backup og meta

สีผสมอาหารสังเคราะห์ ทานได้ แล้วมีอันตรายหรือเปล่า?

สีผสมอาหารสังเคราะห์ ทานได้ แล้วมีอันตรายหรือเปล่า?

สีผสมอาหารสังเคราะห์ หรือ สีสังเคราะห์ มักใช้ถูกนำมาผสมในอาหารเพื่อเพิ่มสีสันของอาหารให้ดูสดใส สวยงาม และน่ารับประทานมากขึ้น แต่การบริโภคสีผสมอาหารเป็นจำนวนมากก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วหากเด็กๆ รับประทานมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้เช่นกัน ทาง Hello คุณหมอ มีเรี่องราวเหล่านี้มากฝากกันในบทความนี้

สีผสมอาหารสังเคราะห์ คืออะไร

สีผสมอาหารสังเคราะห์  (Food Dye) นั้น ถูกใช้ในการเพิ่มสีสันให้กับอาหารมานานหลายศตวรรษ แต่สีสำหรับใส่ในอาหารครั้งแรกถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1856 จากน้ำมันดิน แต่ทุกวันนี้สีผสมอาหารถูกทำมาจากปิโตเลียม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการพัฒนาสีผสมอาหารหลายร้อยสี แต่ส่วนใหญ่พบว่าเป็นพิษ ดังนั้นจึงมีเพียงไม่กี่สีเท่านั้นที่ยังคงใช้ในอาหารได้ แต่ผู้ผลิตอาหารส่วนใหญ่มักชอบใช้สีผสมอาหารมากกว่าสีอาหารจากธรรมชาติ เนื่องจากให้สีที่สดใสกว่านั่นเอง

สำหรับ สีผสมอาหารสังเคราะห์ ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งานได้จาก องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) และ หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority หรือ EFSA) มีด้วยกัน 5 สี ดังนี้

  • สีแดง หมายเลข 3 อีริโทรซีน (Erythrosine) : สีแดงเชอร์รี่ ใช้กันทั่วไปในลูกอม และเจลตกแต่งเค้ก
  • สีแดง หมายเลข 40 อัลลูร่า เรด (Allura Red) : สีแดงเข้ม ใช้ในเครื่องดื่มเกี่ยวกับกีฬา ขนมหวาน เครื่องปรุงรส และซีเรียล
  • สีเหลือง หมายเลขย 5 ทาร์ทราซีน (Tartrazine) : สีเหลืองมะนาว ใช้ในขนม น้ำอัดลม ข้าวโพดคั่ว และซีเรียล
  • สีเหลือง หมายเลข 6 ซันเซ็ต เยลโล่ (Sunset Yellow) : สีส้มเหลือง ใช้ในลูกอม ซอส ขนมอบ และผลไม้ดอง
  • สีฟ้า หมายเลข 1 บริลเลียนท์บลู (Brilliant Blue) : สีน้ำเงินแกมเชียว ใช้ในไอศกรีม ถั่วกระป๋อง ซุปสำเร็จรูป และน้ำแข็งเย็น
  • สีฟ้า หมายเลข 2 อินดิโก้ คาร์มีน (Indigo Carmine) : สีฟ้า ใช้ในขนมหวาน ไอศกรีม ซีเรียล และขนมขบเคี้ยว

สีสังเคราะห์-สีผสมอาหารสังเคราะห์-อันตรายหรือไม่

สีผสมอาหารสังเคราะห์ ทำมาจากอะไร

สีผสมอาหาร ประกอบด้วยสารเคมีที่ใช้เพิ่มสีให้กับอาหาร ซึ่งสีผสมอาหารมักถูกเติมลงไปในอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรสต่างๆ สีผสมอาหารมักจะถูกใช้ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้

  • เพิ่มสีสันให้กับอาหารที่ไม่มีสี
  • เพื่อการตกแต่งด้วยการเพิ่มสีสันต่างๆ
  • เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียสี เนื่องจากองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม
  • สร้างความดูดี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสีของอาหาร

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ได้ควบคุมสารแต่งเติมสี เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยสำหรับใช้ในการบบริโภคได้ จากกฎระเบียบยังช่วยผู้บริโภคทราบว่าพวกเขากำลังรับประทานอะไรอยู่ ซึ่งให้มั่นใจได้จากการที่อาหารที่มีสีผสมอาหารปรุงแต่งอยู่จะมีการติดฉลากอย่างถูกต้อง

ในการพิจารณาอนุมัติสารเติมแต่ง FDA จะทำการศึกษาส่วนประกอบของ สีผสมอาหาร ปริมาณการบริโภค บันทึกผลกระทบต่อสุขภาพ และปัจจัยด้านความปลอดภัยที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อสีย้อมอาหารได้รับการอนุมัติ FDA จะกำหนดระดับการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับสารเติมแต่งนั้น FDA อนุญาตให้ใช้สารเติมแต่งที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น เนื่องจาก สีผสมอาหาร จะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างสมเหตุสมผลแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

รู้หรือไม่ว่า.. สีผสมอาหารสังเคราะห์ อาจทำให้เด็กสมาธิสั้น

จากบทความในปี 2012 ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน Neurotherapeutics ได้มีการตรวจสอบหัวข้อการโต้เถียงของ สีสังเคราะห์ และสมาธิสั้นในเด็ก ซึ่งบทความนี้ถูกตั้งขึ้นโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ในปี 2011 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของสีที่มีต่อเด็กสมาธิสั้น ซึ่งผู้เขียนได้แจ้งให้ทราบว่า แม้สีสังเคราะห์ไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญของโรคสมาธิสั้น แต่ดูเหมือนว่าจะสามารถส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งที่สมาธิสั้นและสมาธิปกติได้

นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าการได้รับสีผสมอาหารสังเคราะห์ในเด็กสมาธิสั้น สามารถรับได้ไวมากกว่าในเด็กปกติ จากการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เล็กๆ แต่มีความสำคัญระหว่างสีผสมอาหารและสมาธิสั้นในเด็กได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กบางคนดูเหมือนว่าจะไวต่อสีผสมอาหารสังเคราะห์มากกว่าเด็กคนอื่น จึงสรุปได้ว่าจะเป็นการดีที่สุดสำหรับเด็กหากสามารถที่จะหลีกเลี่ยงสีอาหารเทียมได้

ไขข้องใจ รับประทานสีผสมอาหารสังเคราะห์เสี่ยงเป็นมะเร็งจริงหรือ?

ในทุกวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักจะต้องบริโภคสีผสมอาหารสังเคราะห์เข้าไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสีผสมอาหารสังเคราะห์นั้นถูกผสมอยู่ใน เครื่องดื่มเกี่ยวกับกีฬา ธัญพืช ผลิตภัณฑ์ขนมหวานเกือบทั้งหมด และอาหารแปรรูป ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า รายการอาหารหรือเครื่องดื่มเหล่านี้ ส่วนใหญ่ถือว่าไม่ดีต่อสุขภาพหากบริโภคเป็นประจำ

จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สีผสมอาหารถูกเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง แต่ก็ยังไม่มีมีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าสีผสมอาหารเหล่านี้เป็นสาเหตุโดยตรงของปัญหาสุขภาพ แต่ความจริงที่ต้องรู้ก็คือ สีผสมอาหารมักจะเชื่อมโยงกับโรคต่างๆ เหล่านี้

  • สีแดง หมายเลข 40 อัลลูร่า เรด (Allura Red) เชื่อมโยงกับปฏิกิริยาการแพ้ และในบางกรณีก็เชื่อมโยงกับโรคสมาธิสั้นในเด็ก
  • สีเหลือง หมายเลข 6 ซันเซต เยลโล่ (Sunset Yellow) เป็นที่รู้กันว่ามีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดเดียวกับที่พบในบุหรี่นั่นเอง นอกจากนั้นแล้วยังเชื่อมโยงกับเนื้องอกในไต เมื่อมีการทดสอบกับสัตว์อีกด้วย
  • สีฟ้า หมายเลข 2 อินดีโก้ คาร์มีน (Indigo Carmine) มีรายงานว่าก่อให้เกิดเนื้องอกในสมอง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการทดลองกับหนู
  • สีเขียว หมายเลข 3 ฟาสต์กรีน (Fast Green) เชื่อมโยงกับมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

จากสถิติเหล่านี้แม้จะไม่มีการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่าง สีผสมอาหารสังเคราะห์ กับการเกิดโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ในมนุษย์ แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ควรจะต้องระมัดระวังในการบริโภคสีผสมอาหารอีกด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Side Effects of Artificial Food Coloring. https://www.livestrong.com/article/457555-the-side-effects-of-artificial-colors/. Accessed December 27, 2019

Food Dye and ADHD. https://www.webmd.com/add-adhd/childhood-adhd/food-dye-adhd#2. Accessed December 27, 2019

Food Dyes: Harmless or Harmful?. https://www.healthline.com/nutrition/food-dyes. Accessed December 27, 2019

Are Food Dyes Cancer Causing?. https://sites.psu.edu/siowfa16/2016/09/15/are-food-dyes-cancer-causing/. Accessed December 27, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/07/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัสสาวะบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างและเมื่อใดที่น่าเป็นห่วง

แพ้ เครื่องสำอาง อาการและวิธีรักษาที่ถูกต้องเมื่อเกิดอาการแพ้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา