backup og meta

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)  คือ 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อชนิดร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ

คำจำกัดความ

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague) คืออะไร  

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague)  คือ 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อชนิดร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองโดยส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์แทะขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระต่าย (ติดเชื้อจากการถูกกัดหรือได้รับรอยข่วน) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจะมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ  มีไข้  หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

พบได้บ่อยเพียงใด

โดยส่วนใหญ่ มักพบผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองในเขตบริเวณชนบท ที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันแออัด มีสุขอนามัยไม่ดี และผู้ที่ชอบไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีสัตว์ติดเชื้อ เช่น เดินป่า ตั้งแคมป์ รวมถึงสัตวแพทย์และทีมแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ

อาการ

อาการของ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการแสดงออกหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-6 วัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) แพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ได้รับเชื้อ แล้วมากัดคนอีกที โดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก ชิพมังค์ กระต่าย

เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ หากผิวหนังไปสัมผัสกับเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อ นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างสุนัข แมว ก็สามารถติดเชื้อจากโรคดังกล่าวได้จากการโดนหมัดที่ติดเชื้อกัดหรือจากการกินหนูที่ติดเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยงของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

ในปัจจุบันความเสี่ยงต่อการเกิดกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองนั้นมีต่ำมาก โดยพบว่ามีผู้ติดเชื้อไม่กี่พันคนในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อกาฬโรคสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้จากปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  • ตำแหน่งที่ตั้ง กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองพบได้บ่อยในเขตชนบท ซึ่งมีจำนวนประชากรแออัด มีสุขอนามัยที่ไม่ดี มีปริมาณหนูจำนวนมาก
  • อาชีพ สัตวแพทย์และทีมแพทย์ มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสุนัขหรือแมวที่อาจติดเชื้อกาฬโรค รวมถึงบุคคลที่ทำงานกลางแจ้งในเขตพื้นที่ที่อาจมีสัตว์ติดเชื้อ จึงมีโอกาสสูงต่อการติดเชื้อดังกล่าวด้วยเช่นกัน
  • งานอดิเรก กิจกรรมหรืองานอดิเรกต่างๆ เช่น การตั้งแคมป์ ล่าสัตว์ หรือเดินป่า ในบริเวณเขตพื้นที่ที่มีสัตว์ติดเชื้อ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเช่นกัน

ภาวะแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

  • เสียชีวิต โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถหายจากกาฬโรคได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • เนื้อเน่า เนื่องจากเลือดที่เกิดการอุดตันบริเวณนิ้วและนิ้วเท้าไปขัดขวางการไหลเวียนโลหิต ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องทำการตัดนิ้วมือนิ้วเท้าบางส่วนออก
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กาฬโรคทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง หรือที่เรียกว่า เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการต่างๆ เช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดหรือในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคหรือไม่ หลังจากนั้นแพทย์จะนำตัวอย่างเลือด ของต่อมน้ำเหลือง นำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการวินิจฉัยโรค หากพบว่าเป็นกาฬโรคน้ำเหลืองจะได้รีบทำการรักษาในทันที

การรักษากาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคระบาดที่มีความรุนแรง หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคและพบว่าตนเองมีอาการเข้าข่ายต่อการเกิดโรคดังกล่าว ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น

  • ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)
  • ยาด็อกซีไซคลิน (Doxycycline)
  • ยาเจนตามัยซิน (Gentamicin)
  • ยาเลโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากาฬโรคต่อมน้ำเหลือง สามารถทำได้ดังนี้

  • รักษาสุขอนามัย ไม่เทอาหารสัตว์ไว้ในพื้นที่ที่หนูสามารถเข้าถึงได้ง่าย  รวมถึงหมั่นทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการเกิดหมัด
  • สวมถุงมือ คุณควรสวมถุงมืออยู่เสมอขณะสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ยากำจัดหมัด แมลง เมื่อออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เดินป่า ตั้งแคมป์ คุณควรใช้สเปรย์หรือยาอื่นๆ ที่สามารถกำจัดหมัดได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Yes the Bubonic Plague Is Still Around, Why You Don’t Need to Worry. https://www.healthline.com/health-news/seriously-dont-worry-about-the-plague. Accessed 08 July

What Is the Plague?.  https://www.webmd.com/a-to-z-guides/plague-faq#1. Accessed 08 July

Bubonic plague: Third case reported in China. https://www.medicalnewstoday.com/articles/327045. Accessed 08 July

Plague. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/plague/symptoms-causes/syc-20351291. Accessed 08 July

Plague. https://www.cdc.gov/plague/diagnosis/index.html. Accessed 08 July

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague)

กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic Plague)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา