backup og meta

ผู้ชายช่วยตัวเอง มีประโยชนต์ต่อสุขภาพอย่างไร

ผู้ชายช่วยตัวเอง มีประโยชนต์ต่อสุขภาพอย่างไร

ผู้ชายช่วยตัวเอง เป็นเรื่องปกติและอาจเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเป็นการสร้างความสุขให้แก่ตนเองอาจช่วยการลดความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ปรับปรุงสุขภาพจิต และช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรก็ตาม การช่วยตัวเองก็อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง จึงควรช่วยตัวเองแต่พอดี

[embed-health-tool-heart-rate]

ผู้ชายช่วยตัวเอง มีประโยชน์อย่างไร

การช่วยตังเองของผู้ชายนอกจากจะช่วยป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์แล้ว ยังอาจมีประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

  • อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้ชายช่วยตัวเอง โดยมีการหลั่งน้ำอสุจิออกมามากกว่า 21 ครั้ง/เดือน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการมะเร็งต่อมลูกหมากได้ประมาณ 20% รวมถึงยังอาจช่วยส่งเสริมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น

  • อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพจิต

การสำเร็จความใคร่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการช่วยตัวเอง หรือมีเพศสัมพันธ์กัยคู่นอนก็อาจช่วยทำให้ระดับสารเคมี และฮอร์โมนทางด้านอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ เนื่องจากสมองจะทำการสั่งการเข้าไปกระตุ้นการหลั่งเซโรโทนิน (Serotonin) โดพามีน (Dopamine) เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) และออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่เป็นฮอร์โมนสร้างความสุขในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ การสำเร็จความใคร่ยังอาจช่วยปรับระดับฮอร์โมนความเครียดอย่าง คอร์ติซอล (Cortisol) ให้ลดลง

  • อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การช่วยตัวเองสำหรับผู้ชายอาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ หรือเรียกอีกอย่างว่า การฝึกการมีเพศสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ชายบางคนอาจประสบกับปัญหาการหลั่งเร็ว จึงทำให้การสำเร็จความใคร่ไม่เป็นไปดั่งที่ตนเอง หรือคู่รักต้องการ ดังนั้น จึงควรเข้าพบปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางเพศร่วมด้วย เพื่อให้การปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศมีการทำงานที่ขึ้น และเป็นไปอย่างราบรื่น

วิธีช่วยตัวเองของผู้ชาย

การช่วยตัวเองให้ถึงจุดสุดยอดอาจทำได้ ดังนี้

  1. เริ่มกำหนดอารมณ์ทางเพศ ก่อนเริ่มช่วยตัวเองอาจสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายด้วยการหรี่ไฟร่วมกับการดูวิดีโอเพื่อเร้าอารมณ์
  2. ปรับเปลี่ยนลักษณะการช่วยตัวเองแบบเดิม ๆ เพื่อเพิ่มความน่าตื่นเต้นและกระตุ้นอารมณ์ โดยอาจเปลี่ยนจากการนั่งช่วยตัวเอง เป็นยืน หรือนอนบ้างตามความถนัด เสมือนเป็นการเล่นท่าคล้ายกับเวลาที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก
  3. กำหนดความเร็วในการช่วยตัวเอง ซึ่งอาจเริ่มจากระดับช้า ไปเร็ว หรือเร็วมาช้า ตามจังหวะอารมณ์ในแต่ละช่วง โดยอาจมีการใช้จังหวะของการขยับสะโพกเข้าช่วย
  4. ใช้อุปกรณ์เสริม ลองหาอุปกรณ์เร้าอารมณ์ หรือเซ็กส์ทอยสำหรับผู้ชายมาช่วยกระตุ้นอารมณ์เพิ่มเติม

ข้อควรระวังในการช่วยตัวเอง

การช่วยตัวเองผิดวิธี หรือเสพติดการช่วยตัวเองที่มากจนเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสมรรถภาพทางเพศเสื่อมจนทำให้อวัยวะเพศเริ่มมีการแข็งตัวที่ช้าลง และอาจใช้ระยะเวลาสักระยะจึงจะกลับมาแข็งตัวพร้อมช่วยตัวเองได้อีกครั้ง

หากผู้ชายบางคนใช้สื่อลามกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเป็นหลัก อาจต้องระวังถึงเรื่องความวิตกกังวลยามทำกิจกรรมกับคู่รักด้วย เพราะการพึ่งสื่อลามกทุกครั้งขณะที่ช่วยตัวเอง อาจส่งผลต่อการสร้างอารมณ์ทางเพศด้วยตัวเอง และยังอาจเป็นการลดทอนความสัมพันธ์อันดีต่อคู่รักอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Masturbate Correctly – A Guide for Healthy Male Masturbation https://www.betweenusclinic.com/mental-impotence/how-to-masturbate-correctly/ Accessed October 30, 2020

How to masturbate: male masturbation tips https://www.netdoctor.co.uk/healthy-living/sex-life/a2224/masturbation/ Accessed October 30, 2020

Alwaal A, et al. (2015). Normal male sexual function: Emphasis on orgasm and ejaculation. fertstert.org/article/S0015-0282(15)01879-8/fulltext. Accessed September 21, 2022

Brody S. (2010). The relative health benefits of different sexual activities. jsm.jsexmed.org/article/S1743-6095(15)32977-5/fulltext. Accessed September 21, 2022

Levin RJ. (2006). Sexual activity, health and well-being — The beneficial roles of coitus and masturbation. tandfonline.com/doi/abs/10.1080/14681990601149197. Accessed September 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/09/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มีอารมณ์ทางเพศตลอดเวลา ผิดปกติไหม แล้วจะรับมือได้ยังไงบ้าง

ช่วยตัวเองทำให้เป็นสิว เกี่ยวข้องกันหรือไม่ ควรดูแลร่างกายอย่างไรดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา