำหนด
  • ไดอะเฟรมครอบปากมดลูก (Diaphragm) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยทำจากซิลิโคนอ่อนนุ่ม ใช้สอดเข้าไปในช่องคลอดก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อปิดปากมดลูกไม่ให้ตัวอสุจิสามารถเข้าไปในโพรงมดลูกและผสมกับไข่จนปฏิสนธิได้ มักใช้ร่วมกับยาฆ่าอสุจิที่ทาให้ทั่วไดอะเฟรมก่อนสอดเข้าไปในช่องคลอด และควรทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรถอดในทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์เสร็จ เพื่อให้ยาฆ่าอสุจิออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Emergency contraception (morning after pill, IUD). https://www.nhs.uk/conditions/contraception/emergency-contraception/.Accessed January 06, 2023

morning-after pill. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/morning-after-pill/about/pac-20394730.Accessed January 06, 2023

Emergency contraception. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception.Accessed January 06, 2023

Emergency Contraceptive Pill (morning after pill). https://www.fpv.org.au/for-you/contraception/emergency-contraception/morning-after-pill-emergency-contraception#how-do-i-use-the-emergency-contraceptive-pill.Accessed January 06, 2023

Emergency Contraception. https://www.acog.org/womens-health/faqs/emergency-contraception.Accessed January 06, 2023

Ulipristal…ยาคุมฉุกเฉินชนิดใหม่ที่ต่างจาก levonorgestrel. https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1242.Accessed January 06, 2023

Contraception. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/index.htm.Accessed January 06, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีกินยาคุมครั้งแรก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร ?

ฝังยาคุม มีประจําเดือนไหม เพราะอะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา