backup og meta

น้ำยายืดผม ข้อดีและข้อควรระวังต่อสุขภาพ

น้ำยายืดผม ข้อดีและข้อควรระวังต่อสุขภาพ

น้ำยายืดผม มีข้อดีในการช่วยให้ผมที่ชี้ฟูและหยิกให้ตรงสวยเป็นเวลานาน หรือบางผลิตภัณฑ์อาจตรงอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม น้ำยายืดผมอาจมีข้อเสียที่ทำให้ผมแห้ง เสีย แตกปลาย และผมขาดหลุดร่วง รวมทั้งมีสารอันตรายที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ด้วย ดังนั้น ก่อนใช้น้ำยายืดผมจึงควรศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียอย่างละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจตามมา

[embed-health-tool-bmr]

น้ำยายืดผม มีข้อดีอย่างไร

น้ำยายืดผม มีหลายประเภทซึ่งอาจมีข้อดีที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • น้ำยายืดผมแบบธรรมดา เป็นการยืดผมถาวรที่ราคาถูกและใช้เวลาน้อยที่สุด อาจมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 6 เดือน แต่น้ำยายืดผมชนิดนี้อาจทำลายรูขุมขนจนทำให้เส้นผมดูแข็ง และไม่คงรูปร่างตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผมขาดหลุดร่วงและแตกปลาย
  • น้ำยายืดผมเคราติน เป็นน้ำยายืดผมที่ช่วยปรับสภาพเส้นผม อาจช่วยทำให้ผมตรงได้นานแต่น้ำยายืดผมเคราตินอาจเป็นการยืดผมกึ่งถาวร เนื่องจากผมจะค่อย ๆ กลับสู่สภาพเดิมเมื่อน้ำยายืดผมเริ่มหายไปหลังจากทำประมาณ 4-6 เดือน
  • น้ำยายืดผมแบบรีบอนดิ้ง (Rebonding) ช่วยจัดการกับผมชี้ฟูและช่วยให้ผมตรง ซึ่งผลลัพธ์จะอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน แต่น้ำยายืดผมจะมีส่วนผสมของฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่อาจเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ เช่น ปัญหาระบบทางเดินหายใจ มะเร็งเต้านม
  • น้ำยายืดผมแบบญี่ปุ่น (Japanese Straightening) เป็นน้ำยายืดผมที่ช่วยให้ผมจัดทรงง่ายและผลลัพธ์จะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน แต่น้ำยายืดผมชนิดนี้อาจทำให้ผมเสียและน้ำยายืดผมยังมีสารอันตรายที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจและดูดซึมผ่านผิวหนัง

ข้อควรระวังในการใช้ น้ำยายืดผม

น้ำยายืดผมมีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลายชนิดที่อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้หากกลืนน้ำยายืดผมเข้าสู่ร่างกาย เช่น อาเจียน ชัก สับสน มึนงง หมดสติ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสารเคมีที่เป็นอันตรายในน้ำยายืดผม มีดังนี้

  • แอมโมเนียม ไทโอไกลโคเลท (Ammonium Thioglycolate)
  • น้ำมันแร่ (Mineral Oil)
  • กัวนิดีนไฮดรอกไซด์ (Guanidine Hydroxide)
  • โพลิเอทิลีนไกลคอล (Polyethylene Glycol หรือ PEG)
  • โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide) หรือโซดาไฟ (Caustic Soda)

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ใช้น้ำยายืดผมบ่อยครั้งอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น โดยมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร National Institutes of Health เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ศึกษาเกี่ยวกับสารเคมีในน้ำยายืดผมเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงมะเร็งมดลูกที่สูงขึ้น พบว่า ผู้หญิงที่ใช้น้ำยายืดผมที่มีสารเคมีบ่อยหรือประมาณ 4 ครั้ง/ปี มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งมดลูกประมาณ 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้น้ำยายืดผม โดยประเมินได้ว่า 1.64 เปอร์เซ็นต์ ของผู้หญิงที่ไม่เคยใช้น้ำยายืดผมจะเป็นมะเร็งมดลูกเมื่ออายุประมาณ 70 ปี แต่สำหรับผู้หญิงที่ใช้น้ำยายืดผมบ่อย ๆ ความเสี่ยงนั้นจะสูงถึง 4.05 เปอร์เซ็นต์

อาการที่เกิดขึ้นจากสารเคมีในน้ำยายืดผม

อาการที่เกิดจากสารเคมีในน้ำยายืดผมเมื่อร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณมากเกินไปสามารถแสดงออกได้ในทุกส่วนของร่างกายทั้งตา หู จมูก คอ หัวใจ เลือด ปอด ผิวหนัง กระเพาะอาหาร และลำไส้ โดยอาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • สูญเสียการมองเห็น
  • ปวดคออย่างรุนแรง
  • ปวดหรือแสบร้อนในจมูก ตา ริมฝีปาก หู หรือลิ้นอย่างรุนแรง
  • ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับกรดในเลือดอย่างรุนแรง ทำให้อวัยวะเสียหาย
  • หายใจลำบาก คอบวม
  • แสบร้อนผิว ความระคายเคือง
  • เกิดรูใต้ผิวหนัง หรือเกิดเนื้อเยื่อเกินใต้ผิวหนัง
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • แผลไหม้ในหลอดอาหาร
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • อาเจียนและอาจมีเลือดปน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Elevated formaldehyde concentration in “Brazilian keratin type” hair-straightening products: A cross-sectional study. https://www.jaad.org/article/S0190-9622(13)01135-3/fulltext. Accessed December 14, 2022

The biology and genetics of curly hair. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/exd.13347. Accessed December 14, 2022

Hair straightening chemicals associated with higher uterine cancer risk. https://www.nih.gov/news-events/news-releases/hair-straightening-chemicals-associated-higher-uterine-cancer-risk. Accessed December 14, 2022

Hair Straightening Products Linked to Uterine Cancer Risk: Study. https://www.webmd.com/beauty/news/20221018/hair-straightening-products-linked-uterine-cancer-risk-study. Accessed December 14, 2022

Hair straightener poisoning. https://www.mountsinai.org/health-library/poison/hair-straightener-poisoning. Accessed December 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยืดผมถาวร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และวิธีการดูแลผม

ผมแห้ง สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 03/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา