backup og meta

คันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก ใช้ยาอะไร เพื่อบรรเทาอาการ

คันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก ใช้ยาอะไร เพื่อบรรเทาอาการ

อาการ คันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก พร้อมกับรู้สึกเจ็บปวดช่องคลอดขณะถ่ายปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ สีตกขาวเปลี่ยนแปลง ตกขาวมีกลิ่น อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อในช่องคลอดที่อาจนำไปสู่อาการช่องคลอดอักเสบ การศึกษาข้อมูลว่า คันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก ใช้ยาอะไร ถึงจะเหมาะสม และจะสามารถป้องกันหรือดูแลอาการคันอวัยวะเพศ หรือการติดเชื้อในช่องคลอดได้อย่างไรบ้าง อาจช่วยให้สามารถรับมือกับภาวะดังกล่าวได้ในเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดปกติที่อวัยวะเพศหรือช่องคลอด ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด จะได้รักษาอย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-ovulation]

คันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก เกิดจากอะไร

อาการคันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก อาจเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ปริมาณเชื้อแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus Rhamnosus) ในช่องคลอดเสียสมดุล โรคพยาธิในช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจเชื่อมโยงกับการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน มีคู่นอนหลายคน จนเสี่ยงรับเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่อวัยวะเพศและช่องคลอดได้ง่าย

นอกจากนี้ สารระคายเคือง เช่น สบู่ น้ำหอม โลชั่น ผ้าอนามัย กระดาษทิชชู่ ที่ใช้ดูแลบริเวณจุดซ่อนเร้นก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวหนังอวัยวะเพศหญิง โดยเฉพาะบริเวณปากช่องคลอดที่บอบบางและอ่อนโยนระคายเคืองและมีอาการคันได้เช่นกัน

หากรักษาแล้วอาการคันอวัยวะเพศยังไม่ดีขึ้นภายใน 7-14 วัน หรือมีอาการเกิดขึ้น 2 ครั้งขึ้นไปภายใน 6 เดือน หรือมีอาการคันอวัยวะเพศร่วมกับอาการเจ็บแสบอวัยวะเพศขณะถ่ายปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ผิวรอบช่องคลอดบวมแดง และมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย หรือช่องคลอดมีกลิ่น มีตกขาวผิดปกติ คือ ตกขาวเป็นสีเทา เหลือง เขียว เป็นก้อนหนา ควรรีบเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องคลอด เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด ก่อนจะนำไปสู่ภาวะช่องคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรง

คันอวัยวะเพศหญิง ภายนอก ใช้ยาอะไร

ยาที่นิยมใช้รักษาอาการคันอวัยวะเพศ ได้แก่

  • เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ยาปฏิชีวนะในรูปแบบยาเม็ดและเจลทาเฉพาะที่ อาจช่วยหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใช้รักษาอาการคันอวัยวะเพศจากภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย
  • ครีมคลินดามัยซิน (Clindamycin) ยาปฏิชีวนะที่ช่วยต่อสู้กับแบคทีเรียในร่างกาย บรรเทาอาการคันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ไมโคนาโซล (Miconazole) ยารักษาโรคผิวหนังจากการติดเชื้อรา เช่น น้ำกัดเท้า กลาก รวมถึงอาการคันอวัยวะเพศจากเชื้อราแดนดิดา มีในรูปแบบสเปรย์ ยาทาเฉพาะที่ ควรใช้วันละ 2 ครั้ง และควรทำความสะอาดและเช็ดผิวบริเวณที่ได้รับผลกระทบให้แห้งก่อนใช้ยา
  • โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราประเภทต่าง ๆ เช่น กลาก เชื้อราที่เล็บ ผื่นผ้าอ้อม ผื่นผิวหนัง น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องคลอด ควรทายานี้ตรงบริเวณที่ติดเชื้อ 2-3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หากอาการดีขึ้นควรใช้ยาต่อเนื่องอีก 4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อราซ้ำ
  • บูโตโคนาโซล (Butoconazole) ยาต้านเชื้อราในรูปแบบยาสอดที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในช่องคลอด และบรรเทาอาการคัน ยาชนิดนี้ควรใช้ก่อนนอน โดยควรล้างมือทั้งก่อนและหลังใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
  • ไทโอโคนาโซล (Tioconazole) ยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อราและแบคทีเรียในช่องคลอดเท่านั้น เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ บรรเทาอาการแสบร้อน อาการคันบริเวณอวัยวะเพศและช่องคลอด 
  • ทินิดาโซล (Tinidazole) ยาเม็ดรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น พยาธิในช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย ควรรับประทานพร้อมอาหารวันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่อง 2-5 วัน โดยรับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการคันอวัยวะเพศได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหยุดกินยานี้ก่อนกำหนด เว้นแต่คุณหมอจะอนุญาต เพื่อป้องกันแบคทีเรียดื้อยา
  • เอสโตรเจน ยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ใช้รักษาอาการคันอวัยวะเพศ ช่องคลอดอักเสบ เจ็บช่องคลอดขณะปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีในรูปแบบยาเม็ด แคปซูลบรรจุของเหลว ครีม ยาเหน็บในช่องคลอด

วิธีดูแลอวัยวะเพศหญิง ป้องกันการติดเชื้อ

วิธีดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่อาการคันอวัยวะเพศ มีดังนี้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม เช่น เจลอาบน้ำ สบู่ และไม่ควรแช่น้ำที่มีฟองสบู่
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำเปล่า ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นทุกวัน
  • ซับบริเวณอวัยวะเพศและผิวรอบช่องคลอดให้แห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้ช่องคลอดติดเชื้อจากทวารหนัก
  • สวมใส่กางเกงชั้นในผ้าฝ้าย ที่ให้ความสบาย ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันการอับชื้นที่อาจกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการคันช่องคลอดจะดีขึ้น
  • ไม่ควรเกาช่องคลอด เพราะอาจทำให้ผิวบริเวณนั้นระคายเคือง หรืออาจเกิดแผลถลอกที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อง่ายขึ้น
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อรา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaginal thrush. https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/infections-and-poisoning/vaginal-thrush . Accessed July 17, 2023.

Vaginitis. https://www.nhs.uk/conditions/vaginitis/ . Accessed July 17, 2023.

Vaginitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/vaginitis/symptoms-causes/syc-20354707 . Accessed July 17, 2023.

Vaginal Itching, Burning, and Irritation. https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-itching-burning-irritation . Accessed July 17, 2023.

Vulvovaginitis. https://medlineplus.gov/ency/article/000897.htm . Accessed July 17, 2023.

Miconazole. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3841-787/miconazole-nitrate-topical/miconazole-topical/details . Accessed July 17, 2023.

Metronidazole. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-6426/metronidazole-oral/details . Accessed July 17, 2023.

Clotrimazole. https://www.nhs.uk/medicines/clotrimazole/ . Accessed July 17, 2023.

Tioconazole-1 6.5 % Vaginal Ointment – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-63478/tioconazole-1-vaginal/details . Accessed July 17, 2023.

Butoconazole Vaginal Cream. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682012.html . Accessed July 17, 2023.

Tinidazole. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a604036.html . Accessed July 17, 2023.

Estrogens. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/estrogen-vaginal-route/description/drg-20069459 . Accessed July 17, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/03/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นก้อนแข็งที่อวัยวะเพศหญิง เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

เช็กอาการ! เริมกับHPV 2 โรคนี้ ต่างกันยังไง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 22/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา