กรุ๊ปเลือดสามารถระบุได้ด้วยแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนในพลาสมา ทำหน้าที่ในการป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมอย่าวเชื้อโรค และแอนติเจนซึ่งเป็นโมเลกุลโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยกรุ๊ปเลือดหลักมีอยู่ด้วยกัน 4 กลุ่ม คือ A B AB และ O ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากพ่อแม่ ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจทำให้โรคบางอย่างสามารถถ่ายทอดผ่านทางกรุ๊ปเลือดได้ เช่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
ความสัมพันธ์ของ โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และกรุ๊ปเลือด
ในความเป็นจริงแล้ว โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อได้ในกรุ๊ปเลือดทุกกลุ่ม โดยอาจพบได้มากที่สุดในเลือดกรุ๊ปเอ และกรุ๊ปเลือดโอ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Iranian Journal of Public Health พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกรุ๊ปเลือดในระบบ ABO และกรุ๊ปเลือดในระบบ Rh ต่อโรคที่นำโดยเลือด (Blood-Borne Infections) หรือโรคที่ติดเชื้อผ่านทางเลือด หรือโรคที่ติดเชื้อผ่านทางเลือด ในผู้บริจาคเลือดที่ศูนย์บริจาคเลือดในเมืองเตหราน ประเทศอีหร่าน ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2554 พบว่า จากตัวอย่างเลือด 10,451 รายจากทั้งหมด 2,031,451 ราย มีค่าเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิสเป็นบวก โดยเปอร์เซ็นต์ของค่าแอนติเจนและแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวีมีสูงมากในผู้บริจาคเลือดกรุ๊ปเอ ในขณะที่พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีน้อยที่สุดในผู้บรอจาคเลือดกรุ๊ปบี สำหรับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี เลือดบวก พบได้มากในผู้ที่มีเลือดกรุ๊ปกรุ๊ปเลือดโอ อาร์เอชบวก (O+) และพบได้น้อยที่สุดในผู้ที่มีเลือดเอบี อาร์เอชลบ (AB-) และเปอร์เซ็นต์ของแอนติเจนตับอักเสบบีมีค่าต่ำในผู้บริจาคเลือดกรุ๊ปโอ ในทางกลับกัน ไม่พบความเชื่อมโยงสำคัญระหว่างการติดเชื้อตับอักเสบซี เช่นเดียวกับการติดเชื้อซิฟิลิส ในกรุ๊ปเลือด ABO และกรุ๊ปเลือดในระบบ Rh
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Microbiology and Immunology พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกรุ๊ปเลือดในระบบ ABO และกรุ๊ปเลือดในระบบ Rh กับความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มผู้บริจาคเลือด เมืองอาบีจาน ประเทศฝรั่งเศส ทั้งหมด 45,538 ราย พบว่า ผู้บริจาคเลือดกรุ๊ปโอ ติดเชื้อเอชไอวี 0.32% และ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 8.07% ซึ่งมากกว่าผู้บริจาคเลือดที่ไม่ใช่กรุ๊ปโอ ทั้งนี้ ยังต้องมาการศึกษาเพิ่มเติม
อาจกล่าวได้ว่า ประเภทของกรุ๊ปเลือดในแต่ละบุคคลอาจส่งผลกระทบบางอย่างต่อโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ในทางกลับกัน การอ้างอิงจากกรุ๊ปเลือดที่แตกต่างกัน ประสิทธิภาพทางชีวภาพในร่างกายจะแตกต่างกันออกไป และโอกาสในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเชื้อเอชไอวี จะหลากหลายในแต่ละบุคคล
โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และวิธีรักษา
โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตที่สามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คนผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อทางปาก ทวารหนัก ช่องคลอด โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีมากกว่า 20 ชนิด เช่น
- โรคเริม
- หนองในแท้
- หนองในเทียม
- โรคซิฟิลิส
- โรคเอดส์
นอกจากนี้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจทำให้ทารกได้รับเชื้อระหว่างการคลอดผ่านทางช่องคลอด โดยส่วนใหญ่อาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจสังเกตได้จาก
- มีไข้
- ปวดท้อง
- สีของตกขาวมีความผิดปกติ และตกขาวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
- มีแผล หรือตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ
- คันบริเวณอวัยวะเพศหญิง
- รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ รวมถึงระหว่างมีเพศสัมพันธ์
วิธีรักษาโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์อาจมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ ส่วนใหญ่อาจใช้ยารักษา ดังต่อไปนี้
- ยาปฏิชีวนะ เช่น ออฟลอกซาซิน (Ofloxacin) ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) เพนิซิลลิน (Penicillin) ใช้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต เช่น โรคหนองใน ซิฟิลิส ที่สำคัญในระหว่างการรักษาควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 7 วัน และเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อเช็กว่ามีแนวโน้มของการติดเชื้ออยู่หรือไม่
- ยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่เป็นเชื้อเอชไอวี เริม อาจได้รับยาต้านไวรัส เช่น วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) แฟมซิโคลเวียร์ (Famciclovir) อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) เพื่อบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ
[embed-health-tool-ovulation]