backup og meta

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 21/09/2021

    การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

    การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง คือ การตรวจเลือดเพื่อหาอาการแพ้อาหารต่าง ๆ ที่รับประทานในชีวิตประจำวัน จะทำการตรวจก็ต่อเมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปกติกับอาหารที่รับประทานเข้าไป หรืออาจตรวจหลังจากที่ร่างกายมีปัญหาเกิดขึ้น หากร่างกายไม่ได้เกิดอาการผิดปกติกับอาหารที่รับประทานเข้าไป อาจทำให้ผลของการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงไม่แม่นยำ

    การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 

    การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง คือ การตรวจหาอาการแพ้อาหารต่าง ๆ ที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ด้วยการเจาะเลือดบริเวณข้อพับ โดยไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร การตรวจภูมิแพ้ชนิดนี้สามารถทำได้เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปกติกับอาหารที่รับประทานอาหารเข้าไป หรืออาจตรวจหลังจากที่มีอาการแพ้อาหารเกิดขึ้น หากร่างกายไม่เคยมีอาการหรือแสดงปฏิกิริยาที่ผิดปกติกับอาหาร การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการระบุอาหารที่แพ้ได้

    หากร่างกายไม่ได้เกิดอาการผิดปกติกับอาหารที่รับประทานเข้าไป การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงอาจจะมีข้อเสียมากกว่าประโยชน์ เนื่องจากยังไม่มีผลวิจัยที่รองรับว่า การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจะสามารถตรวจพบความไวต่ออาหารได้อย่างแม่นยำทั้งหมด ดังนั้น หากร่างกายไม่ได้มีปฏิกิริยาผิดปกติกับอาหารที่รับประทานอาหารเข้าไปจริง ๆ ผลการทดสอบปฏิกิริยาอาจจะแสดงผลที่ผิดพลาด และนั่นอาจเป็นสาเหตุในเกิดการเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารโดยไม่จำเป็น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย

    ความแตกต่างของภูมิแพ้อาหารแฝงกับการแพ้อาหาร

    ภูมิแพ้อาหารแฝงกับการแพ้อาหารนั้นมีความแตกต่างกัน โดยความต่างกันอาจมีดังนี้

    ภูมิแพ้อาหารแฝง

    • เกิดได้จากอาหารหลายชนิด
    • อาการจะปรากฏก็ต่อเมื่อรับประทานอาหารในปริมาณมากเท่านั้น
    • อาการอาจค่อย ๆ เกิด และอาจเกิดบ่อยมากขึ้นหลังจากรับประทานอาหารที่มีปัญหาเข้าไปไม่กี่ชั่วโมง
    • ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ไม่มีอาการแพ้ และไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

    การแพ้อาหาร

    • มักเกิดจากอาหารที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งการแพ้อาหารที่อาจพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ ได้แก่ การแพ้ปลา หอย และถั่ว ส่วนการแพ้อาหารที่อาจพบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ นม ไข่ ปลา ถั่วลิสง และถั่วอื่น ๆ
    • อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น มีผื่น หายใจมีเสียงหวีด คัน หลังจากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย และอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
    • เป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ โดยระบบภูมิคุ้มกันอาจคิดว่าโปรตีนที่พบในอาหารเป็นภัยคุกคามต่อร่างกาย
    • อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

    สารในอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการภูมิแพ้อาหารแฝง

    อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน สารอาหารต่าง ๆ และสารเคมีจากธรรมชาติหลายชนิด อาจทำให้เกิดอาการภูมิแพ้อาหารแฝงได้ ซึ่งสารที่อาจทำให้เกิดอาการภูมิแพ้อาหารแฝง มีดังนี้

    โมโนโซเดียมกลูตาเมต หรือวัตถุเจือปนอาหาร (Monosodium Glutamate หรือ MSG)

    วัตถุเจือปนอาหาร 621 คือ ผงชูรส และวัตถุเจือปนอาหาร 625 คือ สารปรุงแต่งรสกลูตาเมต ถูกแยกได้จากสาหร่ายใน พ.ศ. 2451 โดยนักเคมีชาวญี่ปุ่น นอกจากนั้น กลูตาเมตยังอาจเกิดขึ้นในอาหารที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น กามองแบร์ (Camembert Cheese) พาร์มีซานชีส (Parmesan Cheese) มะเขือเทศ ซอสถั่วเหลือง และเห็ด

    ซาลิไซเลต (Salicylates)

    ซาลิไซเลตเป็นแอสไพรินตามธรรมชาติเช่นเดียวกับสารประกอบที่มีอยู่ในสมุนไพร เครื่องเทศ รวมถึงผักและผลไม้หลากชนิด เช่น พริกไทยดำ มินต์ พริกขี้หนู แอปเปิล อะโวคาโด แอสไพรินอาจกระตุ้นลมพิษ ส่งผลโดยตรงต่อแมสต์เซลล์ (Mast cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนัง ดังนั้น ซาลิไซเลตก็อาจทำให้อาการลมพิษในบางคนแย่ลงได้เช่นกัน

    สารพิษ

    สารพิษ อย่างสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในผักและผลไม้ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง นอกจากนั้น อาหารที่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย หรือผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่เกิดจากการเน่าเสีย อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษเนื่องจากสารพิษได้ ยกตัวอย่างเช่น หากปลาบางชนิดถูกเก็บรักษาไว้ไม่ดี แบคทีเรียในลำไส้ของปลาจะเปลี่ยนฮิสทิดีนเป็นฮิสตามีน ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายภูมิแพ้ได้

    การแพ้แลคโตส

    การแพ้แลคโตสเป็นตัวอย่างหนึ่งของการขาดเอนไซม์ อาจเกิดขึ้นเมื่อคนเรามีเอนไซม์แลคเตสไม่เพียงพอต่อการย่อยแลคโตสในนมวัวและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด มีแก๊สในท้อง ปวดท้อง ท้องร่วงหลังจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม ภาวะนี้อาจทำให้ไม่สบายตัว แต่ไม่เป็นอันตราย ไม่ก่อให้เกิดผื่น หรือภูมิแพ้ สำหรับการวินิจฉัยอาจทำได้โดยการจำกัดแลคโตสชั่วคราวแล้วจึงกลับมารับประทานใหม่

    เวโซแอคทิฟเอมีน (Vasoactive Amine)

    เวโซแอคทิฟเอมีน เช่น ไทรามีน (Tyramine) เซโรโทนิน (Serotonin) ฮีสทามีน (Histamine) เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรนในบางคน สารเหล่านี้พบได้ในสับปะรด กล้วย เนื้ออบ ผัก ไวน์แดง ไวน์ขาวที่บ่มด้วยไม้ ช็อกโกแลต ผลไม้รสเปรี้ยว และอะโวคาโด สารประกอบเอมีนอาจสามารถออกฤทธิ์กับหลอดเลือดขนาดเล็กได้โดยตรง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการหน้าแดง ไมเกรน และคัดจมูกในบางคน

    การวินิจฉัยอาการภูมิแพ้อาหารแฝง

    ส่วนใหญ่การวินิจฉัยภูมิแพ้อาหารแฝงอาจทำได้ด้วยการลองผิดลองถูก สังเกตอาหารที่รับประทานเข้าไปและอาการที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองว่า เกิดปฏิกิริยาอะไรขึ้นกับร่างกายหรือไม่ พยายามจดบันทึกสิ่งที่รับประทานเข้าไปและทำให้เกิดอาการ ลองคัดอาหารที่สงสัยออกจากอาหารที่รับประทานจนกว่าจะไม่เกิดอาการใด ๆ โดยอาจจะต้องทำเช่นนั้นกับอาหารชนิดใหม่ ๆ ด้วย ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยระบุได้ว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝง อย่างไรก็ดี การไปปรึกษาคุณหมออาจเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะคุณหมอจะสามารถอธิบายข้อดี ข้อเสีย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้อย่างถูกต้อง และหากต้องควบคุมอาหาร การปรึกษาคุณหมออาจช่วยให้ทราบถึงการรับสารอาหารอย่างไรให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 21/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา