backup og meta

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

สถานการณ์โควิดในประเทศไทย ยังพบผู้ป่วยโควิดอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเฝ้าระวังตนเอง หากพบว่ามีอาการน่าสงสัย ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่

[embed-health-tool-bmi]

อาการเสี่ยงติดโควิด

ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถสังเกตอาการ ความผิดปกติของร่างกาย จากนั้นให้ตรวจ ATK โดยอาการติดโควิด ที่พบบ่อย ได้แก่

  • ไอ 
  • เจ็บคอ 
  • มีไข้ 
  • ปวดกล้ามเนื้อ 
  • มีน้ำมูก 
  • ปวดศีรษะ 
  • หายใจลำบาก 
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

สำหรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาจพบอาการเพิ่มเติม เช่น เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน และหากมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตัง หรือใช้บัตรประชาชนไปรับ

ติดโควิด ทํายังไง

เมื่อตรวจ ATK แล้วพบว่า ขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวกว่าติดโควิด กลุ่มที่มีอาการไม่มาก ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้

  • กักตัว โดยแยกตัวเองออกมาเป็นเวลา 5 วัน 
  • หากกักตัวครบ 5 วันแล้ว ยังมีอาการไข้ หรืออาการโดยรวมยังไม่ดีขึ้น ให้กักตัวเพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 10 วัน
  • หากกักตัวครบ 5 วันแล้ว ไม่มีอาการไข้ อาการป่วยเริ่มดีขึ้น ยังควรสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ และไม่ไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก แต่สามารถออกไปข้างนอกได้แล้ว
  • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรตรวจ ATK ให้ผลเป็น – หรือ Negative ทั้ง 2 ครั้ง ก่อนไปใช้ชีวิตตามปกติ

3 กลุ่ม ผู้ติดเชื้อโควิด 

การติดเชื้อโควิดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มสีเขียว

  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการ เช่น เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ไอ มีน้ำมูก มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง อุณหภูมิ 37.5 องศาขึ้นไป
  • กลุ่มนี้รักษากับสถานพยาบาลตามสิทธิ ผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน หรือรักษาที่บ้าน 
  • หากกลุ่มนี้มีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่กลุ่มสีเหลืองหรือสีแดง ให้ส่งต่อโรงพยาบาล

กลุ่มสีเหลือง

  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการ เช่น แน่นหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก มีอาการปอดอักเสบ ถ่ายเหลว หรือพบอาการแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว
  • กลุ่มเด็กเล็กที่มีอาการซึม หายใจลำบาก กินนมหรืออาหารได้น้อยลง
  • กลุ่ม 608 ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

กลุ่มสีแดง

  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการ เช่น หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง ตอบสนองช้า ไข้สูงกว่า 39 องศาต่อเนื่อง
  • กลุ่มนี้อาจไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อคหรือโคมาได้
  • ตรวจพบค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94 

สิทธิในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19

ปัจจุบันการติดเชื้อโควิด 19 สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลตามสิทธิ ประกอบด้วย

บัตรทอง 

  1. รับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้
  2. หน่วยบริการปฐมภูมิ ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ร้านยาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด 19 สีเขียวกลุ่มอาการเล็กน้อย
  3. พบแพทย์ออนไลน์ จัดส่งยาถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชัน

ประกันสังคม 

สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมตามสิทธิ

ข้าราชการ

สถานบริการของรัฐทุกแห่ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แนวปฏิบัติเมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด 19 แต่ละสิทธิรักษาอย่างไร ?

http://www.namnoi.go.th/networknews/detail/232047/data.html

accessed June 28, 2023

กรมอนามัย หวั่น ยอดโควิดพุ่งหลังสงกรานต์ แนะปชช.สังเกตอาการก่อนกลับเข้าทำงาน

https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news170466-2/

accessed June 28, 2023

สิทธิการรักษา เตรียมพร้อมโควิด-19 สู่ “โรคประจำถิ่น”

https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/165811

accessed June 28, 2023

เช็กอาการ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB 1.16 ร้ายแรงแค่ไหน หวั่น ติดง่ายกว่าเดิม 2 เท่า

http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=7686

accessed June 28, 2023

แนวทางเวชปฏิบัติ กรณีโรคติดเชื้อโควิด

https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf

accessed June 28, 2023

ติดโควิด ทำยังไงดี ! อย่าเพิ่งตื่นตระหนัก ตั้งสติให้มั่น ให้ไปเช็กกัน

https://webportal.bangkok.go.th/msdbangkok/page/sub/23146/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-COVID-19/0/info/340204/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5–%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร

คนท้องติดโควิด มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา