backup og meta

เทคนิค “กินดี” อาหารช่วยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

เทคนิค “กินดี” อาหารช่วยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

หนึ่งในอาการยอดฮิตที่มักจะพบได้ในผู้สูงอายุ คืออาการ “เบื่ออาหาร” อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารไม่ครบตามพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อย่างเช่นปัญหาการเคี้ยวกลืนที่ทำให้เสี่ยงสำลัก การรับรสสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่ออรรถรสในการทานอาหาร จนทำให้ทานได้น้อยลงและไม่เจริญอาหารในที่สุด รวมไปถึงอาการท้องผูก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

แม้สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่ไม่อาจป้องกันหรือห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่เราอาจสามารถแก้ปัญหาเบื่ออาหารในผู้สูงอายุได้ด้วยเทคนิคง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำตามได้

อาหารเสริมผู้สูงอายุ-อาหารเหลว

ทานน้อยแต่ทานบ่อย เน้นโปรตีน และพลังงานเพียงพอต่อวัน

การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการมีโภชนาการที่ดี โดยร่างกายของแต่ละช่วงวัยก็มีต้องการปริมาณพลังงานที่แตกต่างกันออกไป สำหรับผู้สูงอายุ การทานอาหารครบ 5 หมู่ มีจุดประสงค์เพื่อนำสารอาหารไปซ่อมแซมตามความจำเป็นเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นอาหารผู้สูงอายุควรเป็นอาหารที่เน้นเรื่องคุณภาพและสัดส่วนมากกว่าปริมาณ ทั้งนี้หากร่างกายได้รับอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ไม่ว่าจะมากเกิน หรือน้อยเกินความจำเป็น ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งถือเป็นภัยอย่างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ เพราะอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยได้หลายประการ เช่น ผิวหนังอักเสบ ปวดศีรษะ ภาวะโลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยปริมาณพลังงานที่ผู้สูงอายุควรได้รับ อยู่ที่ 1,400 – 1,800 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน 

อย่างไรก็ตาม อาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้น อาจทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อยลงในแต่ละมื้อ ลองใช้เทคนิค “ทานน้อยแต่ทานบ่อย” ปรับพฤติกรรมการทาน จากเดิม 3 มื้อต่อวัน ลองปรับมาเป็น 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อให้สะดวกต่อการย่อย เหลือเฉลี่ย 233-300 กิโลแคลอรี่ต่อมื้อ เพื่อให้ร่างกายยังคงได้รับพลังงานตามปริมาณที่ต้องการ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ-อาหารเหลว

นอกจากพลังงานแล้ว สารอาหารก็สำคัญ อาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุยังคงมุ่งเน้นไปที่การทานอาหารให้หลากหลาย ที่สำคัญคือครบ 5 หมู่ โดยมี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็น ในขณะที่ เกลือแร่(พืชผัก) วิตามิน(ผลไม้) มีความสำคัญในอันดับรองลงไป 

โปรตีน จัดเป็นสารอาหารกลุ่มที่ร่างกายต้องการเป็นพิเศษ เพราะมีคุณสมบัติช่วยซ่อมแซมและทดแทนส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ โปรตีนจะช่วยสร้างความแข็งแรง และความกระชับให้กล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ทั้งยังส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โปรตีนเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้นการทานโปรตีนอย่างเพียงพอจึงจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และมีกลไกการทำงานที่สมบูรณ์ โดยปริมาณแนะนำบริโภคต่อวันสำหรับผู้สูงอายุคือ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 

ถัดมาคือคาร์โบไฮเดรต อาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอาทิ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ธัญพืชไม่ขัดสี คุณสมบัติความเป็นแป้งที่ยังไม่ขัดสี ทำให้คาร์โบไฮเดรตประเภทนี้มีคุณค่าและสารอาหารที่สูงกว่า ร่างกายจะได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่องและยาวนานจากการค่อยๆ ดูดซึม นอกจากนี้เส้นใยที่มีอยู่ในคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ยังช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายอีกด้วย

แม้ไขมันอาจเป็นสารอาหารที่ฟังดูอันตรายสำหรับผู้สูงอายุ แต่ร่างกายของผู้สูงอายุก็ยังคงต้องการพลังงานจากไขมัน และกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ เพียงแต่ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงควรพิถีพิถันและระมัดระวังในการทานมากเป็นพิเศษ คือควรเลือกทานไขมันจากพืช ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมัน ทั้งโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6  โดยอาจพบได้ใน ถั่ว อะโวคาโด 

เกลือแร่และวิตามิน ยังคงเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการและขาดไปไม่ได้ โดยตัวอย่างวิตามินที่ผู้สูงอายุควรทาน ได้แก่ 

  • วิตามินเอ ช่วยดูแลสายตาไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย จึงสำคัญอย่างยิ่งกับต่อต้านเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง พบได้ใน ผักผลไม้ อาทิ ฟักทอง แครอท ผักโขม มะละกอ
  • วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและเซลล์ระบบสมองและเส้นประสาท พบอยู่ใน ไข่ ปลา และเนื้อสัตว์ เป็นต้น
  • วิตามินซี ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน พบได้ในผักผลไม้หลายชนิด ตัวอย่างผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เข่น บร็อคโคลี่ พริกหวาน ฝรั่ง ส้ม
  • วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายจากการถูกทำลาย พบได้ในวัตถุดิบเช่น ถั่วต่างๆ งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว

ผู้สูงอายุ

เลือกทานอาหารชิ้นเล็ก เคี้ยวง่าย 

เน้นเลือกทานอาหารประเภทลวก ต้ม นึ่ง อบ ที่มีความอ่อนนุ่ม ช่วยให้เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย จะได้ไม่มีปัญหาท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นตามมา หากต้องการให้เคี้ยวสะดวกขึ้นอีก อาจเพิ่มน้ำซุปหรือซอสขลุกขลิกเข้าไป ควรเลี่ยงอาหารรสจัด ซึ่งอาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความจำเป็น รวมถึงอาหารทอด ซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีไขมันสูง อาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย

เลือกดื่มนมที่ไม่มีแลคโตส ทานอาหารที่ไม่มีส่วนประกอบของนม

เลือกดื่มนมที่ไม่มีแลคโตส อย่างเช่นนมถั่วเหลือง รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีส่วนประกอบของนม เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องอืด ถ่ายบ่อย ที่มักเกิดขึ้นหลังจากการดื่มนมวัว เนื่องจากร่างกายผู้สูงอายุอาจไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ดีเหมือนร่างกายของวัยหนุ่มสาว ผู้สูงอายุอาจเลือกดื่มนมถั่วเหลือง หรือนม Lactose-free ที่สำคัญคือควรเป็นนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย

อาหารมื้อหลักเเละอาหารเสริม รสชาติถูกปากเพื่อโภชนาการที่เพียงพอ

รสชาติมีผลต่อการทานเป็นอย่างมาก ความอร่อยจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการทาน ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญความอร่อยนั้น ต้องมาคู่กับประโยชน์ที่ได้รับเป็นสำคัญ 

ปัจจุบันมีอาหารสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงวัยผลิตขึ้นมาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ได้มีแค่แบบผงหรือนมอีกต่อไป แต่มีในรูปแบบซุป รสชาติที่ใกล้กับลิ้นของคนไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเลือกชนิดใดก็ตามควรดูรายละเอียดให้ถี่ถ้วน เน้นอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติเป็นสำคัญ หากเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาสูตรร่วมกับโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยรับประกันเรื่องความครบถ้วนของสารอาหารได้เป็นอย่างดี 

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงวัยในท้องตลาดอย่างเช่น NutriMax อาหารสูตรครบถ้วน ที่พัฒนาสูตรร่วมกับรพ. รามาธิบดี จึงมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย ทั้งยังมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสุขภาพด้วยผลวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ช่วยตอบโจทย์ด้านโภชนาการ  

โดยมีส่วนผสมหลัก ซึ่งเป็นส่วนผสมจากธรรมชาติอยู่ทั้งหมด 4 อย่าง ได้แก่ อกไก่ ฟักทอง ไข่ และน้ำมันรำข้าว ครบถ้วนในเรื่องสารอาหาร โปรตีนสูง ไขมันต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายรวมกว่า 20 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินเอ, ซี, อี และบี 12 ที่จำเป็นต่อร่างกายผู้สูงวัยเป็นอย่างยิ่ง

อาหารสุขภาพ

ปรุงสุกมาในรูปแบบของซุปที่มีเนื้อสัมผัสเนียนละเอียด เคี้ยวสะดวก ทานง่าย ย่อยง่าย จึงถือเป็นอาหารสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย ที่สำคัญคือไม่มีส่วนผสมของนมผง นมวัว หรือแลคโตส ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการท้องอืดในผู้สูงอายุ ทั้งยังทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ ทำให้รสชาติสดใหม่ ถูกปากคนไทย ตอบโจทย์ด้านโภชนาการ และช่วยประหยัดเวลาในการจัดเตรียมอาหารของผู้ดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี อยากฉีกซองแล้วทานเลย อุ่นร้อนก่อนทาน หรือนำไปปรุงอาหารเมนูพิเศษ ก็สามารถเลือกได้ตามชอบ สะดวกสำหรับคนทั่วๆ ไปที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบเช่นกัน

สารอาหารที่มีใน NutriMax อาหารสูตรครบถ้วน สามารถทดแทนอาหารได้ 1 มื้อ ด้วยพลังงาน 278 กิโลแคลอรี่ สอดคล้องกับพลังงานที่ต้องการในแต่ละมื้อของผู้สูงอายุ เหมาะเป็นอาหารมื้อหลัก หรือมื้อรอง หรือเป็นอาหารเสริมผู้สูงอายุก็ได้เช่นกัน สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกอ่านได้ที่ www.nutrimax.co.th 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://phyathai3hospital.com/th/elderly-food-protein/#:~:text=โปรตีนถือเป็นสารอาหาร,สูงอายุมพลังมากขึ้น. Accessed November 15, 2024.

https://www.bumrungrad.com/th/medical-clinics-bangkok-thailand/geriatric/services/nutrition#:~:text=%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%20%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1,%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%20%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99. Accessed November 15, 2024.

https://caregiverthai.com/article-140.html#gsc.tab=0. Accessed November 15, 2024.

https://www.nakornthon.com/article/detail/โภชนาการในผู้สูงอายุรับประทานอย่างไรถึงจะดี. Accessed November 15, 2024.

https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-elderly-weight. Accessed November 15, 2024.

https://www.bangkokhealth.com/articles/อาหารการกินในวัยผู้สูง/. Accessed November 15, 2024.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/12/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย น.พ.สิทธา ลิขิตนุกูล (หมอกอล์ฟ)

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เสริมสร้างความสุขยามสูงวัย

ดูแลผิวผู้สูงอายุ ยังไง ให้ยังสดใสเปล่งปลั่ง


ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย

น.พ.สิทธา ลิขิตนุกูล (หมอกอล์ฟ)

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป · Healthy Weight Center รพ.ไทยนครินทร์


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา