backup og meta

ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile) เชื้อไวรัสจากสัตว์ปีก สู่ร่างกายคน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile) เชื้อไวรัสจากสัตว์ปีก สู่ร่างกายคน

    สัตว์ปีกในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ จะกล่าวถึงก็คือ ยุง และนก นั่นเอง นอกจากจะมีโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย ชิคุนกุนยา หรือไข้หวัดนก ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงหนึ่ง ซึ่งทำให้เรานั้นล้มป่วยกันอย่างมาก และยังมีอีกอาการสามารถที่ส่งผลความรุนแรงได้ไม่แพ้กันอย่าง ไข้เวสต์ไนล์ มารู้จักเชื้อไวรัสนี้ก่อนสายเกินแก้กันเถอะ

    ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile) คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile) เป็นไวรัสที่มีตัวกลางเป็นยุง ในการรับเชื้อไวรัสที่มาจากการดูดเลือดในตัวนก จนนำเข้าสู่ร่างกายคนโดยผ่านปล่องปากเล็กๆ ของยุงที่เจาะดูดเข้าไปในกระแสเลือดของเรา ในปี 1999 พบผู้ป่วยในนิวยอร์ก ที่ติดเชื้อเป็นไข้เวสต์ไนล์ และแพร่กระจายไปทั่วในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน บางรายมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่บางรายก็อาการแย่ลง จนถึงขั้นเสียชีวิต

    สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงนกเป็นชีวิตจิตใจไม่ต้องเป็นกังวลจนถึงขั้นเอาสัตว์เลี้ยงของคุณไปทิ้งขว้าง เพราะคุณไม่สามารถได้รับเชื้อนี้จากการสัมผัสสัตว์เลี้ยงของคุณแน่นอน ไวรัสเวสต์ไนล์สามารถเข้าได้ทางกระแสเลือดเพียงเท่านั้น แต่ก็อย่าประมาทไปคุณควรรักษาความสะอาดด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยจากโรคอื่นๆ ที่อาจมากับสัตว์ปีกได้

    ความรุนแรงของอาการ จากไวรัสเวสต์ไนล์ มีอะไรบ้าง

    ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัส นอกจากอาการข้างต้นแล้วยังอาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคไข้สมองอักเสบเนื่องจากติดเชื้อทางระบบประสาทอย่างรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อเซลล์รอบสมองเกิดความเสียหายรวมถึงบริเวณไขสันหลังอีกด้วย

    ป้องกันภัยจากสัตว์ปีก ก่อนไวรัสเข้าสู่ร่างกาย

    เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่แสดงประสิทธิผลต่อการรักษาไข้เวสต์ไนล์ แต่คุณสามารถใช้ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดหัว เมื่ออาการกำเริบได้ เช่น ไอบูโปรเฟน (ibuprofen) , แอสไพริน (aspirin) หากคุณมีอาการสมองบวม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำเพื่อลดความเสี่ยงของเชื้อไวรัสลุกลาม

    การป้องกันเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้ให้ไกลจากไวรัสเวสต์ไนล์ มีดังนี้

    • เทน้ำที่ขังอยู่ตามสถานที่ หรือภาชนะต่างๆ ออกเพราะอาจเป็นสถานที่เพาะพันธ์ุของยุง
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นแหล่งอาศัยของยุง เช่น การเดินป่า
    • สวมเสื้อผ้า และกางเกงอย่างมิดชิดเมื่อคุณต้องออกนอกบ้าน
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแมลง หรือยุง กัดต่อย
    • เมื่อจำเป็นที่ต้องออกไปตามแหล่งบริเวณที่มียุง ควรพกมุ้ง หรือผ้าคลุม ติดรถไปด้วย

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา