หูดที่นิ้ว คืออาการหนึ่งของโรคหูด ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) ทำให้มีตุ่มเนื้อที่นิ้วมือ อาจเป็นตุ่มก้อนเดี่ยวหรือกลุ่มก้อน ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัด การบำบัดเย็น การจี้ออกด้วยความร้อน
[embed-health-tool-bmr]
คำจำกัดความ
หูดที่นิ้ว คืออะไร
หูดที่นิ้ว คือ ตุ่มเนื้อที่ขึ้นบริเวณนิ้วมือ เป็นอาการหนึ่งของโรคหูดซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งแพร่กระจายผ่านการสัมผัสระหว่างบุคคล รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ เสื้อผ้า เชื้อโรคจะทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวรวดเร็วผิดปกติ จนผิวหนังกลายเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อ ซึ่งมักจะแสดงอาการหลังจากติดเชื้อประมาณ 2-6 เดือน โรคหูดไม่สามารถรักษาให้หายได้ในทันที แต่ร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อโรคจนหูดหายไปเองซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 ปี และอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
หูดที่นิ้ว อันตรายไหม
อาการ
อาการของหูดที่นิ้ว
หูดที่นิ้วโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้
- เป็นตุ่มหรือก้อนเนื้อบริเวณนิ้วมือ
- ตุ่มมักมีสีเดียวกับผิวหนัง แต่บางครั้งอาจเป็นสีอื่น ๆ เช่น เทา ชมพู น้ำตาล
- ผิวตรงที่เป็นหูดหยาบและขรุขระ
- มีอาการคัน และอาจมีเลือดออกบริเวณก้อนหูด
- หูดที่นิ้วอาจทำให้ผิวหนังโดยรอบระคายเคืองและหนาขึ้น
ทั้งนี้ หูดแบบอื่นที่อาจพบได้บริเวณนิ้วมือ ได้แก่
- หูดคนขายเนื้อ (Butcher’s Warts) มีลักษณะเหมือนหูดทั่วไป แต่ขนาดมักใหญ่กว่า และผิวหนังบริเวณที่เป็นหูดจะขรุขระกว่า มักพบในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเนื้อหรือปลาที่ไม่สวมถุงมือขณะชำแหละหรือหยิบจับชิ้นเนื้อ
- หูดจมูกเล็บ (Periungual and Subungual Warts) เป็นหูดที่พบบริเวณซอกเล็บมือ มักเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่กี่ตุ่ม ก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนในภายหลัง ผู้ที่ชอบกัดเล็บหรือเป็นเล็บขบจะเสี่ยงเป็นหูดจมูกเล็บได้มากกว่า ทั้งนี้ หากไม่รักษา เชื้อของหูดจมูกเล็บจะแพร่กระจายเข้าไปใต้เล็บมือ ทำให้ผิวหนังติดเชื้อ และเสียหายอย่างถาวร เช่น เล็บหลุด
สาเหตุ
สาเหตุของหูดที่นิ้ว
อย่างไรก็ตาม ร่างกายของแต่ละคนตอบสนองและมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชพีวีไม่เท่ากัน ในบางรายแม้จะติดเชื้อเอชพีวีแต่ก็อาจไม่ก่อให้เกิดโรคหูด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้
โดยทั่วไปโรคหูดมักพบในเด็ก ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) และผู้ที่ผ่านการปลูกถ่ายอวัยวะ
เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
โรคหูดมักหายได้เองภายใน 2-3 ปี แต่หากมีตุ่มเนื้อที่นิ้วซึ่งเป็นอาการของหูดที่นิ้ว รู้สึกคัน มีเลือดออก ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง รวมทั้งหากมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ
- หูดทำให้เกิดความเจ็บปวด แม้จะรับประทานยาแก้ปวด แต่อาการก็ไม่ทุเลาลง
- หูดเปลี่ยนสี ผิวหนังตรงที่เป็นหูดกลายเป็นสีเข้มหรืออ่อนกว่าผิวหนังบริเวณรอบ ๆ
- หูดรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของใช้ในชีวิตประจำวัน เขียนหนังสือไม่ถนัด ขับรถไม่สะดวก
- หูดเกิดขึ้นจำนวนมาก หากปริมาณของหูดที่นิ้วแบ่งตัวอย่างรวดเร็วผิดปกติ อาจแสดงถึงอาการติดเชื้อ
นอกจากนี้ ในกรณีพบตุ่มเนื้อบริเวณนิ้วมือ แต่ไม่แน่ใจว่าใช่หูดหรือไม่ ควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุและระบุอาการของโรคที่เป็นให้ชัดเจน
การวินิจฉัยหูดที่นิ้ว
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยหูดที่นิ้ว
คุณหมอจะตรวจหูดที่นิ้วด้วยตาเปล่า หรือตัดชิ้นส่วนบริเวณที่เป็นหูดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อระบุสาเหตุ อาการของโรค และการรักษาและดูแลตัวเองที่เหมาะสม หรือหากพบเชื้อโรคหรืออาการแทรกซ้อนอื่น จะได้หาวิธีรักษาที่ถูกต้อง
การรักษาหูดที่นิ้ว
- ลอกผิวหูดออกทีละน้อย ด้วยกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของยาน้ำสำหรับใช้ภายนอก โดยผู้ป่วยต้องแช่นิ้วที่เป็นหูดในกรดซาลิไซลิก หรือทายา เจล หรือขี้ผึ้งบริเวณที่เป็นหูด จากนั้นค่อย ๆ ตะไบหรือขูดผิวบริเวณที่เป็นหูดออกทีละนิด ทำแบบนี้วันละ 1-2 ครั้งติดต่อกันจนกว่าหูดจะหายไป
- บำบัดด้วยความเย็น (cryotherapy) หรือการสเปรย์หูดและบริเวณรอบ ๆ ด้วยไนโตรเจนเหลว เพื่อให้เกิดแผลพุพองเนื่องจากความเย็น แล้วปล่อยให้ผิวหนังสมานตัวเอง เมื่อผิวหนังส่วนที่เป็นแผลแห้งสนิท ผิวหนังบริเวณที่เป็นหูดจะถูกลอกออกไป ทั้งนี้ การบำบัดด้วยความเย็นจำเป็นต้องทำมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อค่อย ๆ กำจัดหูดให้หายไป แต่ควรเว้นระยะห่าง เพื่อให้ผิวหนังได้พักจากบาดแผลผุพอง
- จี้หูดด้วยแสงเลเซอร์ หรือการจี้เส้นเลือดรอบ ๆ หูดด้วยความร้อน เพื่อให้ติ่งเนื้อของหูดที่นิ้วหลุดออก
- ผ่าตัด หูดที่นิ้วสามารถผ่าตัดออกได้ ทั้งนี้ คุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยโดยดูจากจำนวนและขนาดของหูดที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่วิธีนี้อาจมีผลข้างเคียง คือ เกิดแผลเป็นบริเวณที่รักษา
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
คำแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นหูดที่นิ้วได้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหูด ทั้งของตัวเองและของผู้อื่น เนื่องจากเชื้อเอชพีวีสามารถแพร่กระจายไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และระหว่างบุคคลได้
- หลีกเลี่ยงการกัดเล็บหรือผิวหนังรอบ ๆ หูดที่นิ้วมือ เนื่องจากเชื้อเอชพีวีสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่ถูกกัดหรือเป็นแผล
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ เสื้อผ้า ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากอาจเป็นพาหะของเชื้อเอชพีวี
- ฉีดวัคซีน สำหรับป้องกันไวรัสเอชพีวี เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ
- รักษาความสะอาด บริเวณนิ้วมือและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่เสมอ และดูแลเสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่มให้สะอาดก่อนสวมใส่