backup og meta

ตรวจมวลกระดูก อีกวิธีการรับมือกับภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิง

ตรวจมวลกระดูก อีกวิธีการรับมือกับภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิง

กระดูกมีความสำคัญต่อร่างกายมากกว่าที่คิด เพราะเป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยปกป้องอวัยวะภายใน เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว ร่างกายสูญเสียกระดูกและสร้างกระดูกใหม่อยู่ตลอด แต่ยิ่งมีอายุมากขึ้น การสร้างกระดูกใหม่ก็จะยิ่งทำได้ยาก และกระดูกก็อ่อนแอลงด้วย การ ตรวจมวลกระดูก โดยเฉพาะในผู้หญิง จึงถือเป็นการตรวจร่างกายที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาสุขภาพกระดูกได้ทัน โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน

ตรวจมวลกระดูก คืออะไร

การตรวจมวลกระดูกหรือการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry) เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับความนิยม เพราะช่วยให้รู้ว่าสุขภาพของกระดูกมีความแข็งแรงในระดับใด และมีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่

ตรวจมวลกระดูก มีวิธีทดสอบอย่างไร

การตรวจมวลกระดูก คือการวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยวิธีที่เรียกว่า DXA scan โดยคำว่า “DEX” ย่อมาจาก “Dual Energy Xray Absorptiometry” เป็นการเอกซเรย์รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้รังสีเอกซ์ในระดับต่ำมากเพื่อวัดความหนาแน่นของกระดูก การสแกน DEXA จะวัดปริมาณแร่ธาตุบางชนิดในกระดูก เช่น สะโพก กระดูกสันหลัง ข้อมือ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจมวลกระดูก

การทดสอบความหนาแน่นของกระดูกนั้นง่าย รวดเร็ว และไม่เจ็บปวด ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก แต่ก่อนเข้ารับการตรวจมวลกระดูก ควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  • ก่อนการทดสอบตรวจมวลกระดูก สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ปกติ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารเสริมพวกแคลเซียม วิตามินรวม และยาลดกรด
  • พยายามสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ใส่สบาย และหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีซิป เข็มขัด หรือกระดุม และไม่ควรใส่เครื่องประดับ รวมถึงควรนำวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น กุญแจ เหรียญ ออกจากกระเป๋าด้วย
  • หากกำลังตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพราะแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับรังสีในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์เป็นอันตราย

ผลการทดสอบความหนาแน่น

ผลการทดสอบความหนาแน่นของกระดูก โดยใช้คะแนน T-score และ Z- score

T-score

  • T-score แสดงให้เห็นว่าความหนาแน่นของกระดูกว่าสูง หรือต่ำ
  • T-score ที่ -1.0 ขึ้นไป คือ ความหนาแน่นของกระดูกปกติ เช่น 0.9
  • T- score ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5 หมายความว่า ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ หรือภาวะกระดูกพรุน เช่น -1.1 ถึง 1.6
  • T-score ต่ำกว่า -2.5 หรือต่ำกว่า คือ วินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น -2.6 ถึง 3.9

ยิ่ง T-score ต่ำเท่าใด ความหนาแน่นของมวลกระดูก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนด้วย

Z- score

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ Z-score มากกว่า T-score สำหรับเด็ก วัยรุ่น ผู้หญิงยังมีรอบเดือน และผู้ชายอายุน้อยกว่า หาก Z-score สูงกว่า -2.0 ถือว่าความหนาแน่นของมวลกระดูกอยู่ในระดับปกติ

ภาวะกระดูกพรุน โรคกระดูกที่ผู้หญิงพึงระวัง

กระดูกพรุน เป็นโรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อม และบางลง เนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก ซึ่งโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่ก็เสี่ยงทำให้กระดูกแตก หรือหักง่ายขึ้น

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กระดูกแข็งแรง
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม และวิตามินดี
  • เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น เลิกบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


ความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ หรือมีภาวะกระดูกพรุนไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคกระดูกพรุน แต่หมายถึงว่าอาจเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้น โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิงเนื่องจากหมดประจำเดือน ดังนั้นไม่ต้องกังวลไป เพียงแต่ควรระมัดระวังเวลายกของ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสี่ยงส่งผลเสียต่อกระดูก

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bone Density Exam/Testing. https://www.nof.org/patients/diagnosis-information/bone-density-examtesting/. Accessed June 30, 2021

Bone density test. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/bone-density-test/about/pac-20385273. Accessed June 30, 2021

DEXA (DXA) Scan: Bone Density Test. https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/10683-dexa-dxa-scan-bone-density-test. Accessed June 30, 2021

Osteoporosis. https://www.nhs.uk/conditions/osteoporosis/. Accessed June 30, 2021

Osteoporosis. https://www.nia.nih.gov/health/osteoporosis. Accessed June 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/03/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหาร และประจำเดือนขาด

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 28/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา