โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นคือ ต่ำกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
[embed-health-tool-bmi]
โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังอาจเป็นสาเหตุของการการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังอาจมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้โครงสร้างหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม แม้ปัจจัยเหล่านี้จะยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเซลล์ในตับอ่อน เนื่องจากตับอ่อนมีบทบาทสำคัญในการผลิตอินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนนำไปสู่โรคเบาหวาน
- ภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน อาจป้องกันการพัฒนาของโรคด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่หากตรวจพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวานแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ หรือร่างกายมีอินซูลินแต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ภาวะดื้ออินซูลิน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมถึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด คลอดบุตรยาก หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ
วิธีสังเกตอาการของโรคเบาหวาน
สำหรับอาการของโรคเบาหวาน อาจได้แก่
- กระหายและอยากอาหารมากเกินปกติ
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน
- น้ำหนักลดหรือเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลีย
- หงุดหงิด
- มองไม่ชัด
- บาดแผลหายช้า
- คลื่นไส้
- ผิวหนังติดเชื้อง่ายและหายช้า
- ผิวคล้ำขึ้นตามรอยพับของร่างกาย (Acanthosis Nigricans)
- ลมหายใจมีกลิ่นหวานเหมือนผลไม้
- รู้สึกชาที่มือหรือเท้า
ลดภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ยิ่งผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับมาตรฐานได้นานเท่าไร สุขภาพก็จะยิ่งดีขึ้น ทั้งยังอาจทำให้โอกาสในการเกิดโรคแทรกซ้อนลดลง นอกจากนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจเหล่านี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
- การตรวจค่า HbA1c
- การตรวจระดับคอเลสเตอรอล
- การตรวจค่าไต
- การตรวจค่าสายตา
- การตรวจสุขภาพเท้า
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถป้องกันหรือลดโอกาสของการเกิดโรคนี้ได้ เพราะโรคหลอดเลือดหัวใจอาจมีโอกาสเกิดเพิ่มขึ้นตามจำนวนปัจจัยเสี่ยง สำหรับบางคนการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิต เช่น การวางแผนมื้ออาหารที่ดีต่อหัวใจ การออกกำลังกายเป็นประจำ การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ การเลิกสูบบุหรี่ และการจัดการกับความเครียด ก็อาจช่วยควบคุมความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ถ้าหากการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตยังไม่เพียงพอ การใช้ยาก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ในกรณีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรเข้าพบคุณเพื่อรับการรักษา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาและรับประทานยาอย่างเคร่งครัดและมีระเบียบวินัย ไม่ปรับยาหรือหยุดยาเอง หากมีอาการไม่พึงประสงค์จากยา หรือทนต่อผลข้างเคียงของยาท่เกิดขึ้นไม่ไหวควรแจ้งมให้คุณหมอทราบเพื่อปรับยา
5 วิธี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะเริ่มต้น นอกจากการได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากคุณหมอแล้ว การดูแลตนเองและความช่วยเหลือจากครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวควรร่วมมือกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย 5 วิธี ดังนี้
- ศึกษาหาความรู้ไปพร้อมกัน
เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ มีน้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกายหรือนั่งเป็นระยะเวลานาน ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลสูง
- ให้กำลังใจผู้ป่วย
ให้กำลังใจกับผู้ป่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตลอดจนกระตุ้น สนับสนุน เช่น สนับสนุนว่าการตรวจหัวใจก็สำคัญไม่แพ้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจตา ผิว และเท้าในผู้ป่วยสูงอายุที่มักมีอาการหลงลืมเป็นประจำ การทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจได้รับ รวมถึงศึกษาวิธีในการลดความเสี่ยงต่าง ๆ สอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับความชอบส่วนตัวและช่วยเหลือผลักดันผู้ป่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายในการลดปัจจัยเสี่ยง
- มีส่วนร่วมในการวางแผน
ครอบครัวอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อทำให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจทบทวนแผนในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงร่วมกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ตรวจดูว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคเบาหวานอย่างถูกต้องหรือไม่ เนื่องจาก ผู้ป่วยเบาหวานกว่าครึ่งไม่สามารถควบคุมการใช้อินซูลินให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้น คุณหมอ ครอบครัว และผู้ป่วย ควรร่วมกันปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง แผนการรักษา เพื่อวางแผนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และพิจารณาแนวทางการบำบัดประเภทอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยอ้างอิงจากเป้าหมายของผู้ป่วยและคุณหมอย์ร่วมกัน
- ร่วมกันตั้งเป้าหมาย
การสังเกตพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและร่วมกันตั้งเป้าหมาย เช่น ผู้ป่วยควรออกกำลังกายระดับปานกลางถึงระดับสูงเป็นเวลา 150 นาที/สัปดาห์ หรือ ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักตัวลง 5% ก็จะส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน ความดันโลหิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ป่วยต้องการความเข้าใจ กำลังใจ การสนับสนุน และความช่วยเหลือจากครอบครัว
- ประเมินความตั้งใจและระบุอุปสรรค
ผู้ป่วยอาจไม่ได้ทำตามแผนที่วางไว้ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาจึงอาจทำให้ไม่ทำตามคำแนะนำของคุณหมอ ค่ารักษาแพงเกินไป ผลข้างเคียงของการรักษา การรักษายุ่งยากเกินไปและไม่สะดวกสบาย หรือแม้แต่การรักษาไม่เข้ากับความชอบหรือสิ่งสำคัญที่ต้องทำ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจไม่บอกสิ่งที่คิดบ่อยครั้งนัก ดังนั้น ครอบครัวอาจต้องคอยซักถาม และช่วยหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย
LIPI-2022-0059