กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกร้าว กระดูกหัก เป็นภาวะความเสียหายของกระดูกที่สามารถพบได้บ่อย ส่วนใหญ่เกิดจากแรงกระแทกรุนแรง เช่น กระดูกร้าว กระดูกหักจากอุบัติเหตุแต่ความเครียดสะสมในกระดูกที่มาจากการออกกำลังกายหนักเกินไปก็ทำให้เกิดปัญหานี้เหล่านี้ได้เช่นกัน ภาวะนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก และผู้สูงอายุที่กระดูกเริ่มเปราะบาง

เรื่องเด่นประจำหมวด

กระดูกร้าว กระดูกหัก

จมูกหัก (Broken Nose)

จมูกหัก (ฺBroken Nose) เป็นการบาดเจ็บบนใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย แต่ผู้ที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้คนจำนวนมาก มักจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกระดูก ก็มีความเสี่ยงที่จะจมูกหักได้มากกว่าคนทั่วไปเช่นกัน [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ จมูกหัก (Broken Nose) คืออะไร จมูกหัก เรียกอีกอย่างว่า “การร้าวของจมูก” คือการแตกหรือร้าวของกระดูกในจมูก ซึ่งมักเป็นกระดูกที่อยู่เหนือดั้งจมูก จมูกหักมักเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่ใบหน้า ซึ่งอาจจะจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ความผิดปกติที่มองเห็นได้ อย่างเช่น จมูกมีเลือดไหล ในกรณีที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก มีรอยช้ำรอบดวงตาหรือตาดำ จมูกหักพบบ่อยเพียงใด จมูกหักเป็นการบาดเจ็บบนใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจมูกหักได้ อาการ อาการของจมูกหัก สำหรับอาการที่สามารถบ่งบอกได้ว่าจมูกของคุณหัก มีดังนี้ ปวดหรือเจ็บบริเวณรอบ ๆ จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่สัมผัสกับจมูก อาการบวมที่จมูกหรือบริเวณโดยรอบ มีเลือดออกจากจมูก มีรอยฟกช้ำบริเวณจมูกและตา ซึ่งมักจะหายไปหลังจาก 2-3 วัน จมูกเบี้ยว งอ หรือผิดรูป แม้ว่าจะไม่เกิดการหักก็ตาม หายใจทางจมูกลำบาก รู้สึกว่าจมูกข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างถูกปิดกั้น มีของเหลวใสไหลออกจากจมูกโดยที่ไม่สามารถหยุดได้ มีเสียงถู […]

สำรวจ กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกคอหัก (Cervical fracture)

กระดูกคอหัก คือการหักหรือการแตกที่กระดูกคอชิ้นใดชิ้นหนึ่ง เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังบริเวณกระดูกคอ จนทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตทั่วร่างกาย นับจากบริเวณคอลงมา คำจำกัดความ กระดูกคอหัก คืออะไร กระดูกคอประกอบด้วยกระดูกต่างๆ ทั้งหมด 7 ชิ้น ทำหน้าที่พยุงศีรษะ และเชื่อมระหว่างศีรษะกับไหล่และร่างกาย การหักหรือการแตกที่กระดูกคอชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือกระดูกคอหัก (Cervical fracture) มักเรียกว่าคอหัก (broken neck) อาการบาดเจ็บใดๆ ที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง สามารถส่งผลรุนแรง เนื่องจากไขสันหลังเป็นจุดเชื่อมต่อของระบบประสาทส่วนกลาง ระหว่างสมองและร่างกาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ โดยอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังบริเวณกระดูกคอ เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตทั่วร่างกาย นับจากบริเวณคอลงมา กระดูกคอหักพบบ่อยเพียงใด กระดูกคอหักพบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการกระดูกคอหัก เมื่อกระดูกคอหัก มักเกิดอาการเบื้องต้น คือ อาการปวดคอ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับอาการทางประสาท หรืออาการอ่อนแรงหากเส้นประสาทไว โดยอาการกระดูกคอหักนี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องระวังระวังเป็นอย่างมาก ไม่ควรให้เกิดขึ้นเนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บอื่นๆ กับกระดูกสันหลังหรืออวัยวะอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วยก็ได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคอได้รับบาดเจ็บ คุณไม่ควรเคลื่อนไหวคอหรืออวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้อง จนกว่าจะมีการตรวจเอ็กซเรย์ หากผู้ป่วยหมดสติ แพทย์จะเป็นผู้สันนิษฐานว่า ผู้ป่วยที่หมดสติมีอาการบาดเจ็บที่คอหรือไม่ แล้วค่อยดำเนินการรักษาตามสถานการณ์ต่อไป สาเหตุ สาเหตุของ กระดูกคอหัก กระดูกคอหักมักเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง จนทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอได้รับบาดเจ็บ เช่น ตกจากที่สูง อุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น รถชน รถคว่ำ นักฟุตบอลพุ่งปะทะนักฟุตบอลคู่แข่ง ผู้เล่นฮ็อกกี้น้ำแข็งถูกกระแทก จนชนกับสิ่งกีดขวางอย่างจัง นักยิมนาสติกหลุดจากบาร์โหน แล้วตกลงมา นักกระโดดน้ำกระแทกกับก้นสระว่ายน้ำที่ตื้นเกินไป ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกคอหัก อายุที่มากขึ้น กระดูกพรุน ป่วยเป็นโรคหรือมีภาวะที่ทำให้สูญเสียมวลกระดูก หรือแร่ธาตุ เช่น วัยหมดประจำเดือน เล่นกีฬาที่เสี่ยงกระดูกคอหัก เช่น […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture)

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำไปถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก คำจำกัดความ กระดูกหน้าแข้งหัก คืออะไร แข้งหรือกระดูกหน้าแข้ง เป็นกระดูกใหญ่สองชิ้นบริเวณขาส่วนล่าง ภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำ ถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ในการวินิจฉัยอาการดังกล่าว แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก แพทย์จะแนะนำการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก เวลาพักฟื้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่นกัน โดยอาจใช้เวลารักษาสี่ถึงหกเดือน เพื่อให้หายเป็นปกติ กระดูกหน้าแข้งหักพบได้บ่อยแค่ไหน อาการกระดูกหน้าแข้งหักเป็นอาการกระดูกหักที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการของกระดูกหน้าแข้งหักคืออะไร อาการทั่วไปของกระดูกหน้าแข้งหัก ได้แก่ ความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง เดิน วิ่ง หรือเตะขาลำบาก ขาชา หรือเป็นเหน็บ ขาข้างที่บาดเจ็บไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขาส่วนล่าง เข่า หรือหน้าแข้งผิดรูป กระดูกยื่นออกมาจากผิวหนัง สามารถงอเข่าเข้าได้อย่างจำกัด จุดที่บาดเจ็บมีรอยบวม ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยช้ำและผิวซีดลง เมื่อกระดูกหน้าแข้งหัก กระดูกชิ้นอื่นบริเวณขาส่วนล่าง ที่เรียกว่า กระดูกน่อง มักจะได้รับบาดเจ็บด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณ หรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุ สาเหตุของ กระดูกหน้าแข้งหัก สาเหตุของภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่พบได้บ่อย ได้แก่ การชนหรือกระแทกอย่างรุนแรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่รุนแรงที่สุด การหกล้ม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน