ผื่นผิวหนัง (Skin Rash) เป็นความผิดปกติของสีผิวและลักษณะของผิวที่เกิดจากการอักเสบ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ ผื่นผิวหนังมีหลายประเภท ส่งผลต่อผู้ป่วยทุกวัย แต่อาจเกิดในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย อย่างไรก็ตาม อาการนี้สามารถรักษาได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
[embed-health-tool-bmr]
คำจำกัดความ
ผื่นผิวหนัง คืออะไร
ผื่นผิวหนัง (Skin Rash) เป็นความผิดปกติของสีผิวและลักษณะของผิว ที่เกิดจากการอักเสบหรือจากสาเหตุอื่น ๆ ผื่นผิวหนังมีหลายประเภท ได้แก่
- โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema)
- โรคอีสุกอีใส
- โรคเริม
- ผดร้อน (Heat rash)
- ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)
- โรคลายม์ (Lyme disease)
- ลมพิษ
อาการนี้เกิดขึ้นทั่วไป อาจเกิดในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย ส่งผลต่อผู้ป่วยทุกวัย อย่างไรก็ตาม อาการนี้สามารถรักษาได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง
อาการ
อาการของผื่นผิวหนัง
อาการทั่วไป ได้แก่
- คัน
- ผิวหนังแดง
- ลักษณะผิวหนังหนาและเหมือนหนังสัตว์ อันเนื่องมาจากการเกาจากเหตุผิวแห้ง เป็นเกล็ดหรือบริเวณผิวเกาะเป็นแผ่นแข็ง
- เกิดตุ่มหนอง
- ผิวหนังติดเชื้อ
อาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ควรพบหมอเมื่อใด
คุณควรพบหมอหากเกิดอาการดังต่อไปนี้
- อาการผื่นรุนแรงขึ้น
- หากมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ตุ่มเลือดออก บวม ผิวหนังลอก มีไข้ ปวดตัว ปวดข้อ และอื่น ๆ
- หากเกิดอาการเจ็บบริเวณผื่น
- หากมีตุ่มใสขนาดใหญ่ใกล้บริเวณที่เกิดผื่น
- หากอาการผื่นทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ หรือรบกวนการนอนหลับ
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนเกิดอาการต่างกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาที่ดีที่สุด
สาเหตุ การเกิดผื่นผิวหนัง
การเกิดผื่นผิวหนัง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ภูมิแพ้
- การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
- แมลงกัดต่อย
- แพ้พืชบางชนิด
- ความเครียด
- แพ้มลภาวะ
- การติดเชื้อรา
- ความร้อน
- โรคบางชนิด เช่น โรคอีสุกอีใส หรือ โรคงูสวัด
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
ปัจจัยเสี่ยง
ประวัติการแพ้หรืออาการหอบหืดที่รุนแรงขึ้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงของ การเกิดผื่นผิวหนัง นอกจากนี้ การอยู่นอกบ้านสามารถเพิ่มโอกาสการเกิด ผื่นผิวหนัง จากพืชหรือเเมลงมีพิษได้
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัย
อาการผื่นผิวหนังสามารถบ่งชี้ได้โดยการตรวจผิวหนังชั้นนอก แพทย์ผิวหนังจะประเมินประเภทของผื่นตามลักษณะที่ปรากฎ ความหนา สีและขนาด อาการกดเจ็บ และสาเหตุของการเกิดผื่นบนร่างกาย
การรักษา
อาการผื่นผิวหนังส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง และสามารถรักษาให้หายได้ เน้นการรักษาอาการสำหรับผื่นผิวหนังทั่วไป อาจต้องมีการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ในกรณีรุนแรงและผื่นลามอย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยาบรรเทาอาการ เช่น ยาอะเซตามิโนเฟนไอบูโพรเฟน จากร้านขายยาทั่วไป ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้ยา และปฏิบัติตามคำแนะนำในใบสั่งยา ห้ามเพิ่มปริมาณยา หรือระยะเวลาในการใช้ยา เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ยาเหล่านี้ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและตับ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยคุณรับมือกับอาการนี้ ได้แก่
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งก่อภูมิแพ้
- ทำให้ผิวหนังที่เป็นผื่นเย็นลง
- แช่บริเวณที่เป็นผื่นในคอลลอยดัลโอ้ตมีลผสมกับน้ำอุ่น
- ทาครีมแก้คัน เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone) หรือคาลาไมน์โลชั่น
- สวมเสื้อผ้าสบาย ๆ
หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ