backup og meta

ประเภทของลูคีเมีย อยากทราบมั้ยว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ประเภทของลูคีเมีย อยากทราบมั้ยว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่ใคร ๆ หลายคนทราบกันดีในชื่อ ลูคีเมีย เป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก และเม็ดเลือดขาว เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวมีการแบ่งตัวเร็วผิดปกติ โดยมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่ง ประเภทของลูคีเมีย ในแต่ละชนิดคร่าว ๆ ได้ว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ซึ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ก่อนอื่นเลยมารู้กับปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวกันเลย

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ประเภทของลูคีเมีย มีอะไรบ้าง 

การจำแนก ประเภทของลูคีเมีย เกิดจากระยะเวลาการแพร่กระจายของเซลล์ในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้แก่

เป็นมะเร็งของไขกระดูก และเลือดที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เซลล์ที่เสียหายนี้จะกลายเป็นเซลล์ลูคีเมีย และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้เป็นพันล้านเซลล์ ไม่มีสาเหตุในการเกิดที่ชัดเจน แม้ว่า ALL จะเริ่มจากสเต็มเซลล์ในไขกระดูก แต่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง ต่อมน้ำเหลือง และอัณฑะได้ แต่โอกาสที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติก เป็นชนิดที่พบบ่อยในเด็ก

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute Myelogenous Leukemia หรือ AML)

สาเหตุหลักเกิดจากความผิดปกติของ โครโมโซม สารพันธุกรรม ของสเต็มเซลล์ที่กำลังพัฒนาในไขกระดูกได้รับความเสียหาย เป็นผลให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด AML พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ (Chronic Myelogenous Leukemia หรือ CML)

เป็นโรคที่เซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดเป็นมะเร็ง และมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติจนเต็มไขกระดูก ทำให้แย่งพื้นที่ของเม็ดเลือดชนิดอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก (Chronic Lymphocytic Leukemia หรือ CLL)

ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการ มีแนวโน้มค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่จะมาพบว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ จากการตรวจเลือดโดยบังเอิญ

ประเภทของลูคีเมีย ชนิดพบได้ยาก

ประเภทที่จะกล่าวดังตอนไปนี้ เป็นประเภทที่สามารถพบได้น้อย ซึ่งได้แก่

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์ขน (Hairy Cell Leukemia หรือ HCL)

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดเซลล์มีขน “เซลล์มีขน’ (ลิมโฟไซต์ชนิดบีที่เป็นมะเร็ง) จะสะสมในไขกระดูกซึ่งขัดขวางการผลิตของ เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด HCL เป็นมะเร็งเรื้อรัง มีการเติบโตของเซลล์มะเร็งอย่างช้า ๆ

  • บี-เซลล์ โพรลิมโฟซิติก ลิวคีเมีย (B-Cell Prolymphocytic Leukemia หรือ B-PLL)

มีลักษณะเฉพาะโดยการเติบโตของ B-cell (B-lymphocytes) ที่ไม่สามารถควบคุมได้ B-cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน โดย B-PLL มักเกิดกับผู้สูงอายุ และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

  • ทีเซลล์ โพรลิมโฟซิติก ลิวคีเมีย (T-cell Prolymphocytic Leukemia: T-PLL)

การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติในยีนของ T-cell ทำให้ T-cell ปกติ และแข็งแรงกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ข้อผิดพลาดทางพันธุกรรมเหล่านี้ใน T-cell ที่กลายพันธุ์ทำให้เซลล์เติบโต และแบ่งตัวออกไป โดยเมื่อเซลล์ปกติจะหยุดแบ่งตัวและตายในที่สุด ซึ่งผู้ป่วย T-PLL ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 14 ที่ส่งผลทำให้เกิดการกลายพันธุ์

การป้องกันไม่ให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การป้องกันไม่ให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไม่มีวิธีไหนที่เป็นผล 100% เพราะปัจจัย สาเหตการเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว นั้นมาจากพันธุกรรม หรือแม้แต่คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็ง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังมีวิธีที่จะช่วยบางอย่างที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้ ดังนี้

  • งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูพืช หรือสารเคมีทางอุตสาหกรรม
  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณประโยชน์ให้น้อยลง

ประเภทของลูคีเมีย มีมากมายและยังสามารถแบ่งแยกยิบย่อยออกไปอีก ซึ่งมีการจำแนกเพื่อดูอาการ และรักษาตามประเภทของลูคีเมียที่เป็น การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อจะได้รู้ว่าสุขภาพของตนเองดีเพียงใด และยังสามารถรักษาอาการได้ไวหากตรวจพบโรคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้อาการทรุดลงกว่าเดิม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Types of Leukemia. https://www.lls.org/leukemia. Accessed June 15, 2021

Leukemia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/leukemia/symptoms-causes/syc-20374373. Accessed June 15, 2021

B-cell prolymphocytic leukemia has 3 subsets. https://ashpublications.org/blood/article/134/21/1777/428779/B-cell-prolymphocytic-leukemia-has-3-subsets. Accessed June 15, 2021

T-cell prolymphocytic leukemia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3523759/. Accessed June 15, 2021

Hairy cell leukemia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hairy-cell-leukemia/symptoms-causes/syc-20372956. Accessed June 15, 2021

Leukemia Awareness and Prevention. https://utswmed.org/conditions-treatments/leukemia/leukemia-awareness-and-prevention/. Accessed June 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/06/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มีกี่ชนิดกันนะ แล้วชนิดไหนรุนแรงกว่ากัน

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 17/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา