backup og meta

ไข้กระต่าย (Tularemia) อีกหนึ่งโรคติดต่อ ที่คนรักกระต่าย ต้องรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    ไข้กระต่าย (Tularemia) อีกหนึ่งโรคติดต่อ ที่คนรักกระต่าย ต้องรู้

    กระต่าย เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีความน่ารัก ด้วยขนปุกปุยและดวงตาที่กลมโต ทำให้หลายคนต่างหลงใหลในความน่ารักของมัน อย่างไรก็ตามหากคุณนำกระต่ายมาเลี้ยงอย่าลืมดูแลในเรื่องของความสะอาดด้วยนะคะ ทั้งตัวสัตว์และอาหารที่ให้ รวมถึงบริเวณที่เลี้ยงด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรค ไข้กระต่าย โดยที่คุณไม่รู้ตัว เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันในบทความของ Hello คุณหมอ ค่ะ

    ทำความรู้จัก ไข้กระต่าย

    ไข้กระต่าย หรือโรคทูลารีเมีย (Tularemia) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น หนูป่า กระรอก นก กระต่าย แพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้หลากหลายวิธี เช่นการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ ถูกเห็บจากสัตว์ที่ติดเชื้อกัด หรือกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ภายหลังได้รับเชื้อประมาณ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ไข้สูง รู้สึกอ่อนเพลียอย่างแรง ปวดเมื่อยตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น

    สาเหตุของไข้กระต่าย เกิดจากอะไรกันนะ?

    • สัมผัสผิวหนังของสัตว์ที่ติดเชื้อ
    • ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรืออาหารที่ปรุงไม่สุก
    • ถูกแมลงสัตว์ กัด ต่อย โดยเฉพาะ เห็บหรือแมลงวัน
    • สูดดมแบคทีเรียจากดินระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง หรือทำสวน

      อาการที่คนรักกระต่าย อาจจะเสี่ยงเป็น ไข้กระต่าย

    ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella Tularensis) มักมีอาการแสดงออกภายใน 3-5 วัน หรืออาจนานถึง 14 สัปดาห์ โดยแต่ละคนจะมีอาการที่แสดงออกแตกต่างกันตามเชื้อที่เกิดในบริเวณนั้นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ไข้กระต่ายชนิดมีแผลที่ผิวหนัง (Ulceroglandular Tularemia)

    เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด ผิวหนังเป็นแผล บวม และเจ็บที่ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากการโดนเห็บกัด ทำให้ร่างกายรู้เมื่อยล้า ปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น

    • ไข้กระต่ายชนิดตาอักเสบ (Oculoglandular Tularemia)

    เป็นประเภทที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา ทำให้เกิดการระคายเคืองในดวงตา ปวดบวม ตาไวต่อแสง ตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณรอบหู คอและกราม

  • ไข้กระต่ายชนิดคอหอยส่วนบนอักเสบ (Oropharyngeal Tularemia)
  • เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการปวดคอ มีไข้ ต่อมทอมซิลบวมหรือมีต่อมน้ำเหลืองที่คอ

    • ไข้กระต่ายชนิดปอดบวม (Pneumonic Tularemia) 

    เชื้อแบคที่เรียที่ได้รับอาจแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปสู่ปอดได้ ทำให้เกิดอาการที่มักจะเกี่ยวข้องกับโรคปอดบวมอย่างไอแห้ง เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด

    • ไข้กระต่ายชนิดไข้ไทฟอยด์ (Typhoidal Tularemia)

    เป็นประเภทที่พบได้ยากและมีอาการรุนแรงมาก ไม่สามารถทราบตำแหน่งของเชื้อโรคได้ว่าเกิดบริเวณใด โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูง ร่างกายอ่อนเพลียอย่างรุนแรง ม้ามโต ตับโต 

    รู้ทัน ป้องกันก่อน เพื่อความปลอดภัย

    • ไม่ใช้มือเปล่าสัมผัสกับผิวหนังของสัตว์เลี้ยง และ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากจับสัตว์
    • ดื่มน้ำที่สะอาด หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากทะเลสาบหรือบ่อน้ำ
    • รับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก
    • กำจัดเห็บโดยการพ่นยาฆ่าเห็บ
    • รักษาความสะอาดทั้งตัวสัตว์ และอาหาร รวมถึง สถานที่เลี้ยง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา