backup og meta

เครื่องสำอางปลอม ความเสี่ยงในการใช้งานที่ควรรู้

เครื่องสำอางปลอม ความเสี่ยงในการใช้งานที่ควรรู้

ในปัจจุบัน นวัตกรรมเครื่องสำอางและความงามได้พัฒนากันอย่างก้าวกระโดด ยิ่งเป็นเครื่องสำอางที่มีคุณภาพสูง ประสิทธิภาพดี ก็จะยิ่งตามมาด้วยราคาที่สูงมากพอๆ กัน จนอาจทำให้หลายคนท้อใจ และหันไปเลือกใช้ของที่มีคุณภาพต่ำกว่า เช่น “เครื่องสำอางปลอม” ที่มีราคาถูก น่าจับต้องกว่ากันมาก แต่เครื่องสำอางปลอมราคาถูกเหล่านี้ อาจนำมาพร้อมกับอันตรายแฝงที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ อันตรายจากเครื่องสำอางปลอมที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกันวันนี้

เครื่องสำอางปลอม คืออะไร

เครื่องสำอางปลอม ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่เครื่องสำอางที่มีราคาถูก แต่หมายถึงเครื่องสำอางไม่มีคุณภาพ ที่ไม่ผ่านการรับรองจากอ.ย. (องค์การอาหารและยา) หรือเครื่องสำอางที่ใส่สารเคมีต้องห้าม เช่น สารปรอท สารตะกั่ว หรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่อวดอ้างไว้

ตามปกติแล้ว เรามักจะสามารถหาซื้อเครื่องสำอางเหล่านี้ ได้ตามตลาดนัด หรือสั่งซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ตทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเครื่องสำอางปลอมเหล่านี้ มักจะมาในรูปแบบและแพ็คเกจที่คล้ายคลึงกับเครื่องสำอางแบรนด์ดังต่างๆ หรือพยายามจะหลอกผู้ซื้อว่าเป็นเครื่องสำอางแบรนด์ของแท้ที่มีตำหนิ และนำมาขายในราคาที่ถูกกว่า เพื่อหลอกล่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ และหลงซื้อในที่สุด

อันตรายที่แฝงมาพร้อมกับเครื่องสำอางปลอม

ปัญหาที่มาจากการใช้เครื่องสำอางปลอม นอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ของที่ไม่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่ควรแล้ว ในเครื่องสำอางปลอมนั้นยังอาจมีส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย

แพทย์ผิวหนังจากสหรัฐอเมริกาได้ออกมาแจ้งเตือนว่า เครื่องสำอางปลอมนั้นอาจมีส่วนผสมของสารที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สารก่อมะเร็ง สารหนู เบริลเลียม (Beryllium) และแคดเมียม (Cadmium) นอกจากนี้ยังอาจมีเชื้อแบคทีเรียหรือมูลสัตว์ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แล้วนำไปสู่การเกิดแผลเป็น อาการแสบร้อน และทำให้ใบหน้าเสียโฉมได้

มีรายงานว่า การใช้เครื่องสำอางปลอมแต่งหน้าในช่วงบริเวณรอบดวงตา อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเครื่องสำอางปลอมนั้นเข้าสู่ดวงตา แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้

นอกจากนี้ เมื่อช่วงปีค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าว ตรวจพบมูลสัตว์ในเครื่องสำอางปลอมจำนวนมาก ที่วางขายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่ามูลสัตว์เหล่านี้อาจจะปะปนลงไปขณะที่กำลังผลิตเครื่องสำอางปลอม เนื่องจากโดยส่วนมากแล้ว เครื่องสำอางปลอมเหล่านี้มักจะลักลอบผลิตกันในบริเวณโรงรถหรือห้องน้ำ

จะเลือกเครื่องสำอางอย่างไรให้ห่างไกลจากของปลอม

อย่าเห็นแก่ของราคาถูก

จริงอยู่ว่าเครื่องสำอางที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่การเลือกเครื่องสำอางที่มีราคาถูกมากเกินไปจนน่าสงสัย ก็อาจจะได้ไม่คุ้มเสียเช่นกัน โปรดจำไว้ว่าของทุกอย่างล้วนต้องมีต้นทุนของมัน หากเราต้องการใช้ของที่มีคุณภาพดี ก็ต้องใช้วัตถุดิบที่มาราคาด้วยเช่นกัน ยิ่งโดยเฉพาะของที่โฆษณาว่าลดราคาพิเศษ 70% หรือ 80% นี่ก็ยิ่งอันตราย เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเครื่องสำอางเหล่านี้เป็นของแท้หรือของปลอมกันแน่

อ่านฉลากก่อนซื้อ

ก่อนซื้อเครื่องสำอาง ควรจะอ่านฉลากให้ดีก่อนซื้อทุกครั้ง เครื่องสำอางที่ได้คุณภาพนั้นควรจะมีฉลากที่บ่งบอกวัตถุดิบส่วนผสมทั้งหมด โดยเฉพาะฉลากอ.ย. ที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องสำอางนี้ได้รับการรับรองความปลอดภัยในระดับหนึ่งแล้ว โดยเราสามารถนำตัวเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลาก ไปตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ขององค์การอาหารและยา เพื่อดูว่าเลขอ.ย,นั้นเป็นของแท้หรือไม่

เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

พึงระลึกไว้ว่า เครื่องสำอางราคาถูกนั้นอาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเป็นของปลอม เพื่อความมั่นใจ เราจึงควรเลือกซื้อเครื่องสำอางจากร้านที่มั่นใจได้ว่าเป็นของแท้ เช่น ที่เคาน์เตอร์แบรนด์ของเครื่องสำอางยี่ห้อนั้นๆ หรือตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเจอเครื่องสำอางปลอมไปได้อีกมา

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Animal Feces Found in Counterfeit Makeup https://www.webmd.com/beauty/news/20180416/animal-feces-found-in-counterfeit-makeup

Counterfeit Makeup a Rip-Off… and a Health Danger https://www.healthline.com/health-news/counterfeit-makeup-a-health-danger#1

Counterfeit Cosmetics: Too Good to be True? https://cosmeticsinfo.org/blog/counterfeit-cosmetics-too-good-be-true

Mercury, Feces Found in Cheap, Bogus Cosmetics https://www.webmd.com/beauty/news/20191017/mercury-in-creams-feces-in-cosmetics-beware-bargain-beauty-products#1

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/05/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพ้ เครื่องสำอาง อาการและวิธีรักษาที่ถูกต้องเมื่อเกิดอาการแพ้

5 อันตรายต่อสุขภาพดวงตา เมื่อคุณ ทำความสะอาดเครื่องสำอางรอบดวงตา ออกไม่หมด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา