backup og meta

รู้ทันโรคร้าย มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer)

รู้ทันโรคร้าย มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer)

โรคมะเร็งนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆ  อีกมากมาย ซึ่ง มะเร็งศีรษะและลำคอ เป็นมะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จัก ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มาฝากทุก ๆ คน เพื่อให้ได้รู้จักกับมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น

คำจำกัดความ

มะเร็งศีรษะและลำคอ คืออะไร

มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer) มักเริ่มต้นในเซลล์สความัส (Squamous) เป็นมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจส่วนบนและบริเวณคอ เช่น มะเร็งของหู คอ จมูก รวมไปถึงบางตำแหน่งที่เห็นได้ยาก เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งช่องหู ต่อมไทรอยด์ หรือต่อมน้ำลายที่โตผิดปกติ

โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถเกิดขึ้นได้ในที่ไหนบ้าง

  • ช่องปาก รวมถึงริมฝีปาก ด้านหน้าสองในสามของลิ้น เหงือก แก้ม พื้นปาก(ด้านล่างของปาก) เพดานปาก บริเวณเหงือกหลังฟันคุด
  • คอหอย เป็นท่อยาวประมาณ 5 นิ้วที่ยาวจากด้านหลังจมูกจนถึงด้านบนของหลอดอาหาร คอหอยนั้นรวมถึงทอนซิลด้านหลังของลิ้น และเพดาน
  • กล่องเสียง ทำหน้าที่ป้องกันอาหารไม่ให้ตกไปในหลอดลมขณะรับประทานอาหาร เป็นทางผ่านของอากาศในการหายใจ ส่วนสำคัญในการเกิดเสียง
  • โพรงจมูก และไซนัส ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นของอากาศ โดยโพรงจมูกเป็นช่องว่างอยู่ภายในจมูก
  • ต่อมน้ำลาย เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้าง และหลั่งน้ำลายเข้าสู่ภายในช่องปาก อยู่ในส่วนล่างของปากใกล้กับกระดูกขากรรไกร

โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ พบได้บ่อยแค่ไหน

โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มีสัดส่วนเกือบ 4% ของมะเร็งทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา มะเร็งชนิดนี้พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิง นอกจากนั้น โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ยังได้รับการวินิจฉัยบ่อยในผู้ที่มีอายุ มากกว่า 50 ปี ซึ่งพบได้มากกว่าในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย

อาการ

อาการ มะเร็งศีรษะและลำคอ

โดยอาการของ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง

  • อาการมะเร็งช่องปาก เช่น เป็นตุ่มก้อนในปากที่โตขึ้นเรื่อย ๆ แผลเรื้อรังบริเวณปาก กลืนอาหารลำบาก ฟันหลุด กลิ่นปาก
  • อาการมะเร็งคอหอย เช่น  หายใจลำบาก หรือพูดไม่ออก ปัญหาในการได้ยิน
  • อาการมะเร็งกล่องเสียง ได้แก่ เสียงเริ่มเปลี่ยนไป มีเสียงแหบเรื้อรัง กลืนอาหาร มีเสียงดังขณะหายใจ หายใจลำบาก ไอเรื้อรัง มีก้อนบริเวณคอ หรือคอบวม
  • อาการมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่ หูอื้อ ฟังไม่ชัด การรับรู้กลิ่นลดน้อยลง ปวดหัว
  • อาการมะเร็งต่อมน้ำลาย ได้แก่ อาการบวมใต้คางหรือรอบ ๆ กราม กล้ามเนื้อใบหน้าชา หรืออาจเป็นอัมพาต รูปใบหน้าเริ่มบิดเบี้ยว

นอกจากนั้นยังมีอาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดร้าวจากมะเร็งลุกลามไปที่เส้นประสาท รวมไปอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น คุณควรไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจสอบ และปรึกษาเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ

สาเหตุของ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมากร่วมกับใบยาสูบพฤติกรรมในอดีตที่สามาถพบได้บ่อย ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีบางคนที่สูบ
  • ควันบุหรี่มือสอง
  • การได้รับแสงแดดเป็นเวลานาน เช่น การอาบแดด
  • พันธุกรรม และครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคมะเร็ง
  • อายุที่มากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิง
  • การได้รับรังสี
  • ภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • การติดเชื้อ HPV

การวินิจฉัยและรักษาโรค

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ

หากคุณเป็น โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ แพทย์จะพยายามค้นหาว่ามะเร็งได้ลุกลามไปไกลแค่ไหน และอยู่ในระยะใด โดยการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้

  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การทดสอบ HPV
  • การส่องกล้อง
  • การตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อ และทดสอบในห้องปฏิบัติ
  • การทดสอบภาพ เช่น CT Scan เอกซเรย์ เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ

ประเภทของการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ บริเวณที่เกิดมะเร็ว ระยะของมะเร็ง รวมไปถึงสุขภาพร่างกาย ซึ่งอาจได้รับการรักษาเพียงประเภทเดียว หรือรักษาแบบผสมผสาน

ดังนั้น การรักษา โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มี 3 ประเภทหลัก ได้แก่

โดยปกติแล้ว ผู้ป่วย โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ระยะเริ่มต้น ได้รับการรักษาด้วยวิธีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการฉายรังสีหรือการผ่าตัด หากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะที่เริ่มรุนแรงมักจะได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีร่วมกัน

โดยทั่วไปแล้ว อาจใช้วิธีการบำบัดด้วยรังสีอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อรักษา โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ

  • การบำบัดด้วยอิเล็กตรอน (EBT) เป็นวิธีการส่งรังสีเอกซ์พลังงานสูงหรือลำแสงโปรตอนไปยังตำแหน่งเนื้องอก
  • การรักษาด้วยเทคนิคปรับความเข้ม (IMRT) เป็นเทคนิคที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และแตกต่างจากแบบ 3 มิติ การฉายรังสีบำบัดที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งใช้เครื่องเร่งรังสีเอกซ์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งปริมาณรังสีที่แม่นยำไปยังเนื้องอก

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับ โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ได้

  • การหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมด
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีกลิ่นบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด และทาครีมกันแดด
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การดูแลสุขภาพช่องปาก

ดังนั้น ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ และหมั่นคอยสังเกตสุขภาพของตัวเอง ซึ่งหากเริ่มมีอาการที่ผิดปกติ ควรไปหาคุณหมอ เพื่อทำการตรวจสุขภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Head and Neck Cancers. https://www.cancer.gov/types/head-and-neck/head-neck-fact-sheet. Accessed July 21, 2021

Head and Neck Cancer Treatment. https://www.radiologyinfo.org/en/info/hdneck. Accessed July 21, 2021

Head and Neck Cancer: Risk Factors and Prevention. https://www.cancer.net/cancer-types/head-and-neck-cancer/risk-factors-and-prevention. Accessed July 21, 2021

Everything to know about head and neck cancer. https://www.medicalnewstoday.com/articles/head-and-neck-cancer. Accessed July 21, 2021

Head and Neck Cancer: What to Know. https://www.webmd.com/cancer/head-neck-cancer. Accessed July 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/08/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma)

สัญญาณเตือนมะเร็งศีรษะและลำคอ ที่ไม่ควรมองข้าม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 04/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา