backup og meta

เช็ก! ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณอาจละเลย

เช็ก! ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณอาจละเลย

มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไปเป็นจำนวนมาก การเรียนรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ทั้งปัจจัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจช่วยให้สามารถลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้

ทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเซลล์บริเวณปากมดลูกของคุณมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายได้ไปยังบริเวณข้างเคียง หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอด ตับ กระเพาะปัสสาวะ ช่องคลอด ทวารหนัก ส่วนใหญ่แล้ว โรคมะเร็งปากมดลูก จะเกิดจาการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) เป็นเชื้อที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก มีอะไรบ้าง

  • ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV)

ส่วนใหญ่ โรคมะเร็งปากมดลูก จะเกิดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก เมื่อคุณติดเชื้อ HPV มันเป็นเรื่องยากที่จะรู้ตัว เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้มักไม่แสดงอาการ จนนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ในที่สุด ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา HPV แต่การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ได้

  • หนองในเทียม

หนองในเทียมเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมอย่างดีที่จะทำให้เชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) เจริญเติบโต เมื่อคุณเป็นหนองในเทียมมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ และคุณสามารถติดหน่องในเทียมได้หากเปลี่ยนคู่นอนบ่อย

  • ประวัติทางเพศ

การมีเพศสัมพันธ์อาจเพิ่มหรือลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ยิ่งถ้าคุณเริ่มมีเพศสัมพันธ์แต่อายุน้อยและเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ปัจจัยเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) และนำไปสู่การเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ตามมา

  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่หากภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้คุณติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ที่เป็นสาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก

  • การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้คุณเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้เป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ และสำหรับผู้ที่สูดควันบุหรี่เข้าไปก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน

  • ประวัติการตั้งครรภ์

ความเสี่ยงเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก จะเพิ่มสูงขึ้นหากคุณเคยคลอดบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป อาจเป็นไปได้หลายสาเหตุ เนื่องจากอาจเคยมีเพศสัมพันธ์หลายครั้ง สตรีมีครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะต่ำลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) นอกจากนั้น อายุก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหากคุณมีลูกก่อนอายุ 20 ปี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้

  • อาหาร

การรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ไม่เพียงพออาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้

  • ยาคุมกำเนิด

การกินยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก มากขึ้น

  • การใช้ยาทำแท้ง

ผู้หญิงที่เคยใช้ยาทำแท้งเอทิลสติลเบสทรอล (Diethylstilbestrol) หรือ DES อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดเซลล์ใสในช่องคลอด หรือ โรคมะเร็งปากมดลูก ได้

  • กรรมพันธุ์

หากคุณมีญาติ แม่ หรือพี่สาวของคุณเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก

วิธีลดปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถลดปัจจัยเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cervical Cancer. https://www.webmd.com/cancer/cervical-cancer/cervical-cancer. Accessed June 16, 2021

American Cancer Society. Signs and symptoms of cervical cancer. Updated January 3, 2020. Accessed June 16, 2021

Patient education: Cervical cancer treatment; early-stage cancer (Beyond the Basics). https://www.uptodate.com/contents/cervical-cancer-treatment-early-stage-cancer-beyond-the-basics#H4327880. Accessed June 16, 2021

What Can I Do to Reduce My Risk?. https://www.cdc.gov/cancer/cervical/basic_info/prevention.htm. Accessed June 16, 2021

Cervical cancer risk factors. https://www.cancercenter.com/cancer-types/cervical-cancer/risk-factors. Accessed June 16, 2021

Cervical Cancer Prevention. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK65901/. Accessed June 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีน HPV ในสตรีวัยทำงาน ที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องรู้!

9 เรื่อง HPV ไวรัสร้าย ใกล้ตัว พ่อแม่ต้องรู้!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา