backup og meta

เบาหวาน คัน ช่องคลอด เกี่ยวข้องกันอย่างไร และป้องกันได้อย่างไร

เบาหวาน คัน ช่องคลอด เกี่ยวข้องกันอย่างไร และป้องกันได้อย่างไร

เบาหวาน คัน ช่องคลอด เป็นหนึ่งในอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่อาจส่งผลให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น นำไปสู่การติดเชื้อราในช่องคลอด และทำให้เกิดอาการคันช่องคลอด ตกขาว และมีอาการแสบระหว่างปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-ovulation]

เบาหวาน กับอาการ คัน ช่องคลอด เกี่ยวข้องกันอย่างไร

อาการคันช่องคลอด ในผู้ป่วยเบาหวาน มักจะเกิดจากการติดเชื้อรา โดยปกติผู้หญิงจะติดเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต โดยเกิดจากการติดเชื้อราที่เรียกว่า “เชื้อราแคนดิดา” (Candida) หรือ “ยีสต์” ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอดได้มากกว่าคนทั่วไป

ผลการวิจัยในปี 2556 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อราในช่องคลอดกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้หญิงและเด็กที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดมากกว่าคนปกติทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้มากกว่า เนื่องจากมีระดับไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่ร่างกายใช้ในการเก็บน้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดมากกว่าปกติ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ความเป็นกรดในช่องคลอดก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นการติดเชื้อ

เบาหวาน คัน ช่องคลอด ป้องกันได้อย่างไร

นอกจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเชื้อราในช่องคลอดได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้ารัดรูป
  • สวมชุดชั้นในผ้าฝ้าย
  • หลังการออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ ควรถอดชุดออกและทำความสะอาดร่างกายทันที
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน หรือแช่ในอ่างน้ำร้อน
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้าง หรือใช้สเปรย์ฉีดบริเวณช่องคลอด
  • หากเป็นประจำเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยที่มีกลิ่นหอม

วิธีการรักษาเมื่อติดเชื้อราในช่องคลอด

วิธีการรักษาเชื้อราในช่องคลอดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นวิธีการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดทั่วไป แพทย์อาจจ่ายครีมทาบริเวณช่องคลอด หรือยาเหน็บให้ใช้เป็นเวลา 1-7 วัน เช่น ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ที่มีสรรพคุณป้องกันและรักษาการติดเชื้อรา แต่มีข้อห้ามคือ ห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ ฉะนั้นทางที่ดี คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ยารักษาการติดเชื้อราในช่องคลอด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Frequency of vagınal candida colonization and relationship between metabolic parameters in children with type 1 diabetes mellitus. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24012126/ Accessed on September 10, 2020.

Yeast infection (vaginal). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/symptoms-causes/syc-20378999. Accessed on September 10, 2020.

Candida sp. Infections in Patients with Diabetes Mellitus. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6352194/. Accessed on September 10, 2020.

Diabetes and Thrush. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-thrush. Accessed on September 10, 2020.

Thrush. https://www.diabetes.co.uk/diabetes-complications/diabetes-and-yeast-infections.html. Accessed September 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด ส่งผลยังไงกับคุณแม่ตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา