backup og meta

อาการโอมิครอน มีอะไรบ้าง เช็กตัวเองด่วน

อาการโอมิครอน มีอะไรบ้าง เช็กตัวเองด่วน

ปัจจุบันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เริ่มแพร่ระบาดทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ขณะนี้ได้รับการยืนยันจากทางกระทรวงสาธารณสุขแล้วว่า มีผู้ติดเชื้อโอมิครอนมากกว่า 100 ราย และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ จึงอาจทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงข้อมูลการป้องกัน อาการ ที่แน่ชัด เพื่อความปลอดภัย ควรสำรวจอาการของตนเอง เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

โควิดสายพันธุ์โอมิครอน คืออะไร

โอมิครอน (Omicron) คือเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ถูกพบครั้งแรกในประเทศแอฟริกา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากโอมิครอน มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โปรตีนส่วนหนามของไวรัส 32 ตำแหน่ง และการกลายพันธุ์ส่วนที่เป็นตัวจับเซลล์ในร่างกาย 10 ตำแหน่ง โดยการกลายพันธุ์นี้อาจส่งผลให้ไวรัสหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดี แพร่กระจายได้ไว มีความเสี่ยงที่ส่งผลให้ติดเชื้อซ้ำได้

อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอน มีอะไรบ้าง

อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอาจส่งผลความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่บุคคล ขึ้นอยู่กับสภาวะทางสุขภาพ อายุ จากข้อมูลของผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ บางคนอาจมีอาการน้อยเหมือนไข้หวัดธรรมดา ตามการรายงานจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติประเทศอังกฤษ และคณะนักวิจัยประเทศแอฟริกาใต้ เผยว่า อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแตกต่างจากอาการป่วยของโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้ 

  • ปวดกล้ามเนื้อแบบไม่รุนแรง
  • เหงื่อออกช่วงเวลากลางคืน
  • ไอแห้ง เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • ปวดหัว

วิธีป้องกันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน

ขณะนี้ประเทศไทยได้มีมาตรการป้องกันด้วยการยกระดับการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ รวมถึงตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มีการตรวจเชื้อไวรัสในกลุ่มบุคคลที่อยู่ในความเสี่ยงติดเชื้อเพื่อนำไปตรวจหาโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และแนะนำให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดมากที่สุด ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่เพียงพอว่าวัคซีนชนิดใดช่วยป้องกันโควิสายพันธุ์โอมิครอนได้ แต่วัคซีนยังคงมีบทบาทสำคัญที่อาจช่วยบรรเทาอาการ ลดความเสี่ยงการเสียชีวิต 

กระทรวงสาธารณสุข และคุณหมอส่วนใหญ่ในประเทศไทย ได้แนะนำวิธีป้องกันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เบื้องต้น ดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย
  • เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนมาก
  • หากไอ หรือ จาม ควรหันหน้าเข้าบริเวณข้อศอก
  • ทำความสะอาดมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับสิ่งรอบตัว ก่อนสัมผัสใบหน้า หลังจากเข้าห้องน้ำ หลังจากไอจาม เป็นต้น ด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่
  • ระบายอากาศให้ถ่ายเท ด้วยการเปิดหน้าต่าง
  • ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ สวิตช์ไฟ โทรศัพท์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Update on Omicron. https://www.who.int/news/item/28-11-2021-update-on-omicron . Accessed December 24, 2021

What we know about the Omicron variant. https://www.unicef.org/coronavirus/what-we-know-about-omicron-variant . Accessed December 24, 2021

COVID Omicron Variant: What You Need to Know. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/covid-omicron-variant-what-you-need-to-know . Accessed December 24, 2021

How to Protect Yourself & Others. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/prevention.html . Accessed December 24, 2021

โควิด : WHO ให้ชื่อ “โอไมครอน” สายพันธุ์ใหม่ที่พบแถบแอฟริกาใต้ หลายชาติกลับมาจำกัดการเดินทาง. https://www.bbc.com/thai/international-59428316 . Accessed December 24, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/12/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

Omicron (โอไมครอน) ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่ควรระวัง

ทำความรู้จัก ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 25/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา