backup og meta

ภาวะผมเหม็น สาเหตุ และวิธีการรักษา

ภาวะผมเหม็น สาเหตุ และวิธีการรักษา

ภาวะผมเหม็น (Smelly Hair Syndrome หรือ Smelly Scalp Syndrome) คือภาวะที่หนังศีรษะและเส้นผมเกิดกลิ่นเหม็นได้ง่าย แม้จะสระผมเป็นประจำ และดูแลหนังศีรษะอย่างดีแล้วก็ตาม โดยกลิ่นอาจคล้ายนมบูด ฟองน้ำเก่าชื้น หรือถุงเท้าเก่า บางคนอาจมีอาการคันศีรษะ และเส้นผมเหนียวเหนอะหนะร่วมด้วย ภาวะผมเหม็นอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินไป ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง การติดเชื้อรา การดูแลอย่างถูกต้องอาจช่วยรักษาสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากปัญหาผมเหม็นได้

[embed-health-tool-bmr]

สาเหตุของการเกิดภาวะผมเหม็น

ภาวะผมเหม็นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้

ต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินไป

เมื่อต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินปกติ จึงทำให้เส้นผมและหนังศีรษะมันเร็วและดูดกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นบุหรี่ กลิ่นควันรถที่ลอยอยู่ในอากาศเอาไว้ ผมจึงเหม็นเร็วกว่าที่ควร

ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อมากเกินปกติ

ภาวะผมเหม็นอาจเกิดจากต่อมเหงื่อที่หนังศีรษะผลิตเหงื่อมากเกินไป ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะเปียกและอับชื้น

ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ความเครียดหรือการใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งมีส่วนในการควบคุมปริมาณไขมันบนหนังศีรษะ และสภาพเส้นผม เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุล ต่อมไขมันจึงผลิตไขมันมากเกินไป จนเป็นสาเหตุให้ผมเหม็นได้

มีผมเส้นเล็ก

ผู้ที่มีผมเส้นเล็กละเอียดมักมีผมและหนังศีรษะมันมากกว่าปกติ เนื่องจากมีปริมาณรูขุมขนและต่อมไขมันมาก จึงอาจทำให้ผมเหม็นเร็วขึ้น

การติดเชื้อรา

การติดเชื้อรา หรือที่เรียกกันว่า กลากที่หนังศีรษะ (Tinea Capitis) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรากลุ่มจากสัตว์สู่คน (zoophilic fungi) ที่สามารถแพร่กระจายได้ในสัตว์ เช่น สุนัข แมว (โดยเฉพาะแมวป่วย) มนุษย์ รวมไปถึงวัตถุต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดในวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ซึ่งโรคนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เส้นผมและหนังศีรษะเกิดกลิ่นเหม็น แต่ยังทำให้ผมร่วงได้อีกด้วย

ปัญหาผิวหนัง

หากมีปัญหาผิวหนัง ก็สามารถทำให้ผมเหม็นได้เช่นกัน โดยโรคผิวหนังที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะผมเหม็น เช่น

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจทำให้มีภาวะผมเหม็น เช่น การไม่ค่อยสระผม การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป ใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมที่ทำให้ผมระคายเคือง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีซิลิโคน ระบบเผาผลาญถูกรบกวน

วิธีรักษา ภาวะหัวเหม็น

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะผมเหม็นที่แน่ชัด การรักษานั้นต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากผมเหม็นเพราะเป็นโรคกลากที่หนังศีรษะ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ อาจทำให้ภาวะผมเหม็นดีขึ้นได้ แต่หากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด  อาจลองบรรเทาภาวะผมเหม็น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • สระผมให้บ่อยขึ้น หากเส้นผมและหนังศีรษะมันมากควรสระผมอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • หลังสระผมควรเป่าผมให้แห้งสนิท ไม่ควรปล่อยให้ผมเปียกชื้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ครีมนวดผมที่หนังศีรษะ เพราะจะทำให้หนังศีรษะมันขึ้น ควรใช้ครีมนวดที่ปลายผมเท่านั้น
  • ใช้ยาสระผมและครีมนวดผมสูตรอ่อนโยน และไม่มีส่วนผสมของซิลิโคน เพื่อป้องกันรูขุมขนอุดตัน
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมในรูปแบบต่าง เช่น เจล สเปรย์ น้ำมัน เพราะจะทำให้หนังศีรษะมันขึ้น
  • ไม่เกาศีรษะ หรือแตะผมบ่อยเกินไป เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันมากขึ้น
  • หากเป็นคนเหงื่อออกง่าย ควรสวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
  • หากต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรสวมหมวกเพื่อป้องกันเส้นผมจากมลพิษทางอากาศ

หากมีภาวะผมเหม็นแล้วปล่อยเอาไว้ ไม่รักษาหรือแก้ไข อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาผมร่วง หรือหากลองทำตามวิธีแก้หัวเหม็นข้างต้นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้รักษาอย่างตรงจุดหรือทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hormonal Effects on Hair Follicles. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7432488/. Accessed February 27, 2022.

Air Pollution Odor Diaries. https://www.atsdr.cdc.gov/odors/air_pollution_odor_diaries.html. Accessed February 27, 2022.

Treatment of seborrheic dermatitis: a comprehensive review. https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/09546634.2018.1473554. Accessed February 27, 2022.

The Effect of Meat Consumption on Body Odor Attractiveness. https://academic.oup.com/chemse/article/31/8/747/364338. Accessed February 27, 2022.

Body Odor. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/preventing-body-odor. Accessed February 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2023

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผมหงอกก่อนวัย บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้หรือไม่

ผมร่วงหนักมาก เกิดจากสาเหตุใดบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา