การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

เชื้อแบคทีเรีย คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ในสถานที่ต่าง ๆ รวมไปถึงภายในร่างกายของเรา เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่อาจไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อและสภาวะต่าง ๆ ที่อันตรายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น ๆ ที่ควรรู้จัก เพื่อการดูแลและป้องกันสุขภาพของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

เรื้อน (Leprosy)

โรค เรื้อน (Leprosy) คือ โรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน คำจำกัดความเรื้อน คืออะไร เรื้อน (Leprosy) คือโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เส้นประสาทเกิดความเสียหาย และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง หากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคเรื้อนอาจจะทำให้ระบบประสาทเสียหาย ส่งผลให้บริเวณมือและแขนอาจเป็นอัมพาตได้ นอกจากนี้ โรคเรื้อนยังอาจลดประสิทธิภาพของประสาทสัมผัส ทำให้รับรู้ความรู้สึกได้น้อยลง ผู้ป่วยจึงอาจจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเกิดบาดแผล และทำให้บาดแผลนั้นรุนแรงขึ้นได้ โรค เรื้อน พบบ่อยแค่ไหน โรคเรื้อนี้สามารถพบได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น หรือกึ่งเขตร้อน เช่น ประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถเกิดได้กับคนทุกเทศทุกวัย ตั้งแต่ไปทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ อาการอาการของโรค เรื้อน โรคเรื้อนจะส่งผลต่อผิวหนังและระบบประสาทในบริเวณสมองและไขสันหลัง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อดวงตาและเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกอีกด้วย อาการทางผิวหนัง อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวบางส่วนเปลี่ยนสี อาจจะมีสีจางกว่าบริเวณรอบข้าง และอาจจะมีอาการชาร่วมด้วย มีตุ่มขึ้นบนผิวหนัง ผิวแห้ง หนา และแข็ง มีแผลเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือมือ ใบหน้า หรือติ่งหูบวมขึ้น ขนคิ้วและขนตาร่วง อาการที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวหนังบางส่วนมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต โดยเฉพาะบริเวณมือและขา เส้นประสาทบวมขึ้น มีปัญหาในการมองเห็น อาการที่เกิดขึ้นกับเยื่อเมือกในโพรงจมูก อาจมีดังต่อไปนี้ คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยออก เลือดกำเดาไหล สำหรับผู้ป่วยบางราย […]

สำรวจ การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

แบคทีเรียในรองเท้า วายร้ายใกล้ตัวที่คุณอาจกำลังละเลย!

คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า รองเท้าที่เราสวมใส่กันอยู่เป็นประจำทุกวันนี้ก็มีแบคทีเรียซ่อนอยู่ ยิ่งถ้าเป็นรองเท้าคู่เก่ง ใส่ประจำ ใส่ทุกวัน ใช้งานตลอด แต่มีการละเลยเรื่องความสะอาดหรือทำความสะอาดไม่เพียงพอ แบคทีเรีย จากรองเท้าอาจส่งผลต่อสุขภาพของเราได้นะ และเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากแบคทีเรีย Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกัน แบคทีเรียในรองเท้า มาฝากค่ะ แบคทีเรียอยู่ในรองเท้าได้อย่างไร ในแต่ละวันที่เราสวมรองเท้าออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน ทั้งไปเรียน ไปทำงาน ไปออกกำลังกาย หรือไปเที่ยว รองเท้าที่เราสวมใส่นั้นต้องผ่านการเหยียบย่ำกับสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน ทั้งยังสะสมเหงื่อและความอับชื้นจากเท้าและถุงเท้าที่อยู่ภายในรองเท้าเอาไว้อีกด้วย ซึ่งสิ่งสกปรกจากการเหยียบย่ำไปยังพื้นที่ต่างๆ บวกกับการหมักหมมเอาทั้งเหงื่อและความอับชื้นเอาไว้ จึงเป็นการสะสมเอาแบคทีเรียไว้ในรองเท้า ซึ่ง แบคทีเรีย ในรองเท้านี้สามารถก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ หรือการติดเชื้อต่างๆ ได้ มีแบคทีเรียอะไรอยู่ในรองเท้าของเราบ้าง รองเท้าที่เราสวมมาตลอดทั้งวัน ได้รับทั้งสิ่งปรก เหงื่อ ความอับชื้น เชื้อโรค และแบคทีเรียมากมาย โดยกลุ่มแบคทีเรียที่พบได้มากในรองเท้าก็คือ แบคทีเรียในกลุ่มของอีโคไล (E.coli)   เชื้ออีโคไลเป็นหนึ่งในเชื้อ แบคทีเรีย ที่สามารถพบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสภาพแวดล้อมอื่นๆ ก็มีเชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในรองเท้าซึ่งสามารถพบเชื้ออีโคไลได้มาก แม้ว่าโดยปกติแล้วเชื้ออีโคไลในลำไส้ของคนและสัตว์จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก แต่ถ้าเชื้ออีโคไลจากภายนอกเกิดการปนเปื้อนกับอาหารและรับประทานเข้าไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน มีไข้ เป็นต้น หรือถ้าร้ายแรงก็อาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในร่างกายอย่างรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แบคทีเรียคลอสตริเดียม […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)  คือ 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อชนิดร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ คำจำกัดความกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague) คืออะไร   กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague)  คือ 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อชนิดร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองโดยส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์แทะขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระต่าย (ติดเชื้อจากการถูกกัดหรือได้รับรอยข่วน) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจะมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ  มีไข้  หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่ มักพบผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองในเขตบริเวณชนบท ที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันแออัด มีสุขอนามัยไม่ดี และผู้ที่ชอบไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีสัตว์ติดเชื้อ เช่น เดินป่า ตั้งแคมป์ รวมถึงสัตวแพทย์และทีมแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ อาการอาการของ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการแสดงออกหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-6 วัน […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

กาฬโรค (Plague)

กาฬโรค (Plague) คือ โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน อีกทั้งยังเคยเกิดเหตุระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “กาฬมรณะ” หรือ “มรณะดำ” คำจำกัดความกาฬโรค คืออะไร กาฬโรค (Plague) คือโรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรียที่เรียกว่า Yersinia pestis เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถพบได้ในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก และสามารถถ่ายทอดมาสู่คนได้ผ่านทางเห็บหมัด อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้อีกด้วย ในช่วงยุคกลาง เมื่อประมาณศตวรรษที่ 14 เคยเกิดเหตุระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “กาฬมรณะ” หรือ “มรณะดำ (The Black Death)” การระบาดครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่าหลายล้านคนทั่วยุโรป ในปัจจุบัน การระบาดของกาฬโรคพบได้น้อยลงอย่างมาก และอาจจะพบได้ไม่เกินปีละ 5,000 คน จากประชากรทั้งหมดทั่วโลก โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้ในแถบแอฟริกาและเอเชีย ประเภทของกาฬโรค มี 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague) เป็นกาฬโรคที่พบได้มากที่สุด มักจะเกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อ เมื่อถูกตัวเห็บ ไร หรือหมัดกัด […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic Plague)

กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic plague) เป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง หรืออาจเรียกภาวะนี้ได้ว่า “โลหิตเป็นพิษ” กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่อื่นในร่างกาย คำจำกัดความ กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ คืออะไร กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic plague) เป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง และอาจเป็นที่รู้จักกันในชื่อเรียกว่า “โลหิตเป็นพิษ” กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่อื่นในร่างกาย เช่น ปอด หรือผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด สิ่งนี้เป็นอันตราย เพราะแบคทีเรียและสารพิษดังกล่าวสามารถถูกส่งผ่านจากกระแสเลือดไปทั่วร่างกายของคุณ กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเป็นแล้วจะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษสามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้ ภาวะโลหิตเป็นพิษกับภาวะติดเชื้อในตับนั้นไม่เหมือนกัน แบคทีเรียเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของภาวะโลหะเป็นพิษ ภาวะติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย อาการอักเสบนี้อาจทำให้เลือดอุดตันและขัดขวางออกซิเจนไม่ให้ไปถึงอวัยวะสำคัญ ส่งผลให้อวัยวะล้มเหลวได้ กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษพบบ่อยพียงใด สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health หรือ NIH) ประมาณการว่า ประชาชนราว 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาได้รับการติดเชื้ออย่างรุนแรงในแต่ละปี โดยระหว่าง 28 และ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเหล่านี้อาจเสียชีวิตได้จากภาวะต่างๆ เมื่อเกิดการอักเสบเกิดขึ้นพร้อมกับการที่ระดับความดันโลหิตต่ำมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ หรือ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic Shock) ซึ่งภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อดังกล่าวมีอันตรายถึงชีวิตได้ในหลายกรณี อาการอาการของกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ สำหรับอาการกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษนั้น จะมีสัญญาณแรกเริ่มของการติดเชื้อ ซึ่งได้แก่ มีไข้ ตัวสั่น หรือรู้สึกหนาว หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วและหายใจถี่ ผิวเย็น หรือมีเหงื่อออก การเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตใจ เช่น ความง่วง […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคขี้แมวขึ้นสมอง อีกหนึ่งโรคร้ายที่สาวกทาสแมวควรระวัง

สำหรับผู้ที่รัก แมว ควรอ่านบทความนี้ให้ดี เพราะวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ โรคขี้แมวขึ้นสมอง ซึ่งมีตัวการมาจากน้องเหมียวในบ้านคุณ แต่จะมาจากสาเหตุอะไร และมีอาการร้ายแรงต่อมนุษย์ หรือผู้เลี้ยงมากน้อยแค่ไหนนั้น ลองอ่านได้จากบทความข้างล่างดังต่อไปนี้ ไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ โรคขี้แมวขึ้นสมอง คืออะไร โรคขี้แมวขึ้นสมอง (Toxoplasmosis) คืออาการติดเชื้อที่มาจากปรสิต หรือโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า Toxoplasma gondii เชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii นี้สามารถพบได้มากที่สุดในอุจจาระของ แมว หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น เนื้อหมู เนื้อแกะ และเนื้อกวาง เป็นต้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อ สมอง ตา หัวใจ และปอดได้ ภาพจำลองเชื้อปรสิตหรือโปรโตซัว Toxoplasma gondii สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนเกิดการติดเชื้อปรสิตในอุจจาระแมวนั้น มีดังต่อไปนี้ สัมผัสกับอุจจาระของ แมว อยู่บ่อยครั้ง เช่น การทำความสะอาด เก็บอุจจาระ แมว ทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของปรสิต โดยไม่ผ่านความร้อน หรือการล้างเนื้อสัตว์ให้สะอาด ใช้อุปกรณ์ที่มีการสัมผัสกับปรสิต และไม่ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน หรือเข้าตู้อบเพื่อฆ่าเชื้อ รับการปลูกถ่ายอวัยวะกับผู้ที่มีเชื้อปรสิตอยู่ภายใน เช็กอาการเบื้องต้นของ โรคขี้แมวขึ้นสมอง  สำหรับคนส่วนใหญ่โรคนี้อาจแสดงออกมาในรูปแบบคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดใหญ่ ที่อาจทำให้มีไข้ ปวดหัว และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ความแตกต่างและข้อควรรู้เกี่ยวกับ การติดเชื้อไวรัส กับ การติดเชื้อแบคทีเรีย

แม้ไวรัสและแบคทีเรียจะเป็นจุลินทรีย์เหมือนกัน แต่ก็มีหลายอย่างที่แตกต่างกัน และคุณควรรู้ถึงความแตกต่างเหล่านั้น เพื่อที่จะได้ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างถูกต้อง หรือเมื่อติดเชื้อแล้ว จะได้รักษาได้อย่างถูกวิธี ว่าแต่ การติดเชื้อไวรัส กับการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นแตกต่างกันอย่างไร และต้องรักษาหรือป้องกันยังไงบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้คุณแล้ว [embed-health-tool-heart-rate] ความแตกต่างของ การติดเชื้อไวรัส กับการติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่ค่อนข้างซับซ้อน มีผนังเซลล์ที่คงรูป ทำให้สามารถรักษารูปร่างได้ ภายในเซลล์ของแบคทีเรียจะมีของเหลวที่ห่อหุ้มด้วยเยื่อบุบางๆ ลักษณะคล้ายยาง แบคทีเรียนั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง และสามารถสร้างอาหารได้ ทั้งยังอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย จะในพื้นที่ร้อนจัด เย็นจัด มีกากกัมมันตรังสี หรือในร่างกายมนุษย์ แบคทีเรียก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ทั้งนั้น แบคทีเรียส่วนใหญ่นั้นไม่เป็นอันตราย แถมแบคทีเรียบางชนิดยังจัดว่าเป็นแบคทีเรียชนิดดี (probiotic) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา เพราะช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค ช่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ช่วยดูดซึมสารอาหาร เป็นต้น โดยแบคทีเรียชนิดที่สามารถก่อโรคในมนุษย์ได้นั้น มีน้อยกว่า 1% ด้วยซ้ำ ส่วนไวรัสนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย โดยไวรัสชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ยังมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด ไวรัสทุกชนิดจะมีแกนกลางเป็นกรดนิวคลิอิกซึ่งเป็น RNA หรือ DNA และมีโปรตีนห่อหุ้มล้อมรอบ สำหรับการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของไวรัสก็แตกต่างจากแบคทีเรีย เพราะไวรัสไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องเข้าไปเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ไวรัสส่วนใหญ่สามารถก่อโรคได้ และไวรัสบางชนิดก็จะโจมตีเซลล์เฉพาะที่ เช่น ไวรัสชนิดที่โจมตีเซลล์ตับ ไวรัสที่โจมตีระบบทางเดินหายใจ ไวรัสที่โจมตีกระแสเลือด และในบางครั้ง […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคที่มากับน้ำท่วม รู้ไว้ ระวังทันท่วงที

ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกบ่อยๆ จนมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ในบางพื้นที่อาจเกิดความเสี่ยงจนทำให้ น้ำท่วม ซึ่งนอกจากความเสียหายในการใช้ชีวิต และความเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว ปัญหาน้ำท่วมยังอาจทำให้เราเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคที่มากับน้ำท่วม มาฝากกันค่ะ โรคที่มากับน้ำท่วม อันตรายแค่ไหน  ในช่วงที่น้ำท่วม อาจจะมีเชื้อรา แบคทีเรีย สิ่งปฏิกูล และสัตว์ที่มีพิษมากมายที่อาจจะหนีน้ำมาอาศัยอยู่ในที่แห้งๆ อย่างบนบ้านของเรา หากน้ำที่ท่วมขังอยู่เป็นเวลานานมีเชื้อโรค อาจทำให้เราติดเชื้อโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนัง ดวงตา จนเกิดอาการเจ็บป่วยได้ เราสามารถแบ่งโรคที่มากับน้ำท่วมได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ โรคที่มาจากน้ำ และ โรคที่มาจากแมลง 1. โรคที่มากับน้ำท่วม ที่เกิดจากน้ำ โรคระบบทางเดินอาหาร ในช่วงน้ำท่วม เป็นช่วงที่ยากลำบากต่อการหุงหาอาหาร นอกจากความยากลำบากในการทำอาหารแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารก็หาได้ยากพอๆ กัน นอกจากนี้ระบบน้ำดื่มน้ำใช้ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย บางครั้งอาหารหรือน้ำอาจมีการปนเปื้อนแบคทีเรีย ปรสิตที่มาจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการอาเจียนหรือท้องเสียได้ หากอาการเหล่านี้รุนแรงมากๆ อาจส่งผลทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นอีกโรคที่มักจะระบาดในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขังโรคฉี่หนูเป็นโรคที่สามารถติดได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งจะเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย จากการสัมผัสน้ำ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ไข้กระต่าย (Tularemia) อีกหนึ่งโรคติดต่อ ที่คนรักกระต่าย ต้องรู้

กระต่าย เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีความน่ารัก ด้วยขนปุกปุยและดวงตาที่กลมโต ทำให้หลายคนต่างหลงใหลในความน่ารักของมัน อย่างไรก็ตามหากคุณนำกระต่ายมาเลี้ยงอย่าลืมดูแลในเรื่องของความสะอาดด้วยนะคะ ทั้งตัวสัตว์และอาหารที่ให้ รวมถึงบริเวณที่เลี้ยงด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรค ไข้กระต่าย โดยที่คุณไม่รู้ตัว เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันในบทความของ Hello คุณหมอ ค่ะ ทำความรู้จัก ไข้กระต่าย ไข้กระต่าย หรือโรคทูลารีเมีย (Tularemia) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น หนูป่า กระรอก นก กระต่าย แพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้หลากหลายวิธี เช่นการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ ถูกเห็บจากสัตว์ที่ติดเชื้อกัด หรือกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ภายหลังได้รับเชื้อประมาณ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ไข้สูง รู้สึกอ่อนเพลียอย่างแรง ปวดเมื่อยตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น สาเหตุของไข้กระต่าย เกิดจากอะไรกันนะ? สัมผัสผิวหนังของสัตว์ที่ติดเชื้อ ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรืออาหารที่ปรุงไม่สุก ถูกแมลงสัตว์ กัด ต่อย โดยเฉพาะ เห็บหรือแมลงวัน สูดดมแบคทีเรียจากดินระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง หรือทำสวน   อาการที่คนรักกระต่าย อาจจะเสี่ยงเป็น ไข้กระต่าย ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella Tularensis) มักมีอาการแสดงออกภายใน […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

เห็บกัด อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจกลายเป็นโรคไลม์ (Lyme Disease) ได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

เห็บ เป็นสัตว์ชนิดเล็กๆ ที่มักพบในสัตว์เลี้ยง อย่าเช่น สุนัข หรือแมว บางคนอาจจะคิดว่าเห็บนั้นไม่มีพิษมีภัยอะไร แต่ความจริงแล้วเมื่อโดน เห็บกัด อาจทำให้คุณกลายเป็น โรคไลม์ หรือโรคลายม์ ได้อยางไม่รู้ตัว ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน เห็บกัด ทำให้เกิดโรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease) ได้จริงหรือ? โรคไลม์ หรือโรคลายม์ (Lyme Disease) เกิดจากแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์หลัก บอร์รีเลีย เบิร์กดอร์เฟอรี (Borrelia burgdorferi) และ บอร์เรเลีย มาโยนี (Borrelia mayonii) ทำให้เกิดโรคไลม์ หรือโรคลายม์ ในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ บอร์เรเลีย อัฟเซอร์รี่ (Borrelia afzelii) และ บอร์เรเลีย การ์อินีย์ (Borrelia garinii) เป็นสาเหตุสำคัญในยุโรปและเอเชีย โรคไลม์ หรือโรคลายม์ คือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากเห็บนั้นพบมากที่สุดในภูมิภาคเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้โดยการถูกเห็บที่ติดเชื้อกัด […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคแมวข่วน อันตรายจากน้องเหมียวที่ควรระวัง

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ทำให้มนุษย์ทั้งหลายยินยอมพร้อมใจที่จะเป็นทาสแบบสมัครใจและไร้เหตุผล แต่ทว่าเจ้าแมวเหมียวของพวกเราชาวทาสอาจจะไม่ได้แค่น่ารักน่าถนุถนอมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในบางครั้งเจ้าเหมียวก็อาจจะนำเอา โรคแมวข่วน มาติดทาสแมวที่คอยเลี้ยงดูได้เช่นกัน Hello คุณหมอ ขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคแมวข่วนเพื่อที่จะได้รับมือและดูแลกับน้องแมวได้อย่างถูกต้อง โรคแมวข่วนเกิดจากอะไร โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease) หรือ (CSD) เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียจากแมวที่ติดเชื้อ ซึ่งเราในฐานะเจ้าของแมวก็อาจจะไม่ได้สังเกตหรือสังเกตรู้ได้ว่าแมวกำลังติดเชื้อหรือเปล่า เมื่อแมวที่ติดเชื้อมาเลียเข้าที่แผลหรือผิวหนัง หรือมีการสัมผัสกับน้ำลายของแมวแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ถูกแมวกัด หรือข่วนเข้าที่ผิวหนังจนเป็นแผล สาเหตุเหล่านี้เพียงพอที่จะทำให้ติดเชื้อจากแมวได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้ก็คือเชื้อ Bartonella henselae โดยกว่า 40% ของเจ้าแมวเหมียวนั้นจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้อยู่ภายในปาก และกรงเล็บ ซึ่งเจ้าแมวเหมียวเหล่านี้ก็ได้รับเชื้อมาจากการเกาเห็บหรือมัดที่ติดเชื้อ หรือกัดเห็บหมัดเหล่านั้น หรือมาจากการต่อสู้กับแมวตัวอื่นที่มีเชื้อนี้ก็ได้เช่นกัน อาการของโรคแมวข่วนเป็นอย่างไร อาการของโรคจะไม่ปรากฏทันทีที่ถูกแมวข่วนหรือกัด แต่หลังจากนั้นเพียงวันหรือสองวันก็จะปรากฎอาการต่างๆ โดยในช่วงแรกหลังจากถูกกัดหรือข่วน จะมีผื่นสีแดง หรือผื่นพุพอง ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แต่อาจทำให้เกิดหนองได้ หลังจากนั้นภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ หรือหลังจากที่แผลหาย คุณอาจมีอาการ ดังนี้ มีไข้ (แต่ไม่สูงมาก อาจต่ำกว่า102 องศาฟาเรนไฮต์) ปวดศีรษะ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองบวม ในบางกรณีอาจมีอาการที่ร้ายแรงกว่าที่กล่าวไปข้างต้น โดยเฉพาะหากโรคนี้เกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคแมวข่วนอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อกระดูก ข้อต่อ ดวงตา สมอง หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ จะป้องกันโรคแมวข่วนและดูแลตนเองอย่างไรได้บ้าง คุณสามารถที่จะดูแลและป้องกันทั้งตนเองและน้องแมวของคุณได้ ดังนี้ 1.ระมัดระวังการสัมผัสกับแมวในบ้านหรือแมวจรจัด โดยเฉพาะในช่วงที่แมวออกไปเล่นข้างนอกมา เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าแมวไปรับเชื้อมาหรือไม่ รวมถึงสัตว์แปลกหน้าที่พบก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม