backup og meta

กลากเกิดจากอะไร วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ

กลากเกิดจากอะไร วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ

กลากเป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน เชื้อราจะทำให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณอับชื้น สาเหตุสำคัญของกลาก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร พบบ่อยบริเวณอับชื้น

[embed-health-tool-bmi]

กลากเกิดจากอะไร

กลาก กลุ่มโรคทิเนีย (Tinea) เป็นโรคติดเชื้อราที่เกิดกับผิวหนังชั้นตื้น (Superficial Fungal Infection) ที่พบได้บ่อย ๆ กลาก (Ringworm) จะมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่

  • รอยโรคมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน
  • ผื่นเป็นผื่นสีแดง 
  • ขอบสีแดงชัดเจน 
  • ขอบภายนอกมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังด้านใน 
  • อาจมีขุยหรือสะเก็ดที่ขอบ 
  • ตรงกลางมักเกลี้ยง
  • มีอาการคัน 
  • กลากบางแห่งอาจไม่เห็นเป็นวงหรือมีขอบสีแดง 

สาเหตุสำคัญของกลาก

เชื้อราที่ทำให้เกิดกลาก เป็นเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) เชื้อของกลากเป็นโรคติดต่อจากคนไปสู่คน จากสัตว์สู่คน หรือจากสิ่งแวดล้อมสู่คน ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านสปอร์ราที่อยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้า รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นก็อาจได้รับสปอร์ราเช่นกัน

เชื้อราชนิดนี้จะเติบโตโดยเคราติน (Keratin) ในหนังกำพร้าเป็นอาหาร กลากจะเกิดที่ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ ได้แก่

  1. กลากที่ลำตัว แขนและขา
  2. กลากที่หนังศีรษะและเส้นผม
  3. กลากที่ขาหนีบ รอบอวัยวะเพศและทวารหนัก
  4. กลากที่เล็บ
  5. กลากที่เท้าหรือโรคน้ำกัดเท้า

ส่วนปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลาก เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ หรืออยู่ในบริเวณที่อับชื้น

วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ 

วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ ควรใช้ยาทา โดยการใช้ยาทารักษากลาก ควรใช้กับการรักษากลากที่ผิวหนัง บริเวณลำตัว แขน ขา ขาหนีบและเท้า หากพบว่าเป็นกลากที่เล็บ กลากศีรษะและเส้นผม ควรใช้ยาภายนอก เช่น Benzoic acid และ Whitfield’s ointment ร่วมกับการใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทาน

ตัวอย่างยาทารักษากลาก

  • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) : ทาวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 2-4 สัปดาห์ กลากที่เท้าใช้ 4-6 สัปดาห์
  • โคลไทรมาโซล (Clotrimazole) : ทาวันละ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 4 สัปดาห์ กลากที่ขาหนีบใช้ 2 สัปดาห์
  • ซัลโคนาโซล (Sulconazole) : ทาวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 3 สัปดาห์ กลากที่เท้าทาวันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์
  • เซอร์ทาโคนาโซล (Sertaconazole) : ทาวันละ 2 ครั้ง กลากที่เท้าใช้นาน 4 สัปดาห์
  • ไซโคลพิร็อกซ์ (Ciclopirox) : ทาวันละ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 2-4 สัปดาห์ กลากที่เท้าใช้นาน 1 เดือนขึ้นไป
  • เทอร์บินาฟีน (Terbinafine) : ทาวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 1-2 สัปดาห์ 
  • โทลนาฟเทต (Tolnaftate) : ทาวันละ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 2-4 สัปดาห์ 
  • แนฟทิฟีน (Naftifine) ทาวันละ 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 2-4 สัปดาห์ กลากที่เท้าใช้นาน 4-6 สัปดาห์
  • บิวเทนาฟีน (Butenafine) : ทาวันละ 1 2 ครั้ง ใช้ทากลาก 2 สัปดาห์ กลากที่เท้าใช้นาน 4 สัปดาห์

หากมีอาการคัน เกิดผื่น ไม่ควรซื้อยามาทาเอง ควรพบแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อรับการรักษา และใช้ยาที่ถูกต้องกับอาการของโรค

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

คัน คัน คัน เป็นกลาก หรือเกลื้อนกันแน่นะ

https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/07/149298/ 

accessed Jul 3, 2023

แผ่นพับ เรื่อง กลาก

https://www.iod.go.th/wp-content/uploads/2020/10/brochure_24.pdf 

accessed Jul 3, 2023

หมอรามาฯ แนะหน้าฝนระวัง “โรคเชื้อราบนผิวหนัง”

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AF-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87/ 

accessed Jul 3, 2023

ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากและเกลื้อน

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=549 

accessed Jul 3, 2023

คันแบบนี้ เรียกเชื้อราหรือเปล่านะ

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB/ 

accessed Jul 3, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/03/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง รักษาให้หายขาดอย่างไร

งูสวัดเกิดจากอะไร วิธีป้องกันโรคงูสวัด ทำได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา