backup og meta

อาร์บูติน คืออะไร ช่วยดูแลปัญหาผิวได้หรือไม่

อาร์บูติน คืออะไร ช่วยดูแลปัญหาผิวได้หรือไม่

สาวๆ หลายคนที่กำลังหาทางออกให้กับปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ คงคุ้นเคยกับสารตัวหนึ่งชื่อว่า อาร์บูติน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแวดวงความงามช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นสารที่ผ่านการทดสอบและได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ผิวหนังว่า สามารถยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานินต้นตอของ ฝ้า กระ จุดด่างดำ ได้อย่างตรงจุด มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย แต่ด้วยราคาที่แพงทำให้ไม่นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์หรือหากมีก็ราคาค่อนข้างสูง แต่ทาง Hello คุณหมอ ต้องขอกระซิบว่าถึงราคาจะสูงหน่อยแต่ผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่าคุ้มราคาแน่นอน 

อาร์บูติน คืออะไร 

อาร์บูติน (Arbutin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ ไฮโดรควิโนน เอ ดี กลูโคไซน์ (Hydroquinone-a-D glucoside) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ใช้ในวงการแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษาอาการผิดปกติของเม็ดสีเมลานินบนผิวหนังที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเนื่องจากได้รับยอมรับและทดสอบว่าเป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งการผลิตเม็ดสีที่ปลอดภัย

การทดสอบ โดยให้เจ้าสารตัวนี้ในหนูทดลองพบว่าไม่เกิดความผิดปกติขึ้น เพราะสารตัวนี้แตกตัวเป็นกลูโคสและไฮโดรควิโนนในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย อาร์บูตินจึงเข้ามาทดแทนสารปรับสีผิวอย่างไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ที่เป็นอันตราย หากใช้ในปริมาณมากเกินไปและห้ามใช้ในบางประเทศ สาวๆ จึงมั่นใจได้ว่าการใช้อาร์บูตินในการดูแลผิวพรรณไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากสาวๆ ต้องการสวยอย่างปลอดภัยอาร์บูตินถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีทีเดียว 

อาร์บูตินมาจากไหน

อาร์บูตินเป็นสารสกัดจากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นโดยเฉพาะในพืชตระกูลเบอร์รี่ พบมากในพืชเมืองหนาว เช่น แบร์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แครนเบอรรี่ มัลเบอร์รี่ ลูกแพร์ สารสกัดอาร์บูตินที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดมากจากเมืองในแถบเมืองหนาวเป็นส่วนใหญ่ เช่น ยุโรป อเมริกาตอนเหนือ แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้อาร์บูตินมีราคาค่อนข้างสูงและจัดอยู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ราคาแรง แต่เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพแล้วต้องบอกว่าคุ้มค่ากับการลงทุนที่สุด 

อาร์บูตินทำงานอย่างไร

การทำงานของสารอาร์บูตินที่ส่งผลต่อการลดความผิดปกติของสีผิวบนผิวหน้าที่ก่อให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ คือการเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ไทโรซิเนส (Ty-rosinase) เอมไซม์ตั้งต้นในกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน อีกส่วนหนึ่งคือการทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะอนุมูลไฮดรอกซิลที่เกิดขึ้นในร่างกายที่เป็นสารสำคัญในการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน เป็นการหยุดยั้งการเกิดเม็ดสีที่ปกติตั้งแต่ต้นตอของปัญหาก่อนที่จะปรากฏร่องรอยบนผิวหน้าของเรา

กระบวนการทำงานของเจ้าสารตัวนี้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการแก้ไขปัญหากวนใจของสาวๆ โดยเฉพาะในเมืองร้อนอย่างประเทศไทยที่ต้องเผชิญความร้อนและแสงแดดจัดตัวการของปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ 

ตัวช่วยปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ 

ฝ้า กระ จุดดำด่าง เป็นปัญหาหนักใจของสาวๆ โดยเฉพาะในประเทศที่แดดร้อนจัดอย่างประเทศไทย เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าแสงแดดเป็นตัวการที่ทำให้ปัญหา นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย อาการบาดเจ็บ และการอักเสบของผิว ล้วนเป็นสาเหตุของปัญหา

การเพิ่มการสร้างเม็ดสีเมลานินที่มากเกินไปในบางจุดที่มีอาการ ทำให้ในบางบริเวณของผิวที่สร้างเม็ดสีเมลานินมากกว่าจุดอื่นเกิดเป็น ฝ้า กระ จุดด่างดำ ที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่ตามร่องรอยการเกิด ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของรักษาอาการเหล่านี้คือการใช้สารไฮโดรควิโนน แต่สารนี้มีความอันตรายอย่างมากจึงต้องมีการควบคุมปริมาณการใช้อย่างเหมาะสม

เมื่อความสวยต้องมาพร้อมความปลอดภัยของร่างกาย แวดวงความงามจึงมีการนำอาร์บูตินสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งเอมไซม์ไทโรซิเนสอย่างมีประสิทธิภาพแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ อาร์บูตินจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากสาวๆ ที่ใฝ่ฝันจะมีผิวที่เรียบเนียนปราศจากร่องรอย 

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่อาร์บูตินจะได้รับความนิยมอย่างมากในวงการความงามเนื่องจากได้รับการยอมรับจากแพทย์ผิวหนังและนักวิทยาศาสตร์ถึงประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานินต้นตอของการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ได้อย่างยอดเยี่ยม แม้ราคาที่สูงของเจ้าสารสกัดตัวนี้แต่เมื่อเทียบกับผลลัพธ์และความปลอดภัยที่ได้รับแล้วเรียกได้ว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนมาก

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hydrolysis of arbutin to hydroquinone by human skin bacteria and its effect on antioxidant activity. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18789053. Accessed on June 13, 2018.

Arbutin: mechanism of its depigmenting action in human melanocyte culture. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8632348. Accessed on June 13, 2018.

Alleviation effect of arbutin on oxidative stress generated through tyrosinase reaction with L-tyrosine and L-DOPA. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25297374. Accessed on June 13, 2018.

Liver function and DNA integrity in hepatocytes of rats evaluated after treatments with strawberry tree (Arbutus unedo L.) water leaf extract and arbutin. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29874937. Accessed on June 13, 2018.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2022

เขียนโดย ศศวัต จันทนะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผิวสวย ด้วยกรด เป็นไปได้จริงหรือ และมีกรดอะไรบ้าง

แต่งหน้าจัด ส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา