backup og meta

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่าคุณนั้นเริ่มมีพฤติกรรมการนอนหลับที่เปลี่ยนไป เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ชอบสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกเป็นช่วง ๆ หรืออาจได้ยินมาจากคนรอบข้างถึงเสียงกรนที่ดังจนเกินไป คุณอาจจำเป็นต้องขอเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนแรกเริ่มของการเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) ก็เป็นได้

คำจำกัดความ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ คืออะไร

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนประเภทหนึ่ง ซึ่งการหายใจถูกขัดขวางเป็นช่วงๆ ในระหว่างนอนหลับ ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาจส่งผลกระทบต่อสมอง สมองอาจไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ และได้รับผลกระทบจากคุณภาพการนอนที่ไม่ดี ทำให้รู้สึกเหนื่อยระหว่างวัน

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมี 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea) เป็นประเภทที่พบได้บ่อย โดยเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง (Central Sleep Apnea) ไม่ได้เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น แต่เกิดจากความไม่คงที่ในศูนย์ควบคุมการหายใจ ผลคือสมองไม่สามารถส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อทำงานเพื่อการหายใจได้

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ พบได้บ่อยเพียงใด 

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้บ่อยมาก มักเกิดขึ้นในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง ประมาณผู้ชาย 2-3 คนต่อผู้หญิง 1 คน สามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัยแต่เกิดขึ้นได้มากกว่าในผู้ใหญ่ในช่วงอายุกลางคน สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

อาการทั่วไปของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้แก่

  • กรนเสียงดัง
  • ผู้อื่นสังเกตเห็นการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ได้
  • มีอาการตื่นนอนเป็นช่วงๆ ร่วมกับหายใจลำบาก
  • ตื่นนอนโดยมีอาการปากแห้งหรือเจ็บคอ
  • ปวดศีรษะในตอนเช้า
  • นอนหลับยาก (Insomnia)
  • ง่วงนอนมากในตอนกลางวัน (Hypersomnia)
  • มีปัญหาในการทำสมาธิ
  • กระสับกระส่าย

อาจมีอาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลใดๆ เกี่ยวกับอาการหนึ่ง โปรดปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษา

ควรไปพบหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้

  • กรนเสียงดังซึ่งสามารถรบกวนการนอนของผู้อื่นหรือของตนเอง
  • หายใจลำบาก หายใจติดขัด หรือสำลักซึ่งทำให้ตื่นนอน
  • หยุดหายใจเป็นช่วงในระหว่างนอนหลับ
  • มีอาการง่วงซึมมากในตอนกลางวัน
  • อ่อนเพลีย ง่วงนอน กระสับกระส่าย

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้นและ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

  • สำหรับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้น เมื่อกล้ามเนื้อที่คอด้านหลังหย่อนลง ทำให้ทางเดินอากาศแคบลงและปิดทางเดินหายใจ จึงอาจทำให้ออกซิเจนในร่างกายลดลง รู้สึกได้ถึงการไม่สามารถหายใจได้และสมองทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวเพื่อเปิดทางเดินหายใจ การรู้สึกตัวนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นมากเสียจนผู้ป่วยมักจำไม่ได้
  • สำหรับภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง สมองของผู้ป่วยไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่หายใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อไม่หายใจเป็นเวลาสั้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกตัวจากการหายใจลำบากหรือพยายามนอนหลับหรือนอนหลับได้ยาก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เช่น

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้น

  • เพศชาย
  • มีน้ำหนักมาก
  • มีอายุมากกว่า 40 ปี
  • มีความยาวรอบคอมาก มีความยาว 17 นิ้วหรือมากกว่าในผู้ชาย และ 16 นิ้วหรือมากกว่าในผู้หญิง
  • มีต่อมทอนซิลโต ลิ้นโต หรือกระดูกขากรรไกรเล็ก
  • มีประวัติครอบครัวมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux หรือ GERD)
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท (sedatives) หรือยากล่อมประสาท (tranquilizers)
  • การสูบบุหรี่
  • มีอาการคัดจมูก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์เสมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การตรวจเพื่อตรวจหาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้แก่

  • การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ (Nocturnal Polysomnography)
  • การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Tests) เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด อากาศที่หายใจ และรูปแบบการหายใจ

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้น ได้แก่

  • วิธีการใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวกต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)) เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อปล่อยแรงดันอากาศผ่านทางหน้ากากที่วางลงบนจมูกของผู้ป่วยในขณะนอนหลับ
  • วิธีการใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวกสองระดับ (Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP) เป็นการใช้เครื่องมือที่คล้ายกับเครื่องมือ CPAP แต่ส่งผ่านแรงดันอากาศที่มากกว่าเมื่อหายใจเข้าและส่งผ่านแรงดันอากาศที่น้อยกว่าเมื่อหายใจออก
  • วิธี Expiratory Positive Airway Pressure (EPAP) เป็นการใช้เครื่องมือขนาดเล็กและใช้ครั้งเดียวก่อนเข้านอนที่ทำให้หายใจเข้าได้คล่อง แต่เมื่อหายใจออก อากาศต้องผ่านรูขนาดเล็กในลิ้นเปิดปิด
  • เครื่องมือที่ใช้ทางปาก เป็นการใช้เครื่องมือที่ใช้ทางปากเพื่อทำให้ลำคอเปิด เครื่องมือที่ใช้ทางปากอาจใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องมือ CAPA
  • การผ่าตัด ใช้หลังจากการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล ได้แก่ การผ่าตัดนำเนื้อเยื่อออก ซึ่งเนื้อเยื่อถูกนำออกไปจากด้านหลังของปากและส่วนบนของลำคอของผู้ป่วย มักมีการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ (Adenoids) ออกด้วย
  • การปรับตำแหน่งขากรรไกร (Jaw Repositioning)
  • การติดตั้งแท่งพลาสติกเข้ากับเพดานอ่อนหลังจากได้รับยาชาแล้ว
  • การสร้างทางเดินอากาศใหม่ โดยการเจาะคอ (Tracheostomy) โดยใส่หลอดโลหะหรือพลาสติก
  • การผ่าตัดจมูกเพื่อนำติ่งเนื้อเมือกจมูกออกหรือการทำให้ผนังกั้นระหว่างมูกตรงขึ้น
  • การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก

การรักษาสำหรับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง มีดังต่อไปนี้

  • การรักษาสำหรับภาวะทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งได้แก่ ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจหรือกล้ามเนื้อและประสาท (Heart or Neuromuscular Disorders) ที่อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • การใช้ออกซิเจนเสริมเสริมในขณะนอนหลับ
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ Adaptive Servo-Ventilation (ASV) เป็นการใช้เครื่องช่วยหายใจที่ทำให้รูปแบบการหายใจของผู้ป่วยเป็นปกติและป้องกันการหยุดหายใจ
  • วิธีการใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวกต่อเนื่อง
  • วิธีการใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวกสองระดับ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณจัดการภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้

  • ลดน้ำหนักส่วนเกิน
  • ออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาบางชนิด เช่น

    ยากล่อมประสาท (Tranquilizers) และยานอนหลับ (Sleeping Pills)

  • นอนตะแคงหรือนอนคว่ำแทนการนอนหงาย
  • รักษาให้ช่องจมูกเปิดในตอนกลางคืน
  • เลิกสูบบุหรี่

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับมือ หรือวิธีแก้ไขปัญหาของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจตามความเหมาะสมต่ออาการที่คุณประสบได้ในทันที

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sleep Apnea. http://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/sleep-apnea. Accessed July 8, 2016.

Sleep apnea. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleep-apnea/basics/definition/con-20020286. Accessed July 8, 2016.

Sleep apnea. https://www.sleepfoundation.org/sleep-apnea. Accessed August 14, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/10/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

การวินิจฉัยพฤติกรรมการนอนหลับ การทดสอบสำหรับผู้มีปัญหาการนอนหลับ

อาการแบบไหนที่บ่งบอกถึง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เป็นอันตราย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 08/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา