backup og meta

ช่องคลอดอักเสบ ปัญหาสุขภาพสตรีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย

ช่องคลอดอักเสบ ปัญหาสุขภาพสตรีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย

ช่องคลอดอักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะภาวะช่องคลอดอักเสบจะทำให้มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดเกิดการเปรอะเปื้อนระหว่างวัน ดังนั้น จึงควรสังเกตและตรวจสอบสุขภาพช่องคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นช่องคลอดอักเสบ หรือหากทราบถึงอาการหรือสัญญาณเตือนก็จะทำให้รักษาได้ทันท่วงที

[embed-health-tool-ovulation]

สาเหตุของช่องคลอดอักเสบ

ช่องคลอดอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เป็นโรคทางนรีเวชที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในช่องคลอดขาดความสมดุล มีสภาพเปลี่ยนแปลงเป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งแอนนาโรบีส (Anaerobes) หรือแบคทีเรียที่ไม่ดีจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมากกว่าแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่เป็นแบคทีเรียที่ดี จึงทำให้ช่องคลอดขเต็มไปด้วยจุลินทรีย์จนเกิดการอักเสบตามมา

พร้อมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบได้ ดังนี้

  • การมีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนใหม่บ่อยๆ

การมีกิจกรรมทางเพศบ่อยครั้ง หรือเปลี่ยนคู่นอนคนใหม่ อาจส่งผลให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้ จนช่องคลอดอักเสบและรู้สึกเจ็บปวด

  • การทำความสะอาดแบบสวนล้าง

การล้างช่องคลอดโดยการนำของเหลว เช่น น้ำ ฉีดอัดเข้าไปบริเวณช่องคลอดด้วยความแรง อาจทำให้ช่องเกิดการอักเสบนำและทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้

สัญญาณ และอาการของช่องคลอดอักเสบ 

หากมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อาจสังเกตสัญญาณเตือน หรืออาการบางอย่างที่เห็นได้ชัด คือ

  • ช่องคลอดมีของเหลวที่เหมือนน้ำ ไม่เข้มข้น มีสีเทาหรือขาว ไหลออกมา
  • ช่องคลอดมีกลิ่นแรงอันไม่พึงประสงค์ และมีกลิ่นเหมือนคาวปลา
  • คันรอบนอกช่องคลอด
  • รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อน

แบคทีเรียในช่องคลอดอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเสมอไป แต่ในบางกรณี การมีแบคทีเรียในช่องคลอด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม อย่างเช่น

  • ภาวะคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดขึ้นในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ช่องคลอดอักเสบ
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แบคทีเรียในช่องคลอดเพิ่มความน่าจะเป็นของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อเอชไอวี เชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (herpes simplex) และ เชื้อหนองในแท้ หรือเชื้อหนองในเทียม ผลก็คือ หากมีเชื้อเอชไอวี แบคทีเรียในช่องคลอดอาจส่งผลเกิดการแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่คู่นอนได้
  • ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหลังเข้ารับการผ่าตัดทางนรีเวช หากเคยติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหลังจากเข้ารับการผ่าตัดได้มากกว่า
  • ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (PID) บางครั้ง แบคทีเรียในช่องคลอดอาจนำไปสู่ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน จนเกิดการติดเชื้อที่มดลูก และท่อนำไข่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการมีบุตรยาก

วิธีป้องกันและรักษา ช่องคลอดอักเสบ

หากสังเกตตนเองว่า มีความผิดปกติคล้ายอาการข้างต้น ควรรีบนัดหมายคุณหมอเพื่อรับการตรวจ และเริ่มการรักษา

  • กรณีที่มีของเหลว และกลิ่นแรง อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนไหลออกจากช่องคลอด แพทย์จะช่วยวินิจฉัยสาเหตุ และจ่ายยาที่เหมาะสม
  • ช่องคลอดเคยติดเชื้อมาก่อน แต่แตกต่างตรงที่สีของเหลวดูเปลี่ยนไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำการทำความสะอาด และป้องกันการอักเสบที่อาจกลับมาเป็นเรื้อรังได้
  • สำหรับผู่ที่มีคู่นอนหลายคน ควรหยุดกิจกกรมการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างถุงยางอนามัย เพื่อลดการติดเชื้อ
  • อย่าฉีดน้ำแรงเข้าบริเวณช่องคลอด เพราะจะทำให้เกิดการเสียสมดุลของแบคทีเรียที่ดี

บางรายอาจไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดจากอาการช่องคลอดอักเสบ แต่อาจจะมีของเหลวปะปนออกมาทางช่องคลอด ที่แสดงถึงความผิดปกติ หากเกิดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพช่องคลอด ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อขอเข้าประเมิน และตรวจวินิจฉัย เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bacteria vaginosis. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bacterial-vaginosis/symptoms-causes/dxc-20198414. Accessed March 27, 2023.

What Is Bacterial Vaginosis?. https://www.webmd.com/women/guide/what-is-bacterial-vaginosis#1. Accessed March 27, 2023.

Bacterial Vaginosis – CDC Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm.Accessed March 27, 2023.

Bacterial Vaginosis. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/3963-bacterial-vaginosis. Accessed March 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

คันช่องคลอด ฉี่บ่อย เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

ตกขาวเกิดจากอะไร วิธีแก้ และการดูแลสุขภาพช่องคลอด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา