backup og meta

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ซึ่งมักแสดงอาการหลังติดเชื้อไปแล้วประมาณ 3 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ เกิดตุ่มน้ำเหลือง ผื่นตามมือเท้า รู้สึกอ่อนเพลีย มีแผลที่อวัยวะเพศ รักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ และจำเป็นต้องตรวจเลือดหลังการรักษาเพื่อตรวจสอบว่าเชื้อหายแล้ว อย่างไรก็ตาม สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคซิฟิลิสได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

[embed-health-tool-ovulation]

โรคซิฟิลิส คืออะไร 

โรคซิฟิลิส (Syphilis) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเรียกว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) โดยแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสเชื้อทางปาก เชื้อซึมเข้าสู่บาดแผลสดตามบริเวณผิวหนัง หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ  เช่น โรคข้ออักเสบ ระบบประสาท และสมถูกทำลาย รวมทั้งยังลุกลามจนทำให้ตาบอดได้อีกด้วย

จากข้อมูลสถติของศูนย์กรมควบคุมโรคระบุไว้ว่า ในปีพ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยที่ประสบกับโรคซิฟิลิสมากกว่า 88,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพศชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชายด้วยกันเป็นโรคนี้มากกว่ากลุ่มอื่น

อาการของโรคซิฟิลิส  

โรคซิฟิลิส มักแสดงอาการตามระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  1. ซิฟิลิสปฐมภูมิ

ถือเป็นสัญญาณเตือนระยะแรกของโรคซิฟิลิส หลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียหลังการมีเพศสัมพันธ์ประมาณไปแล้ว 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อีกทั้งเกิดแผลคล้ายหูดบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เนื่องจากยังเป็นการติดเชื้อแบบอ่อน ๆ

  1. ซิฟิลิสทุติยภูมิ

เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-6 สัปดาห์อาการในระยะที่สองนี้อาจปรากฏชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะแผลบริเวณผิวหนังที่ดูคล้ายกับผื่น หรือแผลที่คล้ายหูดขึ้นอยู่ตามฝ่ามือ เท้า และขาหนีบ โดยไม่มีอาการคัน รวมทั้งอาจมีไข้ เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบวม

  1. ซิฟิลิสระยะแฝง

หากมีอาการในระยะแรก ๆ แต่ไม่รีบเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจนำไปสู่ซิฟิลิสระยะแฝง ซึ่งระยะนี้อาการต่าง ๆ อาจหายไป แต่เชื้อแบคทีเรียยังคงอาศัยอยู่ในร่างกาย อาจกินระยะเวลาเป็นปี ก่อนเชื้อโรคจะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่สี่

  1. ซิฟิลิสตติยภูมิ

นับได้ว่าเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อแบคทีเรียของโรคซิฟิลิส ที่อาจไปทำลายเส้นประสาทในสมอง หัวใจ หลอดเลือด จนทำให้บางรายตาบอด หูหนวก ความจำเสื่อม และเกิดการติดเชื้อในสมอง หรือไขสันหลังได้

หากสังเกตตนเองแล้วมีอาการคล้ายโรคซิฟิลิสในระยะปฐมภูมิ ควรรีบเข้ารับการรักษา หรือเข้ารับการวินิจฉัยและตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที พร้อมบอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

วิธีรักษาและป้องกันโรคซิฟิลิส  

สำหรับการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยอาจต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะคุณหมอจำเป็นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน (Penicillin) ให้แก่คนไข้เป็นประจำทุกวันผ่านทางหลอดเลือดดำ หรืออาจเป็นการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ตามระยะการติดเชื้อ เช่น ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline) แอซิโทรไมซิน (Azithromycin) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone)

อย่างไรก็ตาม โรคซิฟิลิสนั้นป้องกันได้ด้วยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ที่สำคัญควรระมัดระวัง หรืองดใช้สิ่งของบางอย่างร่วมกันกับคู่รัก ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศและร่างกายทุกครั้งหลังและก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคซิฟิลิส

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Syphilis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/syphilis/symptoms-causes/syc-20351756. Accessed March 9, 2022.

Syphilis. https://www.webmd.com/sexual-conditions/syphilis#1. Accessed March 9, 2022.

Syphilis – CDC Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/syphilis/stdfact-syphilis.htm. Accessed March 9, 2022.

Syphilis. https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/sexually-transmitted-diseases-stds/syphilis.

Syphilis. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4622-syphilis. Accessed March 9, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

มีเพศสัมพันธ์บ่อย เซ็กส์จัด เป็นอันตรายรึเปล่า

จุดซ่อนเร้น ของผู้หญิงและผู้ชาย ควรดูแลอย่างไรหลังการมีเพศสัมพันธ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา