backup og meta

สาเหตุ เบาหวาน มีอะไรบ้าง วิธีป้องกันเบาหวาน

สาเหตุ เบาหวาน มีอะไรบ้าง วิธีป้องกันเบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเรื้อรัง สาเหตุ เบาหวาน ที่พบบ่อย เช่น ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยเกินไป ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเลย เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จนทำให้มีน้ำตาลปริมาณมากสะสมอยู่ในกระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ทั้งนี้ โรคเบาหวานอาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ออกกำลังกายและขยับร่างกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงมากเกินไป

โรคเบาหวาน คือ อะไร

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานทำงานผิดปกติ เนื่องจากร่างกายขาดอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนจากตับอ่อนที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน หรือร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จึงไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ และส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง โรคเบาหวานสามารถแบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งยังมีโรคเบาหวานชนิดอื่นที่พบได้ค่อนข้างบ่อยอย่างภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น โดยปกติแล้ว คนทั่วไปจะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 100-125  มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) แต่หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติมากที่สุด และช่วยควบคุมอาการของโรค

สาเหตุ เบาหวาน มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไปร่างกายจะมีฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตและหลั่งมาจากเบต้าเซลล์ (Beta cell) ของตับอ่อนคอยทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน จากนั้นจะนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน ทั้งยังช่วยนำน้ำตาลบางส่วนไปเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อรอนำไปใช้เป็นพลังงานในช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ฮอร์โมนอินซูลินมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป แต่หากอินซูลินไม่สามารถลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์ได้ตามปกติอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังและเกิดเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด

สาเหตุของเบาหวานอาจแบ่งตามชนิดของโรคได้ดังนี้

  • เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) เกิดจากร่างกายขาดอินซูลินเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินไปใช้เผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีน้ำตาลปริมาณมากสะสมอยู่ในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องฉีดยาอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปต้องฉีดยาอินซูลินทุกวัน
  • เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอแต่เซลล์ในร่างกายกลับไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเกิดเป็นโรคเบาหวาน เมื่อเซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินเป็นเวลานาน ตับอ่อนจะทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตอินซูลินให้ได้มากกว่าเดิม จนส่งผลให้ตับอ่อนอ่อนแอลง และผลิตอินซูลินน้อยลงในที่สุด ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องกินยาเบาหวานซึ่งมีทั้งชนิดที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินและชนิดที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ร่วมกับปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอาการของโรค

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน มีดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

  • มีพ่อแม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
  • เป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • มีภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีไขมันหน้าท้องหรืออ้วนลงพุง เสี่ยงเกิดภาวะดื้ออินซูลิน จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้
  • มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เป็นโรคไขมันพอกตับ
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)
  • มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ระบบเผาผลาญเริ่มทำงานได้ช้าลง
  • มีคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายน้อย นั่งอยู่กับที่วันละหลายชั่วโมง

อาการของโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้

  • หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • เหนื่อยง่าย
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุในเวลาอันสั้น
  • สายตาพร่ามัว
  • แผลหายช้ากว่าปกติ
  • ผิวแห้ง หยาบกร้าน
  • มีอาการชาที่มือและเท้า
  • มีการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เหงือก กระเพาะปัสสาวะ หรือช่องคลอดบ่อยครั้ง
  • เป็นโรคผิวหนังช้าง เกิดเป็นรอยปื้นสีคล้ำที่บริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังคอ รักแร้ ขาหนีบ

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน มีดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

  • มีพ่อแม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
  • เป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • มีภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีไขมันหน้าท้องหรืออ้วนลงพุง เสี่ยงเกิดภาวะดื้ออินซูลิน จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้
  • มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เป็นโรคไขมันพอกตับ
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)
  • มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ระบบเผาผลาญเริ่มทำงานได้ช้าลง
  • มีคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายน้อย นั่งอยู่กับที่วันละหลายชั่วโมง

อาการของโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้

  • หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • เหนื่อยง่าย
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุในเวลาอันสั้น
  • สายตาพร่ามัว
  • แผลหายช้ากว่าปกติ
  • ผิวแห้ง หยาบกร้าน
  • มีอาการชาที่มือและเท้า
  • มีการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เหงือก กระเพาะปัสสาวะ หรือช่องคลอดบ่อยครั้ง
  • เป็นโรคผิวหนังช้าง เกิดเป็นรอยปื้นสีคล้ำที่บริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังคอ รักแร้ ขาหนีบ

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน

การดูแลตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้

  • ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ หากเลือกออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอโรบิกในน้ำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือวันละ 30 นาที และหากออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นสูง เช่น วิดพื้น ซิทอัพ กระโดดเชือก ปั่นจักรยานเร็ว ว่ายน้ำเร็ว เดินขึ้นเขา ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้หลากหลาย เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้หลากสี พืชตระกูลถั่ว ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เช่น มันฝรั่งทอด แฮมเบอร์เกอร์ หมูกระทะ ชาบูปิ้งย่าง
  • รับมือกับความเครียดให้ดีและทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล ในระดับสูง ซึ่งอาจทำให้เบต้าเซลล์ในตับอ่อนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและผลิตอินซูลินได้น้อยลง จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ จึงควรคลายเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น พูดคุยและรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักบำบัด ทำกิจกรรมที่ชอบและผ่อนคลายอย่างการอ่านหนังสือ การดูหนัง การไปเที่ยวพักผ่อนกับครอบครัว เป็นต้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444#. Accessed September 22, 2022

Symptoms & Causes of Diabetes. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/symptoms-causes. Accessed September 22, 2022

Diabetes: An Overview. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/7104-diabetes-mellitus-an-overview. Accessed September 22, 2022

What is Diabetes?. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/diabetes.html. Accessed September 22, 2022

stress and diabetes. https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/emotions/stress#. Accessed September 22, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

โรคเบาหวาน การป้องกัน และการดูแลตัวเอง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา