backup og meta

เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย แต่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 17/06/2021

    เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย แต่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้

    มนุษย์เราถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์หลายชนิด โดยปกติเซลล์จะเจริญเติบโต และแบ่งตัวในการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตามขั้นตอน หรือระบบภายในร่างกาย แต่บางครั้งเซลล์ใหม่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไม่จำเป็นทำให้เกิดก้อนเนื้อขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า “เนื้องอก” ซึ่งเนื้องอกนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในสมอง แล้วสงสัยกันไหมว่า เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย คืออะไรกันนะ อยากรู้กันไหม มาอ่านเลย!!

    เนื้องอกในสมองมีกี่ชนิด แล้ว เนื้องอกในสมองที่พบบ่อย คือ

    เนื้องอกในสมอง มีหลายชนิด แบ่งออกมาคร่าว ๆ ประมาณ 120 ชนิด แต่แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

    • ชนิดเนื้องอกของตัวสมองเอง
    • ชนิดของเนื้องอกของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ และลุกลามมาที่สมอง เช่น เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง และอีกกลุ่มก็คือ เนื้องอกของเส้นประสาทต่าง ๆ

    เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) คืออะไร 

    เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) เป็นเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง เกิดขึ้นในชั้นเยื้อหุ้มสมอง และเยื้อหุ้มไขสันหลัง ซึ่งสามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากมักจะพบในผู้สูงอายุโดยเฉพาะเพศหญิง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

    • ระดับ 1 เซลล์เนื้องอกเติบโตช้า ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นระดับที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด
    • ระดับที่ 2 สามารถมีโอกาสกับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้ง แม้จะกำจัดออกไปแล้วก็ตาม และการเจริญเติบโตเร็วกว่าระดับแรก
    • ระดับที่ 3 เป็นเซลล์มะเร็ง ทำให้เนื้องอกมีการเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

    ประเภทของเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง

    • เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง นูน (Convexity Meningioma) เกิดขึ้นบนผิวของสมองใต้กะโหลกศีรษะ
    • เนื้องอกในสมองใต้ฐานกะโหลกศีรษะ (Skull Base Meningioma) เติบโตในกระดูกที่อยู่ด้านล่างของกะโหลกศีรษะและในสันกระดูกที่ด้านหลังของดวงตา
    • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากร่องรับกลิ่น (Olfactory Groove Meningioma) ก่อตัวขึ้นตามเส้นประสาทระหว่างสมองกับจมูก ซึ่งจมูกอาจจะไม่ได้กลิ่นอะไร และยังเสี่ยงต่อการมองเห็นอีกด้วย
    • เยื้อหุ้มสมองอักเสบ (Intraventricular Meningioma) เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมอง และไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม
    • เยื่อหุ้มสมองส่วนหลัง (Petrous Meningioma) ก่อตัวขึ้นที่ด้านล่างของสมอง ทำให้สามารถกดทับเส้นประสาทสมอง ก่อให้เกิดปัญหาทางใบหน้า และการได้ยิน

    สัญญาณบ่งบอกของเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง

    • การมองเห็นที่เปลี่ยนไป เช่น อาจเห็นภาพเบลอ หรือภาพซ้อน
    • สูญเสียการได้ยิน หรือการรับรู้กลิ่น
    • เกิดอาการสับสน และปวดศีรษะ
    • ร่างกายกระตุก ชัก
    • แขน ขารู้สึกชา หรือแขน ขาอ่อนแรง
    • มีปัญหาด้านการพูด
    • มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากปกติ

    การรักษาของเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง มีกี่แบบ

    การรักษา เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง รักษาตามอาการ และระดับที่เป็น ซึ่งการรักษามีดังนี้

    1. การผ่าตัด เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) มักเกิดขึ้นในสมอง และไขสันหลัง ที่มีโครงสร้างละเอียดอ่อนมาก หมอจะใช้วิธีนี้เพื่อผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
    2. การฉายรังสี ทำให้เนื้องอกหดตัวหรือช่วยป้องกันไม่ให้เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น การฉายรังสียังสามารถใช้ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ หากเนื้องอกกลายเป็นมะเร็ง
    3. การให้ยาเคมีบำบัด  อาจนำมาใช้รักษา เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอ งระดับที่ 2 และระดับที่ 3
    4. การสแกนสมอง เพื่อตรวจสอบว่าเนื้องอกเติบโตหรือไม่

    เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง อาจวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจาก เนื้องอกมักโตช้า เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ผ่านทางน้ำไขสันหลังได้ ซึ่งการวินิจฉัย เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง มักจะทำการตรวจระบบประสาทอย่างละเอียด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 17/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา