backup og meta

มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล เกิดจากอะไร

มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล เกิดจากอะไร

โดยปกติแล้ว ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนทุก ๆ 21-35 วัน แต่หากสังเกตพบว่า มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางสุขภาพบางประการ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคปากมดลูกอักเสบ โรคช่องคลอดอักเสบ ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด และรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิต

[embed-health-tool-ovulation]

มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

สาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล อาจมีดังนี้ 

1. โรคหนองในแท้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านทางทวารหนัก ช่องคลอด และชปาก ส่งผลให้มีอาการปวดท้อง เลือดออกทางช่องคลอด มีตกขาวสีเหลือง แสบร้อนอวัยวะเพศเมื่อปัสสาวะ คันช่องคลอด เป็นต้น

วิธีรักษาโรคหนองในแท้

คุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบฉีดหรือยาเม็ดเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหนองในอาจจำเป็นต้องรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปสู่ทารกระหว่างคลอด

2. โรคหนองในเทียม

เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียคลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคหนองในเทียม คือ มีตกขาว มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เจ็บอวัยวะเพศขณะถ่ายปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์

วิธีรักษาโรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียมอาจรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจต้องรับประทานยาเพียงครั้งเดียว หรือรับประทานยาติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 5-10 วัน โดยทั่วไป โรคหนองในเทียมอาจหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังรักษา ทั้งนี้ ในช่วงที่รักษาโรค ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนจะกว่าคุณหมอจะอนุญาต

3. โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียภายในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงแล้วเชื้อแพร่กระจายจากช่องคลอดไปยังมดลูก ท่อน้ำไข่ และรังไข่ ส่งผลให้มีอาการเลือดออกผิดปกติ เจ็บแสบขณะถ่ายปัสสาวะ มีตกขาวมีกลิ่น ปวดท้องส่วนล่างและกระดูกเชิงกราน

วิธีรักษาโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

  • ยาปฎิชีวะนะ เพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ คุณหมออาจให้เริ่มใช้ทันทีหลังจากทราบผลการตรวจ และอาจติดตามผลลัพธ์หลังจากรับประทานยาประมาณ 3 วัน เพื่อตรวจสอบว่ายาได้ผลหรือไม่
  • งดมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างรักษา ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือคุณหมอจะอนุญาต

4. โรควอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand)

โรคเลือดออกง่ายเป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก ซึ่งอาจส่งผลให้มีเลือดออกนานกว่าปกติหากมีบาดแผลหรือมีเลือดไหล

วิธีรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์

การรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์อาจขึ้นอยู่กับการอาการของโรค โดยคุณหมออาจเลือกใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ยาต่าง ๆ เช่น เดสโมเพรสซิน (Desmopressin) ยาต้านการสลายลิ่มเลือด ยาคุมกำเนิด

5. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อและการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนผิดปกติ ฮอร์โมนแอนโดรเจนเป็นเพศชาย เมื่อมีมากเกินไปจะส่งผลให้มีซีสต์หรือถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากในรังไข่ และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ประจำเดือนขาด มีขนบริเวณหน้าอก ท้อง หลังเหมือนผู้ชาย สิวขึ้น ศีรษะล้าน มีบุตรยาก

ผู้หญิงที่เป็นถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจส่งผลให้ร่างกายดื้ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถดึงอินซูลินมาใช้เปลี่ยนน้ำตาลหรือกลูโคสจากอาหารเป็นพลังงานได้ จนเกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดและนำไปสู่โรคเบาหวาน

วิธีรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • สำหรับผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับยาที่ทำให้ไข่ตก และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายดึงอินซูลินมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและอาจช่วยให้ไข่ตกได้
  • สำหรับผู้ที่ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ อาจใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อลดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือใช้ยาควบคุมเบาหวานเพื่อลดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งอาจช่วยให้ไข่ตกสม่ำเสมอขึ้น นอกจากนี้ ยังควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย

6. โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ปากมดลูก ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ที่อาจได้รับผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หากไม่เร่งรักษา ไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลให้เซลล์ปากมดลูกกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีคู่นอนหลายคน หรือมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ดังนั้น หากสังเกตว่ามีตกขาวปนเลือด ปวดอุ้งเชิงกราน เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกทางช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด

วิธีรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก 

  • การผ่าตัด การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลายชนิด เช่น การตัดเฉพาะปากมดลูก การตัดปากมดลูกและมดลูกออกทั้งหมด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ
  • การฉายรังสีหรือการฉายแสง เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักใช้ควบคู่กับการรักษาแบบเคมีบำบัดหลังการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งมดลูกระยะลุกลาม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งอีกครั้ง
  • เคมีบำบัด การรักษาด้วยยาเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยคุณหมออาจให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำ หรือให้ยาชนิดรับประทาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งปาดมดลูกระยะลุกลามอาจจำเป็นต้องทำเคมีบำบัดควบคู่กับการฉายรังสี เพื่อควบคุมอาการของโรค
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด คุณหมออาจให้ยาที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ใช้ต่อเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล

7. โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

อาจเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเปลี่ยนแปลงจนเสียสมดุล เยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนแปลงจนเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งสังเกตได้จากอาการเลือดออกทางช่องคลอด และอาการปวดกระดูกเชิงกราน

วิธีรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจทำได้โดยการผ่าตัดเอามดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออก ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในอนาคต และอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการฉายรังสีควบคู่กับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดเนื้องอก หรือฉายรังสีหลังการผ่าตัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ และป้องกันการเป็นซ้ำ 

นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยป่วยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะลุกลาม คุณหมออาจรักษาด้วยยาลดระดับฮอร์โมนในร่างกายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือรักษาด้วยยาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) และภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง

8. โรคมะเร็งช่องคลอด

เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ยาก อาจเกิดจากจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ส่งผลให้เซลล์เยื่อบุผิวในช่องคลอดผิดปกติและกลายเป็นเนื้องอก ในระยะแรก โรคนี้อาจส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ ท้องผูก ปวดกระดูกเชิงกราน และมีเลือดออกทางช่องคลอด

วิธีรักษาโรคมะเร็งช่องคลอด 

  • การผ่าตัด คุณหมออาจเลือกวิธีการผ่าตัดแบบผ่าตัดเอาแค่ส่วนที่พบเซลล์มะเร็งออก หรือผ่าตัดกำจัดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ รังไข่ มดลูก ช่องคลอดทั้งหมด หากเซลล์มะเร็งมีการลุกลาม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอและระยะของโรคมะเร็ง
  • การฉายรังสี เพื่อช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง อาจใช้ควบคู่กับการทำเคมีบำบัด 

 9. โรคมะเร็งรังไข่

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคมะเร็งรังไข่เกิดจากสาเหตุใด แต่อาจมีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ เช่น พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของยีน อายุที่มากขึ้น การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดก้อนเนื้องอกในรังไข่ และอาจทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบหรือลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

วิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

  • การผ่าตัด รังไข่มี 2 ข้าง คุณหมอจึงอาจพิจารณาจากการลุกลามของมะเร็ง และอาการของผู้ป่วยว่าควรผ่าตัดนำรังไข่ออกแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือควรผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องผ่าตัดนำทั้งรังไข่และมดลูดออก เพื่อป้องกันการลุกลาม 
  • เคมีบำบัด เพื่อช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยอาจใช้ก่อนผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัด
  • ฮอร์โมนบำบัด โดยการใช้ยาเพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่อาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งในรังไข่เจริญเติบโต
  • การบำบัดด้วยยาแบบมุ่งเป้า คือการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง และอาจเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเคมีบำบัด

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้มีเลือดออกจากช่องคลอด

นอกจากโรคข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เลือดออกทางช่องคลอด ได้แก่

  • เนื้องอกในมดลูก
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ
  • ภาวะฮอร์โมนแปรปรวน
  • กระบวนการการตั้งครรภ์ เมื่อไข่ผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก อาจทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งบุตร
  • ภาวะต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำ ไทรอยด์เป็นพิษ
  • โรคปากมดลูกอักเสบ โรคช่องคลอดอักเสบ โรคช่องคลอดฝ่อ
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 
  • วัยหมดประจำเดือน
  • การมีเพศสัมพันธ์รุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • การคุมกำเนิดแบบฝัง แบบฉีด และแบบแผ่นแปะ
  • ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนบำบัด ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen)

อาการแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

หากมีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติร่วมกับมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบคุณหมอทันที

  • วิงเวียนศีรษะ
  • เป็นลม
  • สีผิวซีดผิดปกติ
  • ปวดท้องส่วนล่าง
  • เลือดออกทางช่องคลอดต่อเนื่องและบ่อยครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaginal bleeding. https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-bleeding/basics/causes/sym-20050756. Accessed June 27, 2023.

Spotting Between Periods. https://www.webmd.com/women/spotting-between-periods. Accessed June 27, 2023.

What causes bleeding between periods?. https://www.nhs.uk/common-health-questions/womens-health/what-causes-bleeding-between-periods/. Accessed June 27, 2023.

Cervical cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cervical-cancer/symptoms-causes/syc-20352501. Accessed June 27, 2023.

Endometrial cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endometrial-cancer/symptoms-causes/syc-20352461. Accessed June 27, 2023.

Vaginal cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/vaginal-cancer/symptoms-causes/syc-20352447. Accessed June 27, 2023.

Ovarian cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ovarian-cancer/symptoms-causes/syc-20375941. Accessed June 27, 2023.

Polycystic Ovary Syndrome (PCOS). https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/polycystic-ovary-syndrome-pcos. Accessed June 27, 2023.

Gonorrhea. https://www.webmd.com/sexual-conditions/gonorrhea#1. Accessed June 27, 2023.

Chlamydia trachomatis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/symptoms-causes/syc-20355349. Accessed June 27, 2023.

Pelvic inflammatory disease (PID). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pelvic-inflammatory-disease/symptoms-causes/syc-20352594. Accessed June 27, 2023.

What is von Willebrand Disease?. https://www.cdc.gov/ncbddd/vwd/facts.html. Accessed June 27, 2023.

PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) and Diabetes. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/pcos.html. Accessed June 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/09/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มูกไข่ตก เป็นอย่างไร ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา