backup og meta

ฉีดยาคุมตอนไหน จึงจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ฉีดยาคุมตอนไหน จึงจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ฉีดยาคุมตอนไหน ? เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย เพราะการฉีดยาคุมอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่พร้อมมีบุตร อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อดีและข้อเสียของการฉีดยาคุมอย่างละเอียด และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนรับการฉีดยาคุม

[embed-health-tool-ovulation]

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด คืออะไร

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด คือ ยาคุมที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อในบริเวณต้นแขน ต้นขา หรือสะโพก โดยมีส่วนประกอบของฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) หรือฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสติน (Progestins) ที่อาจช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้มดลูกหนาตัว และส่งผลให้อสุจิผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก อีกทั้งยังทำให้ผนังมดลูกบางลงจนไข่ที่ผสมกับอสุจิไม่สามารถฝังตัว จนเกิดเป็นการตั้งครรภ์ได้

ฉีดยาคุมตอนไหน จึงจะเหมาะสม

สำหรับการฉีดยาคุมกำเนิดในประเทศไทย สามารถเข้ารับการฉีดยาคุมได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 อาจจำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อน โดยช่วงระยะเวลาการฉีดยาคุมอาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดของยาคุม ดังนี้

ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว

  • ยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเทอโรนแอซีเตตชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (DMPA) เป็นยาคุมกำเนิดแบบฉีด 3 เดือน มีตัวยา 150 มิลลิกรัม ซึ่งคุณหมออาจฉีดให้ครั้งละ 1 มิลลิลิตร ออกออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 14-15 สัปดาห์ โดยกำหนดให้ฉีดทุก ๆ 12 สัปดาห์ ยานี้อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย
  • ยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเทอโรนแอซีเตตชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (DMPA-SC) เป็นยาคุมกำเนิดแบบฉีด 3 เดือน มีตัวยา 104 มิลลิกรัม โดยคุณหมออาจฉีดในปริมาณ 0.65 มิลลิลิตร ทุก ๆ 12 สัปดาห์
  • ยาฉีดนอร์เอทิสเตอโรนอีแนนเทต (Norethisterone enanthate) ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นยาคุมกำเนิดแบบฉีด 3 เดือน มีตัวยา 200 มิลลิกรัม โดยคุณหมออาจฉีดในปริมาณ 1 มิลลิลิตร ทุก ๆ 8 สัปดาห์ เหมาะกับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะสั้น เช่น ช่วงระหว่างรอทำหมัน ยานี้อาจส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดยาคุม

ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม

เป็นยาคุมกำเนิดที่มีทั้งฮอร์โมนโปรเจสตินและฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก ๆ 1 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกจะรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ดและผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อยครั้ง

สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงหลังคลอดบุตรและเว้นจากการให้นมบุตร อาจเข้ารับการฉีดยาคุมครั้งแรกได้ทุกเมื่อ แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการฉีดยาคุมอาจอยู่ในช่วงหลัง 6 สัปดาห์ สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร การฉีดยาคุมกำเนิดอาจมีผลข้างเคียง คือ ทำให้น้ำนมลดลง ฉะนั้นควรเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น การใช้ถุงยางอนามัย

สำหรับสตรีที่แท้งบุตร สามารถเข้ารับการฉีดยาคุมได้ทันที และไม่ควรเกิน 5 วันหลังจากแท้งบุตร หากเกินกว่า 5 วัน อาจจำเป็นต้องใช้วิธีป้องกันการตั้งครรภ์อื่นร่วมด้วยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เช่น สวมถุงยางอนามัย หากมีความกังวลเกี่ยวกับการฉีดยาคุมในช่วงหลังคลอดบุตรและหลังแท้งบุตร อาจเข้ารับการตรวจสุขภาพจากคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดยาคุมและช่วงเวลาฉีดยาคุมที่เหมาะสม

ข้อดีและข้อเสียของการฉีดยาคุมกำเนิด

ข้อดีและข้อเสียของการฉีดยาคุมกำเนิด มีดังนี้

ข้อดี

  • มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง โดยอาจมีอัตราล้มเหลวประมาณ 2-0.3% และออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นานประมาณ 1-3 เดือน ตามชนิดของยาที่ฉีด
  • ไม่รบกวนการมีเพศสัมพันธ์
  • สะดวกกว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ด ที่จำเป็นต้องรับประทานในเวลาเดียวกันทุกวัน

ข้อเสีย

  • บางคนอาจหลงลืมกำหนดการฉีดยาคุม เนื่องจากกว่าจะได้ฉีดยาคุมในครั้งถัดไปอาจใชเวลานาน
  • อาจเสียเวลาในการเดินทางเข้ามารับการฉีดยาคุมที่สถานบริการ
  • หลังจากหยุดฉีดยาคุมบางชนิด เช่น Depot medroxyprogesterone acetate หรือ DMPA ซึ่งเป็นยาคุมกำเนิดแบบฉีดที่มีฮอร์โมนโพรเจสตินอย่างเดียว อาจใช้ระยะเวลานานประมาณ 1 ปี หรือมากกว่านั้น กว่าจะกลับมาตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง

อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดกล้ามเนื้อและผิวหนังในบริเวณที่ฉีดยาคุม ผมร่วง ปวดศีรษะ สิวขึ้น ความต้องการทางเพศลดลง อารมณ์แปรปรวน ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนอาจขาดเป็นเวลานาน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The contraceptive injection. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/contraceptive-injection/.Accessed June 21, 2022

Depo-Provera. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/depo-provera/about/pac-20392204.Accessed June 21, 2022

Injectables. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/mmwr/spr/injectables.html.Accessed June 21, 2022

Progestin-Only Hormonal Birth Control: Pill and Injection. https://www.acog.org/womens-health/faqs/progestin-only-hormonal-birth-control-pill-and-injection.Accessed June 21, 2022

ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/528/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94/.Accessed June 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

กิน ยาคุมฉุกเฉิน แล้ว ประจำเดือน ไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไร

ยาคุมแบบแปะ มีข้อดี ข้อเสีย และวิธีใช้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์

สุขภาพทางเพศ · Dionysus Fertility Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา