backup og meta

ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรเป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตัวเอง

ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรเป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตัวเอง

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนกังวลเกี่ยวกับภาวะนี้ จึงอาจมีคำถามว่า ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรอยู่ในระดับใด เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองให้ดีและควบคุมรวมไปถึงเลือกรับประทานอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ให้เหมาะสม จึงเป็นวิธีที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ได้

[embed-health-tool-bmi]

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะตั้งท้อง เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กล่าวคือ ร่างกายมีฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลินมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่บางรายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง นำไปสู่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางประการที่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น

  • กรรมพันธุ์
  • มีภาวะก่อนเบาหวาน/ระดับน้ำตาลเกินเกณฑ์
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งท้องครั้งก่อน ๆ
  • มีภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน

ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการสุขภาพของคุฯแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรมีค่าเท่าไหร่

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดเป้าหมายในระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • ก่อนรับประทานอาหาร ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 60 – 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า
  • 1 ชั่วโมงหลังอาหาร ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 
  • 2 ชั่วโมงหลังอาหาร ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 

การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเป้าหมายจำเป็นต้องวางแผนการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมทั้งการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์

คุณแม่ที่เป็นเบาหวานควรดูแลตัวเองอย่างไรระหว่างตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นด้วยวิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในขณะตั้งครรภ์

  • ควบคุมและวางแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสมและหลากหลาย เน้นรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ไขมันและแคลอรี่ต่ำ ได้แก่ ผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และธัญพืชไม่ขัดสี รวมทั้งโปรตีนคุณภาพดี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน/หนัง เช่น ไก่ ปลา ไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม และไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารแปรรูป ข้าว-แป้งขัดขาว เบเกอรี่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน น้ำหวาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ดีและมากขึ้น จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยแนะนำให้คุณแม่ออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ (Lower Impact Cardio Exercise) เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักก่อนตั้งท้องและขณะตั้งทัอง ผู้ที่จะวางแผนมีบุตร ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ คือ มีค่าดัชนีมวลกาย 18.5 – 22.9 และในระหว่างตั้งครรภ์น้ำหนักควรขึ้นไม่เกิน 10-15 กิโลกรัม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ ทอด ๆ อาหารที่มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำให้มากขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการช่วยควบคุมน้ำหนักและน้ำตาลในเลือดแบบสุขภาพดี แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย 
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเป็นประจำ เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gestational diabetes and a healthy baby? Yes. https://diabetes.org/diabetes/gestational-diabetes#:~:text=We%20suggest%20the%20following%20target,120%20mg%2Fdl%20or%20less. Accessed February 9, 2023

Gestational diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gestational-diabetes/symptoms-causes/syc-20355339. Accessed February 9, 2023

Gestational diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gestational-diabetes/diagnosis-treatment/drc-20355345#:~:text=A%20blood%20sugar%20level%20of,vary%20by%20clinic%20or%20lab. Accessed February 9, 2023

Gestational Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/gestational-diabetes. Accessed February 9, 2023

Management of Gestational Diabetes Mellitus. https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2003/1101/p1767.html. Accessed February 9, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โภชนาการอาหารป้องกันเบาหวาน มีความสำคัญอย่างไร

อาหารคุมเบาหวาน มีเมนูอาหารอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา