backup og meta

ยาแก้คันผิวหนัง มีอะไรบ้าง

ยาแก้คันผิวหนัง มีอะไรบ้าง

ยาแก้คันผิวหนัง เป็นยาที่ออกฤทธิ์เพื่อช่วยบรรเทาหรือรักษาอาการคัน โดยลดการอักเสบ ลดการระคายเคือง รักษาการติดเชื้อ ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง ลดปัญหาผิวแห้งแตก ซึ่งการใช้ยาแต่ละชนิดอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของอาการคันผิวหนัง ความรุนแรงและการพิจารณาของคุณหมอ

อาการคันผิวหนัง เกิดจากอะไร

อาการคันผิวหนัง เป็นความรู้สึกไม่สบายผิวและระคายเคืองผิวจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคันและอยากเกาผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผิวแห้งแตก การอักเสบ การติดเชื้อ ปัญหาสุขภาพ อาการแพ้ โดยอาการคันผิวหนังอาจมีลักษณะผิวแดง หยาบกร้าน เป็นตุ่ม แผลพุพอง อย่างไรก็ตาม อาการคันผิวหนังที่เกิดขึ้นอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักด้วยเช่นกัน และการเกาบริเวณที่มีอาการคันซ้ำ ๆ อาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ผิวลอก เกิดบาดแผล หนาขึ้น มีเลือดออกหรืออาจติดเชื้อได้

ยาแก้คันผิวหนัง มีอะไรบ้าง

การรักษาอาการคันผิวหนังด้วยยาแก้คันผิวหนังอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักในการเกิดอาการคัน ระดับความรุนแรง และอาจขึ้นอยู่การพิจารณาของคุณหมอ ดังนี้

ครีม โลชั่นหรือขี้ผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)

  • ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)
  • เบตาเมทาโซน ไดโพรพิโอเนต (Betamethasone Dipropionate)
  • เบตาเมทาโซน วาเลเรต (Betamethasone Valerate)
  • โคลเบตาซอล โพรพิโอเนต (Clobetasol Propionate)
  • เดสออกซิเมทาโซน (Desoximetasone)
  • ไฮโดรคอร์ติโซน อะซิเตท (Hydrocortisone Acetate)
  • โมเมทาโซน ฟูโรเอต (Mometasone Furoate)

ยาเหล่านี้เป็นยาใช้ทาภายนอกสำหรับทาผิวหนังในบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง มีอาการอักเสบ อาการคัน แดงหรือแพ้ เพื่อช่วยควบคุมอาการคันรุนแรงหรือมีอาการคันเรื้อรัง โดยคุณหมออาจแนะนำให้ทาครีมหรือขี้ผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์หลังอาบน้ำประมาณ 20 นาที จากนั้นอาจให้ปิดผิวบริเวณที่ทายาด้วยผ้าพันแผลชุบน้ำหมาด ๆ เพื่อให้ผิวดูดซับยาได้ดีและช่วยให้ผิวเย็นลง

ข้อควรระวัง การใช้ยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาการแพ้ยา แผลบริเวณผิวหนังหายช้าลง ยาอาจกดภูมิคุ้มกันจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ผิวหนังบริเวณที่ทายาบางลง เส้นเลือดฝอยขยาย ผิวแดง ผิวเป็นริ้ว ฟกช้ำง่าย อาจเกิดตุ่มแดง

ยาใช้ภายนอกประเภทครีมและขี้ผึ้งอื่น ๆ

  • ยาทากลุ่มแคลซินูริน อินฮิบิเตอร์ (Calcineurin Inhibitors) เช่น ทาโครลิมัส (Tacrolimus) พิเมโครลิมัส (Pimecrolimus) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคผิวหนัง ต้านการอักเสบและลดอาการคัน ซึ่งเป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในกรณีที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ยากลุ่มช่วยให้ผิวนุ่มและเพิ่มความชุ่มชื้น เช่น อีมอลเลียนซ์ (Emollients) มอยซ์เจอน์ไรซิงก์ เอเจ้นท์ (Moisturizing Agents) ซึ่งออกฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้นบริเวณผิวหนังชั้นนอกและช่วยให้หนังกำพร้ากักเก็บน้ำไว้ จึงอาจช่วยลดอาการผิวแห้ง ความระคายเคืองผิวและลดอาการคัน
  • ยาสมานแผล (Astringents) ออกฤทธิ์ช่วยกระชับผิวหนัง ลดการขับเหงื่อ ลดการสูญเสียน้ำ ช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นและลดอาการคัน
  • ยาลดอาการคันผิวหนัง (Antipruritics) ออกฤทธิ์ช่วยลดอาการคันที่เกิดจากโรคผิวหนังอักเสบ ด้วยการต้านฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และอาการคัน

ข้อควรระวัง การใช้ยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาการแพ้ยา ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อบริเวณแผลเปิดหากยาทาภายนอกปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ การใช้ยาเกินขนาด การใช้ยาไม่ถูกต้องตามคำแนะนำของคุณหมออาจทำให้เชื้อดื้อยา

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Itchy skin (pruritus). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/symptoms-causes/syc-20355006. Accessed July 5, 2022

Itchy skin (pruritus)-Diagnosis-treatment. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/diagnosis-treatment/drc-20355010#:~:text=Short%2Dterm%20use%20of%20nonprescription,as%20pramoxine%20(adults%20only). Accessed July 5, 2022

Topical calcineurin inhibitors in dermatology. Part I: Properties, method and effectiveness of drug use. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3834721/. Accessed July 5, 2022

ยาทาภายนอกออกฤทธิ์ที่ไหน. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/539/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99?/. Accessed July 5, 2022

ใช้ยาทาสเตียรอยด์อย่างไรให้ปลอดภัย. https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/01032020-1102.

ยาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/438/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81/. Accessed July 5, 2022

Tricyclic antidepressants และ phenothiazines. https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/TCA#:~:text=antidepressants%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%20phenothiazines-,Tricyclic%20antidepressants%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%20phenothiazines,%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87. Accessed July 5, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/08/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการคันตามตัว เกิดจากอะไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

โรคผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อรา มีอะไรบ้าง และรักษาอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 24/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา