backup og meta

หูด ลักษณะ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

หูด ลักษณะ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

หูด เป็นโรคติดต่อผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) โดยไวรัสชนิดนี้จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น จับมือ ใช้สิ่งของร่วมกัน หากผู้ที่มีแผล หรือผิวหนังแตก ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแข็งตัวขึ้นเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ พบได้บ่อยบริเวณนิ้วมือหรือมือ ซึ่งอาจหายได้เองและไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามควรทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่น

หูด คืออะไร

หูด โรคติดต่อผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี โดยไวรัสชนิดนี้จะแพร่กระจายผ่านทางผิวหนังที่เกิดจากบาดแผล หรือรอยแผลต่าง ๆ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแข็งตัวเป็นตุ่มหรือผิวหนังหนานูน โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 

หูดมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ดังนี้

  • หูดที่มือ เป็นหูดที่พบบ่อยมากที่สุด มีลักษณะนูนแข็งเป็นก้อน อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด
  • หูดที่ใบหน้า คือหูดที่มีลักษณะแบน เกิดขึ้นบ่อยบริเวณใบหน้าและหน้าผาก
  • หูดที่ฝ่าเท้า เป็นหูดที่สังเกตได้จากจุดสีดำเล็ก ๆ ผิวมีลักษณะเป็นไตฝังอยู่ในเนื้อ  และอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • หูดบนอวัยวะเพศ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสูง มักเกิดขึ้นบริเวณช่องคลอด อวัยวะเพศ และทวารหนัก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง
  • หูดใต้นิ้วมือหรือนิ้วเท้า หูดเหล่านี้อยู่รอบ ๆ หรืออยู่ใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า 

สาเหตุของการเกิดหูด

สาเหตุของการเกิดหูด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไป และแพร่กระจายติดต่อกันผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น จับมือ ใช้สิ่งของร่วมกัน หากผู้ที่มีแผล หรือผิวหนังแตก ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ นำไปสู่การเกิดหูดได้ง่ายขึ้น

ลักษณะของหูด

ลักษณะของหูดสามารถสังเกตได้จาก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ดังนี้

  • เป็นตุ่ม หรือก้อนนูนแข็ง บางประเภทอาจก่อให้เกิดเป็นผิวหนังแข็งแบนราบ
  • มีสีเนื้อ สีขาว สีชมพู และสีเข้ม
  • ผิวหนังหยาบ
  •  จุดสีดำ ที่เกิดจากเส้นเลือดอุดตัน

วิธีการรักษาหูด

วัตถุประสงค์ของการรักษาหูด คือการกำจัดหูดออก และกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่อาจแทรกซ้อนเข้ามา โดยคุณหมออาจแนะนำการรักษาหูดด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • ยาลอกชั้นผิว เป็นยาที่มีส่วนประกอบของกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) นำมาใช้เพื่อขจัดความแข็งของผิวหนังของหูดออกทีละเล็กน้อย
  • การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy) คุณหมออาจใช้ไนโตรเจนเหลว ทำให้เนื้อเยื่อรอบหูดตาย ซึ่งอาจทำให้หูดหลุดออกภายใน 1 สัปดาห์ ถึงอย่างไรการรักษาด้วยวิธีนี้อาจส่งผลข้างเคียงให้ผิวพอง ผิวเปลี่ยนสี จากความเย็นได้
  • การผ่าตัด คุณหมออาจผ่าตัดนำหูดออก แต่อาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นบริเวณผ่าตัด
  • เลเซอร์ การรักษาด้วยการเลเซอร์ อาจทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กไหม้ และเนื้อเยื่อตายในที่สุด จนหูดอาจหลุดออกมา

วิธีป้องกันหูด

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสจนนำไปสู่การเกิดหูด มีดังนี้

  • ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดไวรัสออกจากผิวหนังถึงแม้ว่าจะมองไม่เห็นก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่เป็นโรคหูด และไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ป้องกันผิวแตก หรืออุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดแผล รอยถลอก เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น
  • เลิกพฤติกรรมการกัดเล็บ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดแผลรอบนิ้ว ซึ่งเป็นจะช่องโหว่ทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นผ่านทางปากโดยตรง
  • สวมใส่รองเท้าทุกครั้งเมื่อไปในพื้นที่ที่โดนน้ำ เช่น บริเวณสระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำสาธารณะ

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Visual Guide to Warts. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-warts. Accessed on September 29, 2021.

Common warts. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-warts/symptoms-causes/syc-20371125. Accessed on September 29, 2021.

HOW TO HEAL WARTS MORE QUICKLY AND PREVENT NEW ONES. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/warts-heal. Accessed on September 29, 2021.

Warts and verrucas. https://www.nhs.uk/conditions/warts-and-verrucas/. Accessed on September 29, 2021.

How to get rid of warts. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/how-to-get-rid-of-warts. Accessed on September 29, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/03/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

หูดข้าวสุก เกิดจากอะไร และป้องกันได้อย่างไร

หูดฝ่าเท้า รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา