backup og meta

5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักเลือกรับประทาน ซึ่งมีทั้งรูปแบบของสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยควรรับประทานควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักเลือกรับประทานอาหารเสริม ทั้งในรูปแบบของสมุนไพร และในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควบคู่ไปกับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิด รวมถึงอ่านรายละเอียดและข้อบ่งใช้ให้ชัดเจนก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนั้น ๆ 

5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  • อบเชย 

อบเชยอุดมไปด้วยโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารพฤกษศาสตร์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Medicinal Food เมื่อ พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคอบเชยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดจากการอดอาหาร พบว่า อบเชยทั้งในรูปแบบสมุนไพรและแบบสารสกัด มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และสร้างการตอบสนองต่ออินซูลิน เพียงรับประทานสารสกัดจากอบเชย 120 หรือ 360 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง 11% หรือ 14%

  • โสม

จินซิโนไซด์ (Ginsenoside) ซึ่งเป็นสารสกัดในโสม อาจปรับสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อ พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโสมที่มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน พบว่า ฤทธิ์ต้านเบาหวานของโสมเป็นผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งยังช่วยในการการควบคุมการหลั่งอินซูลิน การรับกลูโคส ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน และต้านการอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญ

  • โพรไบโอติก 

โพรไบโอติก คือ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ โดยโพรไบโอติกจะไปใช้น้ำตาลกลูโคสในลำไส้และช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคลในลำไส้ ดังนั้น จึงทำให้ระดับน้ำตาลในลือดลดลง จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Trakia Journal of Sciences เมื่อ พ.ศ. 2555 ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโพรไบโอติกที่มีผลต่อเบาหวาน พบว่า โพรไบโอติกมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพและโรค ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกัน ปรับปรุงการป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ทั้งยังช่วยลดการสะสมของไขมัน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด

  • วิตามินดี

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินดี มีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน และเพิ่มการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลิน จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน The Journal of Steroid Biochemistry and Molecular Biology เมื่อ พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินดีที่มีผลต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การขาดวิตามินดีเกี่ยวข้องกับการหลั่งอินซูลินที่ลดลง การดื้อต่ออินซูลิน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น การรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินดีอาจช่วยปรับปรุงความไวในการหลั่งอินซูลิน ทั้งยังช่วยปรับปรุงภาวะดื้ออินซูลินอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

  • แมกนีเซียม

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยอาจพบได้ในผัก ปลา เนื้อสัตว์ นม ผลิตภัณฑ์จากนม  ถั่วเมล็ดแห้ง จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes Care เมื่อ พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของการบริโภคแมกนีเซียมและความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแมกนีเซียม ปริมาณ 250-350 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 6-24 สัปดาห์ ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอาจมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น อาการความรุนแรงของโรค คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรปรึกษาคุณหมอหากกำลังรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจเพิ่มความเสี่ยงให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไป

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Brasnyo, P., Moinar, G. A., Mohas, M., Marko, L., Laczy, B., Cseh, J., … & Wittmann, I. (2011, August). Resveratrol improves insulin sensitivity, reduces oxidative stress and activates the Akt pathway in type 2 diabetic patients. The British Journal of Nutrition, 106(3), 383-9 ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21385509. Accessed April 23, 2021

Davis, P. A., & Yokoyama, W. (2011, September). Cinnamon intake lowers fasting blood glucose: Meta-analysis. Journal of Medicinal Food, 14(9), 884-9 ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/?term=Davis+Yokoyama+Cinnamon. Accessed April 23, 2021

Joseph, B., & Jini, D. (2013, April). Antidiabetic effects of Momordica charantia (bitter melon) and its medicinal potency. Asian Pacific Journal of Tropical Disease3(2), 93-102 ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4027280/. Accessed April 23, 2021

Dong, J. Y., Xun, P., He, K., & Qin, L. Q. (2011, September). Magnesium intake and risk of type 2 diabetes: meta-analysis of prospective cohort studies. Diabetes Care, 34(9),2116-22. Retrieved from ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21868780. Accessed April 23, 2021

Hafizur, R. M., Kabir, N., & Chishti, S. (2011, February). Modulation of pancreatic ß-cells in neonatally streptozotocin-induced type 2 diabetic rats by the ethanolic extract of Momordica charantia fruit pulp. Natural Product Research, 25(4),353-67 ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21328131. Accessed April 23, 2021

Diabetes and Dietary Supplements. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-dietary-supplements. Accessed April 23, 2021

Review of Ginseng Anti-Diabetic Studies. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/labs/pmc/articles/PMC6943541/. Accessed March 21, 2022

Probiotics and diabetes mellitus. https://www.researchgate.net/publication/236167320_Probiotics_and_diabetes_mellitus. Accessed March 21, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/03/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา