backup og meta

เริมเกิดจากอะไร

เริม คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากไวรัสเริม ที่ส่งผลให้เกิดอาการคันและมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ช่องปาก เริม เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นซ้ำ ๆ ได้บ่อย ควรศึกษาว่า เริมเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

เริมเกิดจากอะไร

เริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ และสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย การใช้สิ่งของร่วมกัน การจูบ สัมผัสกับผิวหนัง 

ไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • ไวรัสเริ่มชนิดที่ 1 (HSV-1) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณช่องปาก และรอบ ๆ ปาก แต่ก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศได้หากมีเพศสัมพันธ์ทางปาก บางกรณีไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกระหว่างการคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอดที่มีเชื้อไวรัส ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกติดเชื้อไวรัสเริม มีแนวโน้มเป็นโรคไข้สมองอักเสบ การติดเชื้อที่ตา โรคไขข้ออักเสบ ระบบประสาทได้รับความเสียหาย 
  • ไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV-2) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสเริมผ่านทางผิวหนัง เป็นประเภทที่อาจพบได้บ่อยและมีการแพร่กระจายสูง อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ทารกได้รับเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ได้จากมารดาตั้งครรภ์เหมือนไวรัสเริมชนิดที่ 1

ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัย อาจมีแนวโน้มเสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสเริม ซึ่งเริมอาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการของเริม 

อาการของเริมอาจเกิดขึ้นประมาณ 2-12 วันหลังจากสัมผัสกับไวรัส โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวด แสบร้อน คันบริเวณที่ติดเชื้อ
  • มีตุ่มแดง และตุ่มสีขาวเล็ก ๆ ปรากฏบริเวณริมฝีปาก อวัยวะเพศหลังจากติดเชื้อได้ 2-3 สัปดาห์
  • แผลพุพองแตกออก มีเลือดไหล หากเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศอาจทำให้ปัสสาวะลำบาก
  • ผิวหนังเป็นสะเก็ด ลอกเป็นขุย หลังจากแผลพุพองหาย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้

สำหรับผู้หญิง อาจพบอาการเหล่านี้บริเวณก้น ต้นขา ทวารหนัก ปาก ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก อวัยวะเพศรอบนอก สำหรับผู้ชาย อาจเกิดขึ้นบริเวณถุงอัณฑะ องคชาต รอบริมฝีปาก ต้นขา ทวารหนัก 

วิธีรักษาเริม

คุณหมออาจให้ยาต้านเชื้อไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสเริม ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัส และอาจทำให้แผลหายไว้ขึ้น แต่ไม่อาจรักษาการติดเชื้อให้หายขาดได้  

วิธีป้องกันเริม

  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสเริม
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • ไม่ใช้สิ่งของที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน ช้อนส้อม
  • สตรีมีครรภ์ที่มีการติดเชื้อเริม ควรแจ้งคุณหมอให้ทราบและเข้ารับการรักษาทันที
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
  • ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอเนื่องจากในภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงจะทำให้ ติดเชื้อเริม ได้ง่ายขึ้นและกลับเป็นซ้ำได้ง่ายเช่นกัน

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Genital Herpes – CDC Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/herpes/stdfact-herpes.htm  . Accessed October 30, 2021

Genital herpes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/genital-herpes/symptoms-causes/syc-20356161  . Accessed October 30, 2021

Herpes Simplex Virus: HSV-1 & HSV-2. https://www.webmd.com/genital-herpes/pain-management-herpes#1  . Accessed October 30, 2021

Genital herpes. https://www.nhs.uk/conditions/genital-herpes/  . Accessed October 30, 2021

Herpes simplex virus. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/herpes-simplex-virus  . Accessed October 30, 2021

HERPES SIMPLEX: WHO GETS AND CAUSES. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/HERPES-SIMPLEX-CAUSES  . Accessed October 30, 2021

HERPES SIMPLEX: DIAGNOSIS AND TREATMENT. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/HERPES-SIMPLEX-TREATMENT  . Accessed October 30, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/06/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันได้

ทำความรู้จักกับ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์ โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท · เขียน โดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไข 13/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา