backup og meta

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย เพราะสาเหตุใด

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย เพราะสาเหตุใด

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกและจับตัวกันเป็นก้อน เพื่อป้องกันร่างกายเสียเลือดมากเกินไป ภาวะนี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงมีประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนที่จับตัวกันเป็นก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง นั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรเร่งหาสาเหตุและเข้ารับการรักษา

[embed-health-tool-ovulation]

สาเหตุที่ทำให้ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย

ช่วงก่อนมีประจำเดือน ร่างกายจะสร้างสภาพแวดล้อมภายในมดลูกให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ โดยการสร้างเยื่อโพรงมดลูกให้หนาขึ้นเพื่อให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิฝังตัว แต่เมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่ก่อตัวหนาขึ้นจะหลุดออกตามธรรมชาติกลายเป็นประจำเดือน ร่างกายจะปล่อยพลาสมาและเกล็ดเลือดออกมา เพื่อช่วยป้องกันหลอดเลือดในเยื่อบุโพรงมดลูกมีเลือดออกมากเกินไป ส่งผลให้เลือดแข็งตัวและจับตัวกันเป็นก้อน นอกจากนี้ ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดยังอาจเกิดจากที่ประจำเดือนถูกขับออกมาไม่หมด จึงเกิดการสะสมในช่องคลอดกลายเป็นลิ่ม หรือก้อนเหมือนตับได้

บางคนที่ประจำเดือนมามากอาจมีการสูญเสียเลือดประมาณ 80 มิลลิลิตร หรือมากกว่านั้น เป็นระยะเวลาอาจนานกว่า 7 วัน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายปล่อยพลาสมาและเกล็ดเลือดออกมามากขึ้นเพื่อห้ามเลือดโดยการทำให้เลือดแข็งตัว ส่งผลให้ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดซึ่งอาจมีขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีประจำเดือนอยู่ในช่องคลอดหรือโพรงมดลูกก่อนวันที่จะมีประจำเดือน

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย อันตรายไหม

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อยสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงวัยมีประจำเดือนทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่หากมีประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตรออกมาทางปากมดลูก อาจส่งผลให้มีอาการ ดังนี้

นอกจากนี้ ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น เนื้องอก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มดลูกโต มะเร็งมดลูก ติ่งเนื้อมดลูก โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) การสูญเสียการตั้งครรภ์ ซึ่งควรปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด

ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือด แบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ

หากประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อยมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปทั้งขนาดและปริมาณ หรือมีอาการผิดปกติต่อไปนี้ ควรรีบพบคุณหมอทันที

  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติและนานเกิน 7 วัน
  • ประจำเดือนเป็นก้อนใหญ่ขึ้น
  • ปวดท้องมากในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน

ผู้ที่ประจำเดือนมามากบ่อยครั้งอาจเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายขาดธาตุเหล็กและมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนแรง เหนื่อยล้า และหายใจถี่

ประจำเดือนมามากผิดปกติและเป็นก้อนอาจเป็นสัญญาณสุขภาพ ดังนี้

  • การตั้งครรภ์
  • ปัญหาสุขภาพ
  • ความผิดปกติจากการใช้ยา

คุณหมออาจรตรวจอุ้งเชิงกราน ตรวจเลือด หรืออัลตราซาวด์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย จากนั้นคุณหมออาจสั่งจ่ายยาดังต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

  • ยาคุมกำเนิด
  • ยาสลายลิ่มเลือด
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs : NSAIDs)
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน
  • กรดทราเนซามิก (Tranexamic acid)
  • การผ่าตัด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Period Blood Clots: Are They Normal?. https://health.clevelandclinic.org/period-blood-clots-are-they-normal/. Accessed June 20, 2023.

Is It Normal for Period Blood to Come Out in Clumps?. https://kidshealth.org/en/teens/clumps.html. Accessed June 20, 2023.

Blood clots during menstruation: A concern?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menorrhagia/expert-answers/blood-clots-during-menstruation/faq-20058401. Accessed June 20, 2023.

Are blood clots normal during a period?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322707. Accessed June 20, 2023.

Heavy periods. https://www.nhs.uk/conditions/heavy-periods/. Accessed June 20, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

ประโยชน์ของชากุหลาบ และวิธีการทำ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 20/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา