backup og meta

เหตุผลดีๆ ที่ สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ให้ดีขึ้นได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 15/06/2020

    เหตุผลดีๆ ที่ สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ให้ดีขึ้นได้

    สัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น น้องหมา แมว หรือแม้กระทั่งปลาทอง ที่นอกจากความน่ารัก ดุ๊กดิ๊กของเจ้าพวกนี้แล้ว สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ให้คุณกับเราได้อีกด้วย ยามเหงา ไม่มีใครหันมาเมื่อไรก็ยังมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนอยู่เสมอ วันนี้ Hello คุณหมอมีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวประโยชน์ของสัตว์เลี้ยง ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้นได้

    สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ได้อย่างไร

    จากการวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงนั้นมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต จากการศึกษาขนาดใหญ่โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยอยู่กับ ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โรคจิตเพศ (schizophrenia) โรคอารมณ์สองขั้ว และภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง พบว่าการมีสัตว์เลี้ยงนั้นช่วยให้เกิดความรู้สึกแบบ แนวคิดความมั่นคงทางภววิทยา (ontological security) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ช่วยให้รู้สึกมีความมั่นคงอุ่นใจ ผูกพัน และช่วยให้รู้สึกมีความหมายในชีวิต

    จากการศึกษาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีสัตว์เลี้ยงในครอบครัว เพราะการที่มีสัตว์เลี้ยงมีส่วนช่วยในการลดอาการวิตกกังวลได้ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดลงของดัชนีมวลกายอีกด้วย

    ดอกเตอร์บรู๊คและเพื่อนรวมสถาบันเดียวกันได้ทำการสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นแมว หมา หนูแฮมเตอร์ หรือแม้กระทั่งปลาทอง นั้นช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตอาการดีขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสุขภาพจิตที่รุนแรงหรือมีปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพหรือความผิดปกติของพัฒนาการ จากข้อมูลทางการแพทย์ให้ข้อมูลว่าสัตว์เลี้ยงช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอารมณ์ของตัวเองและช่วยให้มีอารมณ์ที่คงที่ มีสมาธิ ไม่วอกแวก

    สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ด้านใดบ้าง

    การมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนนั้น เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงยังช่วยทำให้รู้สึกสบายใจ ที่สำคัญการมีสัตว์เลี้ยงนั้นช่วยให้สุขภาพจิตของเรานั้นดีขึ้นได้ ดังนี้

    สัตว์เลี้ยงกับภาวะซึมเศร้า

    สัตว์เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงจูงใจที่ดีให้เราได้ โดยเฉพาะสุนัข เพราะการเลี้ยงสุนัขมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เจ้าของออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า การออกกำลังกายนั้น เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มสารเซโรโทนินให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้อารมณ์มีความคงที่ หากเซโรโมนินต่ำจะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้าได้ นอกจากสัตว์เลี้ยงยังช่วยให้เราผ่อนคลาย รู้สึกสงบได้อีกด้วย

    เพียงแค่การนั่งลูบขนของสัตว์เลี้ยงก็มีส่วนช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้ ที่สำคัญการมีสัตว์เลี้ยงทำให้เรามีจุดหมายในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ต้องดูแลเขา ให้ข้าวให้น้ำ อาบน้ำเขา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและเป็นที่ต้องการ

    สัตว์เลี้ยงกับการเข้าสังคม

    การดูแลสัตว์เลี้ยงนอกจากการให้ข้าว ให้น้ำแล้ว เราจะต้องพาน้องออกไปเดินเล่น พาไปอาบน้ำ ตัดขน ซึ่งการพาสัตว์เลี้ยงออกไปข้างนอกนั้น อาจทำให้เราได้เจอกับผู้ที่เลี้ยงสัตว์เหมือนๆ กัน จนทำให้เกิดการสนทนาการเรื่องสัตว์เลี้ยง ซึ่งบทสนทนาเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีการเข้าสังคมมากขึ้น ไม่เก็บเนื้อเก็บตัว ซึ่งผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมและมิตรภาพมากขึ้น มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย

    สัตว์เลี้ยงกับความเหงา

    ความเหงา เป็นอีกตัวการที่ทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีใคร ซึ่งสัตว์เลี้ยงถือเป็นเพื่อนที่ดี พวกเขาช่วยให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยว รู้สึกปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่คนเดียว

    สัตว์เลี้ยงกับปัญหาเด็กสมาธิสั้น

    สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นมีการเรียนรู้ที่จะวางแผนและมีความรับผิดชอบ ซึ่งถือว่าการเลี้ยงสัตว์นั้นมีประโยชน์สำหรับเด็กที่มีปัญหานี้ การเลี้ยงสัตว์นั้นจำเป็นที่จะต้องพาออกไปเดิน วิ่งเล่น เพื่อปลดปล่อยพลังงาน ซึ่งก็จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานไปด้วย แถมยังช่วยให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลายในตอนกลางวันและรู้สึกสงบขึ้นในตอนกลางคืน นอกจากนี้อากาศบริสุทธิ์และการออกกำลังกาย ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้กับเด็ก ๆ

    เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะคุ้นเคยกับการที่ถูกผู้ปกครองสั่งให้อยู่เฉย ๆ ห้ามนั้น ห้ามนี้ บางครั้งก็มักจะตำหนิสิ่งที่พวกเขาทำ โดยที่ไม่ฟังสิ่งที่เขาต้องการ แต่สัตว์เลี้ยงจะเป็นผู้ฟังที่ดี ให้ความรักโดยไม่มีเงื่อนไข และพร้อมที่จะวิ่งเล่นไปพร้อมกับเขาเสมอ ทำให้เด็กมีความรู้สึกมั่นใจในตัวเองขึ้นมา

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 15/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา