โภชนาการผู้สูงวัย

ปัจจัยหนึ่งที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุก็คือ เรื่องโภชนาการ เพราะการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญมากในการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย แต่นอกจากนี้ เคล็ดลับในการดูแล โภชนาการผู้สูงวัย จะมีอะไรอีกบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่เลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการผู้สูงวัย

สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน โรคข้อเสื่อม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการไม่ได้รับ สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ อย่างเพียงพอ แต่หากผู้สูงอายุได้รับสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของมวลกระดูกได้ ปัญหากระดูกในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น โครงสร้างของกระดูกจะเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอลง เมื่อมีการกระแทกหรือหกล้ม ก็เสี่ยงกระดูกแตกหักได้ง่ายขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงอาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ ไม่ได้รับสารอาหารบำรุงกระดูกอย่างเหมาะสม ทำให้กระดูกสูญเสียแคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ได้ใช้งานกระดูก เช่น ไม่ออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอยู่เสมอ ทำให้อาจสูญเสียมวลกระดูก การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน สำหรับผู้ชาย เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนเพศที่ลดลงอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะสูญเสียแร่ธาตุในกระดูก และส่งผลให้สูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก นอกจากนี้ ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ เช่น ความยืดหยุ่นของข้อต่อน้อยลง เนื่องจากของเหลวที่หล่อลื่นภายในข้อต่อลดลงและกระดูกอ่อนบางลง เส้นเอ็นสั้นขึ้น และสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ข้อต่อรู้สึกตึงและส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ นอกจากจะเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดจากการไม่ออกกำลังกาย ขยับข้อต่อน้อย เป็นต้น จึงส่งผลให้กระดูกอ่อนที่ข้อต่อหดตัวและแข็งขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักพบกับปัญหากระดูก ได้แก่ โรคกระดูกพรุน การสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอลงและแตกหักง่าย โรคกระดูกอ่อน เกิดจากกระดูกขาดวิตามินดี โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนในข้อแตก ทำให้เกิดอาการปวดและตึง สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ สารอาหารบำรุงกระดูก มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความหนาแน่นและความแข็งแรงของมวลกระดูก เพื่อลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคกระดูกต่าง ๆ ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย สารอาหารบำรุงกระดูก เหล่านี้ แคลเซียม แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูกและยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน […]

สำรวจ โภชนาการผู้สูงวัย

โภชนาการผู้สูงวัย

วิธีเพิ่มความอยากอาหาร เมื่อผู้สูงอายุเบื่ออาหาร

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเราก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย สุขภาพที่เคยแข็งแรงก็เริ่มถดถอยลง ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ตามองเห็นไม่ชัด ปวดเมื่อย ข้ออักเสบ หูไม่ได้ยิน และอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ลูกหลานไม่ควรละเลยก็คือ ความอยากอาหารของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งนั่นอาจทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอื่น ๆ ได้ด้วย หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ประสบปัญหา ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร การเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เบื่ออาหาร และวิธีเพิ่มความอยากอาหารแบบที่ดีต่อสุขภาพ อาจช่วยให้ผู้สูงอายุที่คุณรักรับประทานอาหารได้มากขึ้น ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร เป็นเพราะอะไร ผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารน้อยลงอยู่แล้วเป็นปกติ แต่หากคุณสังเกตเห็นว่า อยู่ ๆ ผู้สูงอายุที่บ้านก็รับประทานอาหารน้อยลงมากจนผิดปกติ คุณควรรีบปรึกษาคุณหมอ เพราะอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้น อาจเป็นผลจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ผิดปกติ โรคมะเร็ง การติดเชื้อในปากและลำคอ โรคเหงือก ต่อมน้ำลายมีปัญหา นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิดก็อาจทำให้ผู้สูงอายุปากแห้ง มีรสเหล็กในปาก หรือการรับรสเปลี่ยนไป จนส่งผลให้ไม่อยากรับประทานอาหารได้เช่นกัน แต่หากอาการเบื่ออาหารไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพ หรือการใช้ยา ก็อาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้ได้ด้วย ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็อาจทำให้ไม่อยากอาหารได้ ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) […]


โภชนาการผู้สูงวัย

ฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ช่วยต้านแก่ ต้านโรค

อนุมูลอิสระ เป็นอีกหนึ่งตัวการทำลายเซลล์ ทำให้เราแก่ลงทุกวัน ยิ่งร่างกายเรามีอนุมูลอิสระมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งแก่เร็วขึ้น และเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น แต่วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ก็คือ การบริโภคสารอาหารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “ฟลาโวนอยด์” ที่พบได้ในพืชผักผลไม้หลากหลายชนิด และได้ชื่อว่าเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ชั้นเลิศ ฟลาโวนอยด์ สารจากพืชชั้นเลิศ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มสารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ด้วยกันมากกว่า 6,000 ชนิด และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอล (Flavonols) ฟลาวานอล (Flavanols) หรือ ฟลาวาน-3-ออล (Flavan-3-ols) ฟลาวาโนน (Flavanones) ฟลาโวน (Flavones) ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidin) ฟลาโวนอยด์สามารถพบได้ในผักและผลไม้หลายชนิด ทั้งยังพบในไวน์ ชา ผงโกโก้ และช็อกโกแลตด้วย โดยอาหารแต่ละอย่างก็จะมีฟลาโวนอยด์แต่ละชนิดในความเข้มข้นแตกต่างกันออกไป แหล่งฟลาโวนอยด์ที่คุณหาได้ง่ายๆ คุณสามารถเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ให้กับร่างกายได้ ด้วยการกินอาหารต่อไปนี้ แอปเปิ้ล ในแอปเปิ้ลอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่ชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ภาวะหัวใจวาย โรคต้อกระจก ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ซ้ำ ช่วยควบคุมอาการหอบหืด ทั้งยังบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ด้วย ชาเขียว ชาเขียวมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญที่ชื่อว่า เอพิกัลโลคาเทชิน […]


โภชนาการผู้สูงวัย

สารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหารจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคำว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วสารต้านอนุมูลอิสระที่พูดถึงนั้น คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ถ้าอยากรู้ล่ะก็ ต้องไม่พลาดบทความนี้ของ Hello คุณหมอ  สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร ร่างกายของคนเรานั้นต้องพบเจอกับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ควันพิษ ฝุ่นละออง หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในชีวิตประจำวันมากมาย รวมถึงอนุมูลอิสระ (Free Radicle) ซึ่งเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ที่สามารถพบได้จากหลากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็นควันจากท่อไอเสียรถ ก๊าซต่าง ๆ แสงแดด หรือแม้แต่อาหารการกินที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ก็มีส่วนเพิ่มอนุมูลอิสระด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อโมเลกุลนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปคุกคามระบบภูมิคุ้มกัน หรือทำร้ายเซลล์ในร่างกาย และเมื่อเซลล์ในร่างกายถูกทำร้ายจากอนุมูลอิสระ ก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง ดังนั้นแล้ว เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารเคมีที่จะไปต้านทานกับสารอนุมูลอิสระเพื่อไม่ให้สุขภาพย่ำแย่ สารเคมีดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidants) ที่จะเข้าไปปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายให้รอดพ้นจากการถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ หน้าที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ นั่นก็คือ การช่วยปกป้องเซลล์ของร่างกายไม่ให้ถูกทำลายโดย อนุมูลอิสระ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม