backup og meta

Insulin Pump คืออะไร มีประโยชน์ และวิธีใช้งานอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    Insulin Pump คืออะไร มีประโยชน์ และวิธีใช้งานอย่างไร

    Insulin Pump (อินซูลินปั๊ม) เป็นเครื่องจ่ายอินซูลินขนาดเล็ก ที่ทำงานโดยการปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยลดการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนเกินไปได้ รวมทั้งสามรถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานขึ้นตา เส้นประสาทเสื่อม โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อีกด้วย

    Insulin Pump คืออะไร

    Insulin Pump คือ เครื่องจ่ายอินซูลินที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ซึ่งภายในจะบรรจุหลอดสำหรับบรรจุอินซูลินขนาด 1.8-3 มิลลิลิตรไว้ โดยเครื่องจะปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายผ่านท่อยางที่เชื่อมติดกับปลายพอร์ทที่ติดกับผิวหนังบริเวณหน้าท้อง  โดยจะมีการจ่ายอินซูลินทั้งเเบบพื้นฐาน คือการค่อย ๆ จ่ายอินซูลินในปริมาณน้อย ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง สเหมือนการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนตามธรรมชาติ เเละ การจ่ายอินซูลินก่อนมื้ออาหารเพิ่ม ในเเต่ละมื้ออาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลที่จะสูงขึ้นได้ในเเต่ละมื้อ ทั้งนี้หากเป็นเครื่อง Insulin Pump รุ่นที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับเครื่องวัดระดับน้ำตาลต่อเนื่องที่ผิวหนัง (CGM) จะมีโปรเเกรมที่คำนวนปริมาณอินซูลินที่เครื่องจะต้องจ่ายได้เองโดยอัตโนมัติ ตามค่าระดับน้ำตาลที่เปลี่ยนเเปลงไปในเเต่ละช่วงเวลา

    ประเภทของอินซูลินที่ใช้กับ Insulin Pump

    ประเภทของอินซูลินที่ใช้กับ Insulin Pump มีดังนี้

  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วมาก (รุ่นใหม่) จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2.5-10 นาที และออกฤทธิ์นานประมาณ 5 ชั่วโมง
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วมาก จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 10-15 นาที และออกฤทธิ์นานประมาณ 3-5 ชั่วโมง
  • ประโยชน์ของ Insulin Pump

    ประโยชน์ของ Insulin Pump มีดังนี้

    • สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เนื่องจากเครื่องจะจ่ายยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมตลอดเวลา ร่วมกับสามารถปรับเพิ่มการจ่ายอินซูลินให้สอดคล้องกับมื้ออาหารที่รับประทานได้ ซึ่งบางรุ่นตัวเครื่องจะเชื่อมต่อกับเครื่องวัดระดับน้ำตาลที่ผิวหนังซึ่งจะวัดระดับน้ำตาลได้ตลอด 24 ชม ทำให้เครื่อง Insulin pump สามารุถปรับการจ่ายอินซูลินได้เองโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้นนับเป็นอุปกรณ์ที่มีรูปเเบบการจ่ายอินซูลินได้เสมือนการหลั่งจากตับอ่อนได้มากที่สุดในปัจจุบัน
    • ลดความเสี่ยงการเกิดก้อนไขมันใต้ผิวหนัง (Lipohypertrophy) ที่เกิดขึ้นจากการฉีดอินซูลินซ้ำ ๆ ในตำแหน่งเดิม
    • ช่วยลดความกังวลในชีวิตประจำวันที่อาจต้องคอยระวังเรื่องเวลาและปริมาณการฉีดยาอินซูลิน มีความแม่นยำปรับระดับอินซูลินให้เหมาะสมกับระดับน้ำตาลในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ซึ่งหากเป็นรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับเครื่องวัดระดับน้ำตาลที่ผิวหนัง ตัวเครื่องจะคำนวนและปรับการจ่ายอินซูลินตามระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละช่วงเวลา จึงเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากอินซูลินที่มากเกินไป นอกจากนี้แล้ว หากระดับน้ำตาลลดต่ำลงจนถึงเกณฑ์ไม่ปลอดภัย เครื่อง Insulin Pump จะมีระบบหยุดการจ่ายอินซูลินทันที เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
    • เจ็บเวลาต้องฉีดยาอินซูลินน้อยลงเพราะไม่จำเป็นต้องฉีดบ่อย ๆ

    ข้อจำกัดของการใช้ Insulin Pump

    ข้อจำกัดของการใช้ Insulin Pump มีดังนี้

    • อาจไม่สะดวกในการทำกิจกรรมบางประเภท เช่น ว่ายน้ำ หรือ กิจกรรมโลดโผน เนื่องจากเครื่อง Insulin Pump และสายอาจเกะกะและต้องเฝ้าระวังไม่ให้เครื่อง Insulin Pump ร่วงหล่นหรือสายหลุดเมื่อเคลื่อนไหว
    • อาจทำให้รู้สึกคันและระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ติดเครื่อง Insulin Pump โดยเฉพาะเวลาเหงื่อออก ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนตำเเหน่งที่ติดเครื่อง เมือถึงวงรอบ เเละ ไม่ควรติดในบริเวณที่เดิมซ้ำ ๆ
    • จำเป็นต้องทำการตั้งค่าตัวเครื่อง รวมถึงเปลี่ยนอุปกรณ์ ทั้งสายเเละตัวเครื่องเอง เมือครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ (ซึ่งอาจแตกต่างกันในเเต่ละรุ่นของเครื่อง) เพื่อความเเม่นยำในการจ่ายอินซูลิน เเละ ความปลอดภัยของผุ้ใช้ 
    • ผู้ที่ใช้เครื่อง Insulin pump จำเป็นต้องมีความรู้เเละศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เครื่อง Insulin Pump อย่างละเอียด รวมถึงวิธีการเเก้ปัญหาเบื้องต้น จึงอาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาช่วงเเรก 
    • ค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับการฉีดอินซูลินด้วยวิธีปกติ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา