คำจำกัดความ
ภูมิแพ้เชื้อรา (Mold allergy)
เชื้อราเป็นเชื้อขนาดเล็กที่มีสปอร์แพร่กระจายไปตามอากาศ เชื้อราชอบสิ่งแวดล้อมที่ชื้นและต้องการสิ่งต่างๆ สี่ประการเพื่อเจริญเติบโต ได้แก่ อาหาร อากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม และน้ำ เชื้อราสามารถพบได้นอกบ้าน ในบ้าน และในสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
ทุกคนมีการหายใจเอาสปอร์เชื้อราในอากาศเข้าไป แต่บางคนมีอาการแพ้หรืออาการหอบหืด (Asthma Symptoms) หากได้รับเชื้อรามากเกินไป ภาวะนี่้เรียกว่า แพ้เชื้อรา (Mold Allergy)
หากมีภาวะแพ้เชื้อรา ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยามากเกินไป เมื่อหายใจสปอร์เชื้อราในอากาศเข้า ภาวะแพ้เชื้อราสามารถทำให้ไอ ทำให้คันดวงตา (Eyes Itch) และทำให้เกิดอาการอื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกทรมาน ในผู้ป่วยบางรายนั้น ภาวะแพ้เชื้อราสัมพันธ์กับหอบหืด (Asthma) และการสัมผัสเชื้อราทำให้หายใจติดขัดและอาการอื่นๆ เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
พบได้บ่อยเพียงใด
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ ภูมิแพ้เชื้อรา
ภูมิแพ้เชื้อรา ทำให้เกิดสัญญาณเตือนและอาการเช่นเดียวกันกับการเกิดขึ้นในภูมิแพ้เกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนบนประเภทอื่นๆ สัญญาณเตือนและอาการของเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ที่เกิดจากแพ้เชื้อรา ได้แก่
- จาม (Sneezing)
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
- ไอและมีของเหลวหลังโพรงจมูก
- มีอาการคันที่ดวงตา จมูก และคอ
- น้ำตาไหล
- ผิวหนังแห้งและลอก
อาการแพ้เชื้อรา มีความหลากหลายในแต่ละบุคคลและมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงรุนแรง คุณอาจมีอาการทั้งปีหรืออาการที่กำเริบเพียงในบางช่วงเวลาของปี คุณอาจสังเกตเห็นอาการต่างๆ เมื่ออากาศชื้นหรือเมื่ออยู่ในพื้นที่ภายในหรือภายนอกที่มีความหนาแน่นของเชื้อรามาก
แพ้เชื้อราและหอบหืด
หากคุณมีอาการแพ้เชื้อราและหอบหืด อาการหอบหืดอาจกระตุ้นโดยการสัมผัสสปอร์เชื้อรา ในผู้ป่วยบางรายนั้น การสัมผัสเชื้อราบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการหอบหืดที่รุนแรง สัญญาณเตือนและอาการของหอบหืด ได้แก่
- ไอ
- หายใจมีเสียง
- หายใจลำบาก (Shortness Of Breath)
- แน่นหน้าอก
อาจมีอาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับอาการหนึ่ง โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
คุณควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ คือ คัดจมูก จาม น้ำตาไหล หายใจลำบาก หายใจมีเสียง หรืออาการรบกวนอื่นๆ ที่เรื้อรัง
หากคุณหรือคนที่คุณรักมีสัญญาณเตือนหรืออาการใดๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นหรือหากคุณมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน มักเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของ ภูมิแพ้เชื้อรา
อาการแพ้เชื้อรากระตุ้นโดยการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีความไวมากเกินไป เมื่อคุณหายใจเอาสปอร์เชื้อราขนาดเล็กในอากาศเข้าไป ร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและสังเคราะห์แอนติบอดีที่ทำให้เกิดภูมิแพ้เพื่อต่อต้านเชื้อราดังกล่าว
หลังจากได้รับเชื้อราแล้ว คุณยังคงสังเคราะห์แอนติบอดีที่ “ตรวจจับ’ สิ่งแปลกปลอมนี้เพื่อให้การสัมผัสเชื้อราในครั้งต่อไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาตอบสนอง ปฏิกิริยานี้กระตุ้นการปล่อยสารต่างๆ เช่น ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้เชื้อรา
เชื้อราพบได้มากทั้งภายในและภายนอก เชื้อรามีหลายชนิด แต่เชื้อราเพียงบางชนิดทำให้เกิดภูมิแพ้ เชื้อราที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ เชื้อรา Alternaria เชื้อรา Aspergillus เชื้อรา Cladosporium และเชื้อรา Penicillium
การแพ้เชื้อราชนิดหนึ่งไม่จำเป็นต้องหมายความว่าคุณแพ้เชื้อราชนิดอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับแพ้เชื้อรา เช่น
- มีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้ หากภูมิแพ้และหอบหืดถ่ายทอดในครอบครัว คุณมีโอกาสมากขึ้นที่จะแพ้เชื้อรา
- ประกอบอาชีพที่สัมผัสเชื้อรา อาชีพที่อาจมีการสัมผัสเชื้อรามาก ได้แก่ การทำฟาร์ม การเลี้ยงโคนม การทำซุง การอบขนม โรงสี งานไม้ งานในเรือนกระจก การทำไวน์ และการซ่อมเฟอร์นิเจอร์
- การอาศัยในบ้านที่มีความชื้นสูง หากความชื้นภายในบ้านมีค่าสูงกว่าร้อยละ 50 คุณอาจสัมผัสเชื้อรามากขึ้นที่บ้านเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้มากในทุกที่หากมีภาวะที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่ ในชั้นใต้ดิน ด้านหลังผนังในกรอบต่างๆ ในปูนที่เคลือบด้วยสบู่และพื้นผิวชื้นอื่นๆ ในแผ่นรองพรม และในพรมเอง การสัมผัสเชื้อราในบ้านในปริมาณมากอาจกระตุ้นอาการแพ้เชื้อราได้
- การทำงานหรือการอาศัยอยู่ในสิ่งก่อสร้างที่มีความชื้นมากเกินไป ตัวอย่าง ได้แก่ ท่อรั่ว รอยน้ำรั่วในระหว่างที่มีพายุฝน และความเสียหายจากน้ำท่วม ในบางครั้ง เกือบทุกสิ่งก่อสร้างมีความชื้นสูง ความชื้นดังกล่าวทำให้เชื้อราเจริญเติบโต
- การอาศัยอยู่ในบ้านที่มีการระบายอากาศไม่ดี ขอบหน้าต่างและขอบประตูที่แน่นอาจกักเก็บความชื้นไว้ภายในและป้องกันไม่ให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม ซึ่งเป็นภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา บริเวณที่มีความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว และห้องใต้ดิน ได้รับผลกระทบได้มากที่สุด
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์เสมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัย
นอกเหนือจากการพิจารณาสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ แล้ว แพทย์อาจทำการตรวจร่างกายเพื่อรวมหรือแยกความผิดปกติทางสุขภาพอื่นๆ ออกไป นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจแนะนำการทดสอบหนึ่งประการหรือมากกว่าเพื่อดูว่าคุณเป็นภูมิแพ้ที่สามารถวินิจฉัยได้หรือไม่ การทดสอบดังกล่าว ได้แก่
- การเจาะตรวจผิวหนัง (Skin prick test) การตรวจนี้ใช้สารละลายก่อภูมิแพ้ที่พบได้ทั่วไปหรือสงสัยว่าทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น เชื้อราที่พบได้ในท้องถิ่น ในระหว่างการทดสอบ จะทาสารดังหล่าวเข้าไปที่ผิวหนังในบริเวณแขนหรือหลังด้วยการเจาะขนาดเล็ก หากคุณมีอาการแพ้ คุณจะมีตุ่มขึ้นในบริเวณผิวหนังที่ทำการทดสอบ
- การตรวจเลือด (Blood test) การตรวจเลือด ซึ่งในบางครั้งเรียกว่า radioallergosorbent test สามารถตรวจวัดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อราได้โดยการวัดปริมาณของแอนติบอดีบางชนิดในกระแสเลือดที่เรียกว่าแอนติบอดี immunoglobulin E (IgE) ตัวอย่างเลือดถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ซึ่งสามารถตรวจหาร่องรอยการแพ้เชื้อราบางชนิดได้
การรักษา
การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับภูมิแพ้ใดๆ คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งกระตุ้นต่างๆ อย่างไรก็ดี เชื้อราพบได้ทั่วไปและคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งหมด ในขณะที่ไม่มีหนทางที่แน่ชัดเพื่อรักษาเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่เกิดจากการแพ้เชื้อรานั้น ยาจำนวนมากสามารถบรรเทาอาการต่างๆ ได้ ยาดังกล่าว ได้แก่
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ใช้พ่นจมูก (Nasal corticosteroids) สเปรย์พ่นจมูกนี้ช่วยป้องกันและรักษาการอักเสบที่เกิดจากภูมิแพ้เชื้อราที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน สำหรับผู้ป่วยหลายรายนั้น สเปรย์พ่นจมูก เป็นยารักษาภูมิแพ้ที่ได้ผลมากที่สุดและมักเป็นยาชนิดแรกที่แพทย์สั่งให้ใช้
ตัวอย่าง ได้แก่ ยาไซเคิลโซไนด์ (ciclesonide) (Omnaris) ยาฟลูไทคาโซน (fluticasone) (Flonase) ยาโมมีทาโซน (mometasone) (Nasonex) ยาทรัยอัมไซโนโลน (triamcinolone) (Nasacort AQ) และยาบูเดโซไนด์ (budesonide) (Rhinocort Aqua) เลือดกำเดาไหลและจมูกแห้งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดของยาเหล่านี้ซึ่งมักมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ในระยะยาว
ยาแก้แพ้ (Antihistamines) ยาเหล่านี้สามารถช่วยเกี่ยวกับอาการคัน จาม และน้ำมูกไหล ยานี้ออกฤทธิ์โดยขัดขวางสารฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ปล่อยจากระบบภูมิคุ้มกันในระหวา่งที่มีอาการแพ้
ยาแก้แพ้ที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป (Over-the-counter (OTC) antihistamines) ได้แก่ ยาลอราทาดีน (loratadine) (Alavert, Claritin) ยาเฟ็กโซเฟนาดีน (fexofenadine) (Allegra) และยาเซไทไรซีน (cetirizine) (Zyrtec Allergy) ยาเหล่านี้ทำให้เกิดอาการง่วงซึมหรือปากแห้งเล็กน้อยหรือไม่ทำให้เกิดอาการ ยาแก้แพ้แบบเดิม เช่น ยาเคลมาสไทน์ (clemastine) (Tavist-1) ได้ผลเช่นกันแต่สามารถทำให้ง่วงซึม ส่งผลต่อการทำงานและการเรียน และทำให้ปากแห้งได้
สเปรย์พ่นจมูกอาเซลาสไทน์ (azelastine) (Astelin, Astepro) และออโลพาทาไดน์ (olopatadine) (Patanase) สามารถหาได้ตามคำสั่งของแพทย์ ผลข้างเคียงของสเปรย์พ่นจมูกอาจได้แก่ อาการขมปากและจมูกแห้ง
ยารับประทานแก้คัดจมูก (Oral decongestants) ยารับประทานแก้คัดจมูกที่วางจำหย่ายโดยทั่วไป (OTC oral decongestants) ได้แก่ ยาซูดาเฟด (Sudafed) และยาไดรซอรัล (Drixoral) เนื่องจากยารับประทานแก้คัดจมูกสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้นั้น ให้หลีกเลี่ยงยาดังกล่าวหากมีความดันโลหิตสูง (hypertension) ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ (insomnia) ไม่มีความอยากอาหาร (loss of appetite) ใจสั่น (palpitations) กังวล (anxiety) และกระสับกระส่าย (restlessness)
ยาพ่นจมูกแก้คัดจมูก (Decongestant nasal sprays) ยาเหล่านี้ ได้แก่ ยาอ็อกซีเมทาโซไลน์ (oxymetazoline) (Afrin และอื่นๆ) ห้ามใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลามากกว่าสามหรือสี่วันเนื่องจากสามารถทำให้อาการคัดจมูกกลับมาเป็นซ้ำโดยมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อหยุดใช้ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้อื่นๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และกระวนกระวาย
ยามอนเทลูคาสท์ (Montelukast) ยามอนเทลูคาสท์ (Singulair) เป็นยาเม็ดที่ใช้ขัดขวางการทำงานของสารลิวโคทรีน (leukotrienes) ซึ่งเป็นสารเคมีในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น มีเสมหะมากเกินไป ได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้ผลในการรักษาหอบหืดที่เกิดจากภูมิแพ้ (allergic asthma) และยังใช้ได้ผลในการรักษาภูมิแพ้เชื้อราด้วยเช่นกัน
เช่นเดียวกับยาแก้แพ้นั้น ยานี้ใช้ไม่ได้ผลเท่ากับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบพ่นจมูก (inhaled corticosteroids) ยานี้มักใช้เมื่อไม่สามารถใช้สเปรย์พ่นจมูกได้หรือเมื่อมีอาการหอบหืดที่ไม่รุนแรง
การรักษาอื่นๆ สำหรับแพ้เชื้อรา ได้แก่
ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) การรักษาแบบนี้ ซึ่งเป็นชุดการฉีดสารก่อภูมิแพ้ สามารถใช้ได้ผลเป็นอย่างมากสำหรับภูมิแพ้บางชนิด เช่น ไข้ละอองฟาง (hay fever) การฉีดสารก่อภูมิแพ้ใช้สำหรับการแพ้เชื้อราบางชนิดเท่านั้น
การล้างจมูก (Nasal lavage) เพื่อช่วยเกี่ยวกับอาการจมูกระคายเคืองนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาอาจแนะนำให้คุณล้างจมูกทุกวันด้วยน้ำเกลือ ให้ใช้ขวดสำหรับบีบที่ได้รับการออกมาขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ขวดที่อยู่ในชุดน้ำเกลือ (Sinus Rinse และอื่นๆ) กระบอกฉีดเป็นหลอด หรือถ้วยเพื่อล้างช่องจมูก การรักษาที่บ้านนี้ ซึ่งเรียกว่าการล้างจมูก สามารถช่วยให้จมูกปราศจากสารระคายเคืองได้
ให้ใช้น้ำที่ผ่านการกลั่น ฆ่าเชื้อ ต้มและทำให้เย็นลง หรือกรองโดยใช้เครื่องกรองที่มีขนาดรูกรอง 1 ไมครอนหรือเล็กกว่าเพื่อทำสารละลายสำหรับล้างจมูก นอกจากนี้ ให้ล้างอุปกรณ์ล้างจมูกหลังจากการใช้แต่ละครั้งโดยใช้น้ำที่กลั่น ฆ่าเชื้อ ต้มและทำให้เย็นลง หรือกรองเช่นเดียวกัน และผึ่งไว้ในอากาศที่แห้ง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานที่ช่วยจัดการการแพ้เชื้อรา
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณจัดการอาการแพ้เชื้อราได้
- กำจัดแหล่งที่ทำให้เกิดความชื้นในชั้นใต้ดิน เช่น รอยรั่วของท่อหรือรอยรั่วของน้ำใต้ดิน
- ใช้เครื่องกำจัดความชื้นในบริเวณบ้านที่มีกลิ่นอับหรือชื้น รักษาระดับความชื้นให้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ให้หมั่นทำความสะอาดถังรวม (collection bucket) และขดลวดควบแน่น (condensation coils)
- ใช้เครื่องปรับอากาศและให้พิจารณาการติดตั้งระบบปรับอากาศกลางที่ติดตั้งตัวกรองอนุภาคอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง (high-efficiency particulate air (HEPA) filter attachment) ตัวกรอง HEPA สามารถดักจับสปอร์เชื้อราจากอากาศภายนอกก่อนแพร่กระจายภายในบ้าน
- เปลี่ยนตัวกรองในเตาเผาและเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ ให้ตรวจดูท่อทำความร้อนอากาศแบบบีบอัดและทำความสะอาดหากจำเป็น
- ให้มั่นใจว่าห้องน้ำมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสมและให้เดินเครื่องพัดลมทำความสะอาดในระหว่างและหลังอาบน้ำทันทีเพื่อทำให้อากาศแห้ง หากไม่มีพัดลมระบายอากาศ ให้เปิดหน้าต่างหรือประตูในขณะอาบน้ำ
- ห้ามปูพรมที่พื้นห้องน้ำหรือชั้นใต้ดิน
- เพิ่มการระบายน้ำใต้ดินให้ห่างจากบ้านโดยกำจัดใบไม้และพืชต่างๆ จากพื้นและทำความสะอาดรางระบายน้ำฝนเป็นประจำ
- รักษาภาชนะที่ทำจากพืชออร์แกนิกให้สะอาดและแห้ง เช่น ภาชนะที่ทำจากฟางข้าว หวาย หรือปอ
- ทิ้งหรือนำหนังสือหรือหนังสือพิมพ์เก่ากลับมาใช้ใหม่ หากเก็บไว้ในที่ชื้น เช่น ชั้นใต้ดิน อาจกลายเป็นเชื้อราได้อย่างรวดเร็ว
- นอนโดยปิดหน้าต่างเพื่อไม่ให้เชื้อราภายนอกเข้ามาได้ ความหนาแน่นของสปอร์เชื้อราในอากาศมีแนวโน้มมากที่สุดในตอนกลางคืนเมื่ออากาศเย็นและชื้น
- สวมใส่หน้ากากกันฝุ่นที่ปิกจมูกและปากเพื่อป้องกันสปอร์เชื้อราหากจำเป็นต้องกวาดใบไม้ ตัดหญ้า หรือทำงานใกล้มูลสัตว์
- หลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านในบางเวลา เช่น หลังมีพายุทันที ในอากาศที่มีหมอกหรือชื้น หรือเมื่อความหนาแน่นของเชื้อรามีค่าสูง
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]