backup og meta

ภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย อาการและการป้องกัน

ภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย อาการและการป้องกัน

ภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย เป็นโรคผิวหนังที่อาจมีลักษณะคล้ายกันลมพิษ โดยมีสาเหตุมาจากการเกาผิวหนัง การติดเชื้อ การแพ้ยา ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการคัน บวมนูน ผิวหนังอักเสบ แม้ภาวะเดอร์มาโทกราเฟียอาจหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที และไม่เป็นอันตราย แต่การทราบถึงอาการและวิธีการป้องกัน อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

ภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย คืออะไร

ภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย (Dermatographia) หรือปฏิกิริยาไวต่อการสัมผัส เป็นภาวะที่อาจคล้ายกับลมพิษ ส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุจากการสัมผัส การเกาผิวหนัง การติดเชื้อ การแพ้ยาหรือสารเคมี ภาวะผิวแห้ง โรคกลาก หรือผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้ามากเกินไป ส่งผลให้เกิดเป็นรอยแดง และมีอาการนูนขึ้นมาตามรอยที่เกา

โดยภาวะเดอร์มาโทกราเฟียอาจไม่อันตราย เพราะส่วนใหญ่รอยแดงนูนจะจางลงได้เองหลังจากผ่านไปประมาณ 30 นาที โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาเพิ่มเติมใด ๆ

อาการของภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย

อาการของภาวะเดอร์มาโทกราเฟียอาจแตกต่างกันออกไป แต่อาการที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้

วิธีป้องกันและการรักษาภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย

หากสงสัยว่าตัวเองอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย อาจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอด้านผิวหนังทันที โดยคุณหมออาจทำการทดสอบด้วยการสัมผัสบนผิวหนัง รวมถึงการตรวจผิวหนังอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุในการเกิดภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย จากนั้นจึงค่อยเริ่มดำเนินการรักษาตามผลการตรวจในลำดับถัดไป

การรักษาภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย

คุณหมออาจกำหนดให้ใช้ยาต้านฮีสตามีนและยาโครโมลิน เพื่อช่วยบรรเทาอาการโรคผิวหนังและอาการแพ้ พร้อมกับให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิบัติ จนกว่าอาการของภาวะเดอร์มาโทกราเฟียจะหายไปหรือมีอาการดีขึ้น ดังนี้

  • รับประทานอาหารโดยเน้นผักและผลไม้สด งดรบประทานเนื้อแดงและอาหารทอด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์
  • เติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะพร้าว เจลว่างหางจระเข้ เชียบัตเตอร์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรนอนหลับประมาณวันละ 8 ชั่วโมง

การป้องกันภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย

สำหรับการป้องกันภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย อาจทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือการทำความสะอาดผิวบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง
  • งดสวมใส่เสื้อผ้าที่อาจทำให้เกิดอาการคัน เช่น เสื้อขนสัตว์
  • ใช้มอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ
  • ไม่ควรใส่เสื้อผ้าแน่น และรัดรูปจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่มีอุณหภูมิร้อนจัด หรือเย็นจัด เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง
  • เช็ดตัวเบา ๆ หลังการอาบน้ำ อย่าเช็ดตัวแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง
  • ปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dermatographia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dermatographia/symptoms-causes/syc-20371411. Accessed July 08, 2021

What Is Dermatographia?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-is-dermatographia. Accessed July 08, 2021

What is Dermatographia?. https://www.manipalhospitals.com/blog/how-to-get-rid-of-dermatographia-skin-disorder. Accessed July 08, 2021

Dermatographia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK531496/. Accessed July 08, 2021

DERMATOGRAPHISM. https://www.aocd.org/page/Dermatographism. Accessed May 16, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/05/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินบำรุงผิว มีอะไรบ้าง

สครับขัดผิว มีประโยชน์อย่างไร และวิธีการทำสครับขัดผิวด้วยตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 16/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา