ดูแลรักษารอยสัก เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการดูแลผิว เพราะนอกจากจะช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้แข็งแรงแล้ว ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อ ช่วยลดบรรเทาอาการเจ็บปวด ลดรอยแดง รวมถึงอาจช่วยป้องกันการอักเสบบริเวณรอยสัก และอาจทำให้รอยสักดูสวยงามอยู่เสมอ
[embed-health-tool-ovulation]
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากรอยสัก
รอยสักเกิดจากการใช้เข็มที่มีหมึกวาดลงบนผิวหนัง ส่งผลทำให้ผิวหนังเปิดจนเกิดอาการปวด บวม คัน เจ็บ ทั้งยังเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อ โดยอาจสังเกตได้จากการที่หมึกส่วนเกินไหลออกมาพร้อมกับเลือดและอาจมีของเหลวไหลออกมาร่วมด้วย ซึ่งอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ ดังนั้น การดูแลรักษารอยสักจึงอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อ
รอยสักที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมอาจเกิดการติดเชื้อ ส่งผลทำให้ผิวหนังบริเวณรอยสักมีสีแดง รู้สึกอุ่น ๆ และเจ็บปวด นอกจากนี้ หากอุปกรณ์สักหรือหมึกที่ใช้ในการสักมีการปนเปื้อนยังอาจทำให้มีหนองไหลออกมาจากรอยสัก และยังอาจเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี บาดทะยัก เอชไอวี
2. อาการแพ้รุนแรง
หากผิวหนังของผู้เข้ารับการสักไวต่อหมึกสัก อาจส่งผลทำให้ผิวหนังบริเวณที่กำลังสักเปลี่ยนเป็นสีแดงและมีอาการคัน โดยหมึกสักสีแดงอาจมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้มากที่สุด นอกจากนี้ หมึกสักสีแดงพร้อมและหมึกสักสีน้ำเงิน เมื่อสักลงบนผิวหนังอาจเกิดปฏิกิริยาต่อผิวหนังชนิดไม่ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ผิวไวต่อแสง (Photosensitivity)
3. แผลเป็น
ผิวหนังที่เกิดความเสียหายจากเข็มหรือการจับที่รอยสัก อาจทำให้ร่างกายผลิตเนื้อเยื่อที่ไม่สมบูรณ์เท่ากับเนื้อเยื่อเก่าที่ถูกทำลายไป โดยเนื้อเนื้อเยื่อชนิดนี้เรียกว่า สะคาราบีอิฟอร์ม (Scar Tissue) ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดรอยแผลเป็นแบบถาวร
ดูแลรักษารอยสัก ทำได้อย่างไร
การดูแลรักษารอยสักควรปฏิบัติทันทีหลังจากที่สักเสร็จเรียบร้อย โดยวิธีการดูแลรักษารอยสักมีดังนี้
- หลังจากสักเรียบร้อยแล้ว ช่างสักอาจใช้ครีมปฏิชีวนะทาบาง ๆ ให้ทั่วรอยสัก แล้วปิดบริเวณรอยสักด้วยผ้าพันแผล หรือพลาสติก เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนัง ป้องกันรอยสักเสียดสีกับเสื้อผ้าจนทำให้เกิดการระคายเคือง ทั้งยังอาจช่วยดูดซับของเหลวหรือหมึกส่วนเกินที่ไหลออกมาจากรอยสัก โดยควรปิดรอยสักด้วยผ้าพันแผล หรือพลาสติกตามคำแนะนำของช่างสัก
- หลังจากเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง อาจเอาผ้าพันแผล หรือพลาสติกออกได้
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ จากนั้นจึงค่อย ๆ ล้างรอยสักด้วยน้ำอุ่นและสบู่ที่ปราศจากส่วนผสมของน้ำหอม และซับผิวให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
- ทามอยเจอร์ไรเซอร์ที่ปราศจากส่วนผสมของน้ำหอมและแอลกอฮอล์ลงบนรอยสักเพียงเล็กน้อยโดยไม่ต้องใช้ผ้าพันแผล หรือพลาสติกคลุม
- ในขณะที่รอยสักเริ่มจะหายดี อาจต้องสวมชุดป้องกันแสงแดดทุกครั้งที่ออกไปข้างนอก
- หากรอยสักเกิดการติดเชื้อ ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที
สำหรับสิ่งที่ไม่ควรทำในระหว่างดูแลรักษารอยสัก อาจมีดังนี้
- ไม่ควรทาครีมกันแดดที่รอยสักโดยตรงจนกว่าแผลบริเวณรอยสักจะหายสนิท
- ไม่ควรเกาหรือจับที่รอยสัก เพราะอาจทำให้ผิวหนังบริเวณรอยสักเกิดการอักเสบและติดเชื้อ
- ไม่ควรสวมเสื้อผ้ารักรูปทับรอยสัก เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง
- ไม่ควรว่ายน้ำหรือแช่ตัวในน้ำนาน ๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่สามารถอาบน้ำได้