ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดเพื่อใช้ป้องการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ผู้ที่รับประทานยาคุมฉุกเกฉินอาจเสี่ยงกับผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ แล้วอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ทุเลาลง ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน กินอย่างไร ควรศึกษาให้เข้าใจเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ให้ได้ผล
[embed-health-tool-ovulation]
ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร
ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สามารถออกฤทธิ์ขัดขวางการตกไข่ ทำให้สารคัดหลั่งบริเวณปากมดลูกมีความเหนียวมากขึ้น ทำให้ผนังโพรงมดลูกอาจไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่
ประเภทของยาคุมฉุกเฉินที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ ได้แก่
- ยาคุมลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาคุมฉุกเฉินในกลุ่มโพรเจสติน (Progestins) ที่เป็นฮอร์โมนควบคุมภาวะการตกไข่ ซึ่งมีแบบ 1 เม็ดรับประทานเพียงครั้งเดียว โดยจะมีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล 1.5 มิลลิกรัมควรรับประทานยาคุมประเภทนี้ภายใน 72 ชั่วโมง และแบบ 1 แผง 2 เม็ด ที่มีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรลเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม โดยควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 72 ชั่วโมง และรับประทานยาเม็ดที่ 2 ห่างจากเม็ดแรกประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
- ยาคุมยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Acetate) เป็นยาคุมฉุกเฉินชนิดใหม่ที่มีปริมาณฮอร์โมน 30 มิลลิกรัม ใน 1 แผงจะมี 1 เม็ด รับประทานภายในครั้งเดียว เพื่อที่อาจช่วยหยุดการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และชะลอการปล่อยไข่ ซึ่งควรรับประทานภายใน 120 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์
ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน
ยาคุมฉุกเฉินสามารถกินได้ทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งควรรับประทานให้เร็วที่สุดไม่ควรเกินกว่า 12-72 ชั่วโมง เพื่อให้ยาคุมฉุกเฉินออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพประมาณ 75-89% ควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือหากจะให้ปลอดภัยควรรับประทานภายใน 12 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน
ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ อาจสามารถกินได้เมื่อเผชิญกับเหตุกาณ์เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ผิดพลาด ดังนี้
- ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ถุงยางแตกหรือขาด
- ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดธรรมดา 3 เม็ดขึ้นไป
- ฉีดยาคุมกำเนิดตามกำหนดล่าช้ากว่า 2-4 สัปดาห์
- คำนวณ หน้า 7 หลัง 7 หรือการนับระยะปลอดภัยผิดวัน
- คำนวณการตกไข่ผิดวัน เพราะเมื่อไข่ตกอาจเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ที่เสี่ยงทำให้ตั้งครรภ์ได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์
ยาคุมฉุกเฉินไม่เหมาะสำหรับใคร
ยาคุมกำเนิดอาจเหมาะสำหรับผู้หญิงทุกช่วงอายุ แต่อาจต้องเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนรับประทานยา แต่สำหรับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด โรคตับ และกำลังรับประทานยา ดังต่อไปนี้ ร่วมอยู่อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัย
- ยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของสาโทเซนต์จอห์น (Hypericum)
- ยารักษาโรคอื่น ๆ เช่น โรคลมชัก เอชไอวี วัณโรค
- ยาดลดกรดในกระเพาะ เช่น โอเมพราโซล (Omeprazole)
- ยาปฏิชีวนะ เช่น ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ไรฟาบูติน (Rifabutin)
นอกจากนี้ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 70-85 กิโลกรัม ที่รับประทานยาคุมฉุกเฉิน ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel)และยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Aacetate) อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ในระดับต่ำ คุณหมอจึงอาจใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD)
สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรและใช้ยาคุใกำเนิดลูกและใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Aacetate) ควรรีดน้ำนมทิ้ง 1 วัน ก่อนให้ลูกกิน หรือควรเข้าขอคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนรับประทาน เพราะ เพื่อความปลอดภัยของทารก
ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- วิงเวียนศีรษะ
- ปวดท้อง
- ประจำเดือนอาจมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ
- อาการปวดท้องน้อยกะทันหัน
หลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินลีโวนอร์เจสเตรล 2 ชั่วโมง หรือรับประทานยาคุมยูริพริสทอล อะซิเตทหลังจาก 3 ชั่วโมง หากพบว่ามีไข้ รู้สึกไม่สบาย ควรเข้าปรึกษาคุณหมออย่างทันท่วงที เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดใหม่ให้เหมาะสม
ยาคุมฉุกเฉินควรใช้บ่อยมากแค่ไหน
ยาคุมฉุกเฉินอาจรับประทานได้มากกว่า 1 ครั้ง ต่อ 1 รอบเดือน ในกรณีที่จำเป็น เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ลืมรับประทานยาคุมแบบธรรมดามากกว่า 3 เม็ด ถึงยาคุมฉุกเฉินอาจสามารถรับประทานได้บ่อยครั้งขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงบ่อยว่าการรับประทานยาคุมแบบธรรมดา เพื่อความปลอดภัย ควรเข้าปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทาน
ทางเลือกอื่นนอกจากยาคุมฉุกเฉิน
การป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่น ๆ หากไม่สะดวกในการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ได้แก่
- การฝังยาคุมใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจมีอายุการใช้งานถึง 3 ปี
- ใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นตัว T โดยคุณหมอจะนำเข้าไปใส่ในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยอาจมีอายุการใช้งาน 3-10 ปี
- แผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นแผ่นแปะขนาดเล็กที่จะปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ผ่านทางผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อส่งผลให้มดลูกหนาขึ้นป้องกันอสุจิเข้าไปฝังตัวในมดลูกได้ยาก
- นับระยะเวลาการตกไข่ ปกติแล้วผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุก 28 วัน ซึ่งทุกวันที่ 14 ของรอบเดือน รังไข่ที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธ์ทั้ง 2 ข้างจะสลับกันตกในแต่ละรอบเดือนสลับกันหรือเคลื่อนออกมาไปยังมดลูกอยู่ในปลายท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิแต่หากผ่านไป 14 วันยังไม่มีการปฏิสนธิผนังมดลูกที่รอรับการฝังตัวจะลอกออกเป็นประจำเดือนผ่านช่องคลอด เพื่อป้องกันการเกิดปฏิสนธิในช่วงระหว่างที่ไข่อยู่บริเวณท่อนำไข่ อาจใช้การนับหลังจากวันที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปจนถึงวันที่ 14 ซึ่งวันนี้จะเป็นวันที่ไข่ตก จึงเป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่มีการป้องกัน เนื่องจากอสุจิอาจรอปฏิสนธิอยู่ในรังไข่ ซึ่งจะอยู่ภายในได้ถึง 2 วัน