backup og meta

กินแล้วนอน อันตรายต่อสุขภาพที่อาจคาดไม่ถึง

กินแล้วนอน อันตรายต่อสุขภาพที่อาจคาดไม่ถึง

กินแล้วนอน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายมีปัญหาในการจัดการกับอาหารที่เพิ่งจะรับประทานเข้าไป จนอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น อาการแสบร้อนกลางหน้าอก อาการกรดไหลย้อน รวมถึงโรคหลอดเลือดในสมอง

ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมการกินแล้วนอนทันที

สำหรับปัญหาสุขภาพที่อาจจะมาพร้อมกับพฤติกรรมกินแล้วนอนทันที อาจได้แก่

อาการแสบร้อนกลางอก

อาการแสบร้อนกลางอก เป็นความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร และลุกลามไปยังบริเวณกลางอกและในลำคอ อาการนี้เกิดจากระดับกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการนอนทันทีหลังจากกินอาหาร

อาการกรดไหลย้อน

อาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหาร ที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารปิดไม่สนิท ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับสู่ลำคอ การนอนราบทันทีหลังจากกินอาหาร เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการนี้ หากกรดยังตกค้างอยู่ เยื่อเมือกบุผิวอาจถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะได้

โรคหลอดเลือดสมอง

ผลวิจัยเผยว่า การกินแล้วนอนทันที อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยนักวิจัยได้ศึกษาผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 500 คน พบว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มวิจัย เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และอีกครึ่งหนึ่งมีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ที่เว้นช่วงหลังจากกินอาหารนานที่สุด จึงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองน้อยที่สุด

แม้ว่าการวิจัยนี้ ไม่ได้แสดงถึงสาเหตุแน่นอนที่เกี่ยวข้องกับอาการเหล่านี้ แต่นักวิจัยเชื่อว่า อาการกรดไหลย้อนอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากกรดไหลย้อนอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง กระบวนการย่อยอาหารยังส่งผลต่อความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการเกิดอาการหลอดเลือดในสมอง

ควรรอนานแค่ไหนถึงนอนได้

โดยทั่วไป หลังกินอาหารเสร็จควรรอ 2-3 ชั่วโมงจึงค่อยล้มตัวลงนอน แต่หากเป็นอาหารมื้อใหญ่กว่าปกติ เช่น บุฟเฟต์ ก็อาจต้องรอนานกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบย่อยอาหารได้ย่อยอาหารที่กินเข้าไป และให้อาหารที่ย่อยแล้วไหลลงสู่ลำไส้เล็กก่อน วิธีนี้อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตอนนอน เช่น กรดไหลย้อน นอนไม่หลับ และจะช่วยให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สิ่งอื่นที่ไม่ควรทำหลังกินอาหาร

สูบบุหรี่

การศึกษาหลายชิ้นเปิดเผยว่า การสูบบุหรี่หลังการกินอาหารทันที เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดถึง 10 เท่า

อาบน้ำ

การอาบน้ำหลังมื้ออาหาร อาจทำให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เพราะเมื่ออาบน้ำเลือดจะสูบฉีดไปทั่วร่างกาย ไปยังมือและเท้า ดังนั้น การอาบน้ำจึงทำให้เลือดไม่ถูกส่งไปยังระบบย่อยอาหาร หากต้องการอาบน้ำ ควรรออย่างน้อย 40 นาที หลังจากกินอาหาร

กินผลไม้

ควรรับประทานผลไม้ก่อนมื้ออาหาร 1-2 ชั่วโมง หากรับประทานผลไม้ทันทีหลังจากรับประทาน อาจทำให้มีอาการท้องอืดได้

ดื่มชา

ความเป็นกรดในชา ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย และทำให้ร่างกายย่อยโปรตีนได้ยากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลงด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาหลังกินอาหาร

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is It Bad To Sleep After Eating?. https://www.thesleepjudge.com/is-it-bad-to-sleep-after-eating/. Accessed May 9, 2017.

7 Reasons You Constantly Feel Tired After Eating—and How to Get Your Energy Back. https://www.prevention.com/health/sleep-energy/a36689062/tired-after-eating/. Accessed October 28, 2021

How Long Should You Wait Before Going To Bed After Dinner?. https://pharmeasy.in/blog/how-long-should-you-wait-before-going-to-bed-after-dinner/. Accessed October 28, 2021

Sleeping Soon After Dinner May Raise Stroke Risk. https://www.webmd.com/stroke/news/20110830/sleeping-soon-after-dinner-may-raise-stroke-risk. Accessed October 28, 2021

Here’s Why You Should Not Hit The Bed Soon After Having Dinner. https://food.ndtv.com/food-drinks/heres-why-you-should-not-hit-the-bed-soon-after-having-dinner-1849680. Accessed October 28, 2021

Sleep and Overeating. https://www.sleepfoundation.org/physical-health/sleep-and-overeating. Accessed October 28, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/10/2021

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดน้ำหนัก ด้วยเมนูเดิมทุกวัน ช่วยได้จริงหรือ

เรอบ่อย หลังกินอาหาร เพราะไม่ย่อยหรือเป็นกรดไหลย้อน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 28/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา