backup og meta

Vdrl (การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส) คืออะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

Vdrl (การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส) คืออะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

Vdrl ย่อมาจาก Venereal Disease Research Laboratory test เป็นการตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ที่อาจได้รับผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันหรือผ่านทางผิวหนังที่มีแผลเปิด หากปล่อยเป็นเวลานาน ไม่เข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สูญเสียการได้ยิน สมองเสื่อม ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และตาบอดได้

[embed-health-tool-ovulation]

Vdrl คืออะไร

Vdrl (Venereal Disease Research Laboratory test) คือ การตรวจหาเชื้อซิฟิลิสในแอนติบอดีในเลือดซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากระบบภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม และดูว่าแอนติเจนหรือสารก่อภูมิต้านทานถูกทำลายโดยแบคทีเรียที่เสี่ยงก่อให้เกิดโรคซิฟิลิสหรือไม่

ปกติแล้วการตรวจ Vdrl อาจไม่จำเป็นต้องอดอาหารและการใช้ยา ยกเว้นกรณีที่คุณหมอจะแนะนำให้ทำ ซึ่งคุณหมอจะขอเจาะเลือดบริเวณบริเวณรอยพับข้อศอกหรือหลังมือและนำเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อซิฟิลิส หากผลลัพธ์เป็นลบอาจมีความหมายว่าไม่เสี่ยงติดเชื้อ แต่หากผลลัพธ์เป็นบวกอาจมีความหมายว่าติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องตรวจคอนเฟิร์มโดยวิธีอื่นเพื่อยืนยันผลอีกครั้งว่าติดเชื้อซิฟิลิสเช่น FTA-ABS หรือ TPHA เป็นต้น ผลลัพธ์ที่เป็นบวกก็อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ ได้ เช่น เอชไอวี มาลาเรีย โรคปอดบวม โรคลูปัส โรคไลม์ ดังนั้น คุณหมออาจใช้วิธีการตรวจด้วยเทคนิคอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัดและรับการรักษาในลำดับถัดไป 

อาการแบบไหนที่ควรตรวจด้วยวิธี Vdrl

ปกติแล้วการตรวจด้วยวิธี Vdrl อาจไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการผิดปกติ คือสามารถตรวจคัดกรองโรคทางเพศสัมพันธ์โดยการเจาะตรวจVDRLได้เลย และโดยทั่วไปแล้วเป็นการตรวจคัดกรองในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ทุกรายอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นหากพบว่ามีอาการที่เสี่ยงเป็นโรคซิฟิลิสก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ โดยอาการผิดปกติที่ควรสังเกต มีดังต่อไปนี้

  • มีไข้และปวดศีรษะ 
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • รู้สึกเบื่ออาหารและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือกระดูก 
  • ผิวหนังมีรอยถลอกสีแดงเข้มหรือฉีกขาดบริเวณอวัยวะเพศ ริมฝีปาก ลิ้น ทวารหนัก 
  • ตุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง หรือมีขอบแผลนูนแข็ง เรียกว่า โรคแผลริมแข็ง (chancre) 
  • เป็นผื่นนูนหนาบริเวณรอบอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก 

ควรสังเกตอาการผิดปกติดังกล่าวและควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉับและรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การทำงานของหัวใจและหลอดเลือด นำไปสู่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สูญเสียการได้ยิน เส้นเลือดในสมองตีบ สมองเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สูญเสียความรู้สึกการเจ็บปวดและตาบอดได้

วิธีป้องกันโรคซิฟิลิส

วิธีป้องกันโรคซิฟิลิส อาจทำได้ดังนี้

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียที่นำไปสู่โรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นโรคซิฟิลิส
  • ไม่ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่นและควรล้างให้สะอาดทุกครั้งทั้งก่อนและหลังใช้งาน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หากบริเวณอวัยวะเพศหรือปากมีบาดแผลเปิด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคู่นอนหากผิวหนังมีแผลเปิดเช่นเดียวกัน
  • สำหรับสตรีตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อตรวจคัดกรองโรคและรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงที่ส่งผลให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ 
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำปี เพื่อตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Syphilis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/syphilis/symptoms-causes/syc-20351756.Accessed January 20, 2023   

Syphilis – CDC Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/syphilis/stdfact-syphilis.htm.Accessed January 20, 2023   

Syphilis. https://www.webmd.com/sexual-conditions/syphilis#1.Accessed January 20, 2023   

VDRL Test and its Interpretation https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3312652/.Accessed January 20, 2023   

ซิฟิลิสhttps://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/574_49_1.pdf.Accessed January 20, 2023   

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/10/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ อาการและรักษา

โรคซิฟิลิส กับ เอดส์ เหมือนกันไหม มีวิธีรักษาและการป้องกันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา