หลาย ๆ คนเมื่อต้องเผชิญกับปัญหารอบตัว ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดหรือมีเรื่องวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันที่ต้องเจอ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวต่าง ๆ จนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับตามมา และมักจะใช้ตัวช่วย ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า…ยานอนหลับ เหล่านั้นจะเหมาะกับอาการของเราหรือไม่ แบ่งเป็นประเภทใดบ้าง และจะเลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย วันนี้ Hello คุณหมอ…จะช่วยคลายไขข้อสงสัย ให้ทุกคนทราบกัน
ยานอนหลับ (Sleeping Pill)
ยานอนหลับ มักจะเป็นตัวช่วยให้กับผู้มีปัญหาในการนอน ซึ่งสามารถใช้ได้ตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือพบได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ต้องผ่านการจ่ายยาโดยเภสัชกรให้ช่วยประเมินวิธีการรับประทาน และปริมาณการใช้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ การใช้ยานอนหลับ เป็นไปอย่างปลอดภัย
ยานอนหลับ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ยากล่อมประสาท’ ผู้ที่รับประทานยานอนหลับ จะมีอาการง่วงนอนและหลับไปในที่สุด แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปจำนวนมากอาจส่งผลข้างเคียงรุนแรง และส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเราได้
ดังนั้น หากใครต้องการพึ่งยานอนหลับ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง เพื่อป้องกันอันตรายจาก การใช้ยานอนหลับ และผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ประเภทของยานอนหลับ ที่ทางการแพทย์นิยมใช้
ทางการแพทย์มักนิยมใช้ตัวยากลุ่ม “Benzodiazepines‘ เป็นหนึ่งในตัวยาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในประเทศสหรัฐอเมริกา Benzodiazepines เป็น กลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพ ในการคลายความวิตกกังวลของคนไข้ และใช้ในขั้นตอนก่อนการรักษา ทางการแพทย์เลือกใช้ยากลุ่มนี้ เพราะมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้
ทำความรู้จักชื่อยานอนหลับในกลุ่ม Benzodiazepines ยกตัวอย่างเช่น
- Alprazolam
- Chlordiazepoxide
- Clorazepate
- Diazepam
- Estazolam
- Flurazepam
- Oxazepam
- Temazepam
- Triazolam
ผลข้างเคียงของยานอนหลับ มีอะไรบ้าง ?
แน่นอนว่า การที่เราพึ่งยานอนหลับอย่างสม่ำเสมอหรือเป็นระยะเวลานาน มักมีผลข้างเคียงตามมา Hello คุณหมอ…จะพามาเช็คว่าและลองสังเกตตัวเองว่า คุณกำลังมีอาการเหล่านี้บ้างไหม?
ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้จาก การใช้ยานอนหลับ เป็นเวลานาน เช่น
- อาการวิงเวียนศรีษะ , มึนหัว และปวดหัว
- อาการง่วงนอน เป็นเวลานาน
- ริมฝีปากแห้ง
- มีอัตราการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ
- เกิดภาวะทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
- ปัญหาด้านความจำ อาจทำให้หลงลืมไปบ้าง
- ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบขับถ่าย เช่น เกิดอาการท้องผูก
หลักการรับประทานยานอนหลับอย่างปลอดภัย
ก่อนใช้ยานอนหลับ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และรับประทานยานอนหลับอย่างถูกวิธี ในปริมาณที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
ยานอนหลับบางชนิด อาจไม่ถูกกับร่างกายของเราหรือควรหลีกเลี่ยงการใช้ ดังนั้น กลุ่มคนที่ควรต้องเพิ่มความระมัดระวัง ซึ่งอาจจะส่งผลข้างเคียงได้ ตัวอย่างเช่น
กลุ่มคนที่ควรระมัดระวัง…ใน การใช้ยานอนหลับ
- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังหรือต้องหลีกเลี่ยง การใช้ยานอนหลับ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับบุตร และการตั้งครรภ์ที่กำลังเกิดขึ้น
- ผู้สูงอายุ ควรใช้ปริมาณที่เหมาะสมหรืออาจจะต้องลดปริมาณลงใน การใช้ยานอนหลับ และต้องแจ้งแพทย์อย่างละเอียด หากต้องมีการรับประทานยาประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ยกตัวอย่าง โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือผู้มีประวัติอาการชัก ควรทำตามคำแนะนำตามใบสั่งของแพทย์ (ที่สำคัญจึงไม่ควรซื้อยานอนหลับ มารับประทานเองอย่างเด็ดขาด)
ข้อควรระวังใน การใช้ยานอนหลับ
- งดแอลกอฮอล์ ก่อนรับประทานยานอนหลับ
- ห้ามใช้ยาพาหนะหลังทานยานอนหลับ เช่น การขับรถยนต์ อาจจะทำให้เกิดภาวะหลับใน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
- ติดต่อแพทย์ และเข้าพบแพทย์ทันที หากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง หรือผลข้างเคียงจาก
[embed-health-tool-bmi]